
ลักษณะของพืชสมุนไพร
ลักษณะของพืชสมุนไพร " พืชสมุนไพร " โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ 1. ราก 2. ลำต้น 3. ใบ
” มหาหงส์ “
?ชื่อวิทยาศาสตร์ :?? Hedychium coronarium? J.K?nig
ชื่อสามัญ Butterfly lily, Garland flower, Ginger lily, White ginger
วงศ์ :?? ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้หัวล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูกาบใบพ้นดินเป็นเหมือนลำต้น เรียกว่าลำต้นเทียม สูง 1-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับตรงข้ามกันเป็นระเบียบในแนวเดียวกัน เส้นใบขนานกัน ใบมีขนาด 4-9 x 25-60 ซม. สีเขียวสด ดอก ออกที่ปลายยอด เป็นช่อๆ ละ 3-6 ดอก แต่ละดอกมี 3 กลีบ ด้านบน 1 กลีบ เป็นกลีบใหญ่ ปลายกลีบเว้าลงเป็นรูปตัววี? ด้านล่างเป็นกลีบเล็ก 2 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 10 ซม. มีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน อีก 3 อันไม่สมบูรณ์ กลีบดอกสีขาว หรือขาวแกมเหลือง ดอกจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน ผล รูปทรงกระบอก สีส้มแดง เมล็ด สีน้ำตาลแดง
ส่วนที่ใช้ หัว เหง้าสด น้ำมันหอมระเหย
สรรพคุณ
วิธีและปริมาณที่ใช้
” ตะไคร้หอม “
?ชื่อวิทยาศาสตร์ :?? Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อสามัญ :?? Citronella grass
วงศ์ :?? GRAMINEAE
ชื่ออื่น จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น? ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม? (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)? ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณ
ประโยชน์ทางยา
วิธีใช้ : นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัวไล่ยุง ฆ่าแมลง
สารเคมี : น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9% ประกอบด้วย geraniol 57.6-61.1%? Citronellal? 7.7-14.2%? eugenol, camphor, methyl eugenol.
” ยูคาลิป “
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eucalyptus globulus? Labill. (Eucalyptus citriodora Hook.)
ชื่อสามัญ :?? Eucalyptus
วงศ์ MYRTACEAE
ชื่ออื่น โกฐจุฬารส น้ำมันเขียว มันเขียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ค่อนข้างกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือก เปลือกหุ้มลำต้น มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่ายในขณะสด ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ เป็นรูปหอกยาว 3-12 นิ้ว กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัด ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว มีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปี ผล ผลมีลักษณะครึ่งวงกลมหรือรูปถ้วย ผิวนอกแข็ง เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก
ส่วนที่ใช้ : ใบสด น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด
สรรพคุณ
วิธีและปริมาณที่ใช้
ข้อควรระวัง : อย่าใช้เกินขนาด จะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร เมื่อใช้เป็นยาภายใน
ขอบคุณที่มาจาก : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขอบคุณภาพจาก : อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : สมุนไพร ไล่ยุง ฆ่าแมลง
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น