ปิดเมนู
หน้าแรก

ลักษณะของพืชสมุนไพร

เปิดอ่าน 919 views

ลักษณะของพืชสมุนไพร

พืช สมุนไพร ภาษา อังกฤษ

” พืชสมุนไพร “ โดยทั่วไปนั้น  แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน  คือ

1. ราก
2. ลำต้น
3. ใบ
4. ดอก
5. ผล

” พืชสมุนไพร “ เหล่านี้มีลักษณะลำต้น  ยอด  ใบ  ดอก  ที่แตกต่างกัน  ไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ  ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน  เช่น  รากก็ทำหน้าที่ดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้น  กิ่งก้านและใบกับส่วนต่างๆ  นั่นเอง

ใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหาร  ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา  ดอก  ผล  เมล็ด  ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป  เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ  ไม่มีที่สิ้นสุด

1. ราก

รากของพืชโดยทั่วไปคือ ส่วนที่งอกออกไปจากลำต้นยื่นลงไปในพื้นดิน  ไม่มีการแบ่งข้อและแบ่งปล้อง  ส่วนนี้จะไม่มีใบ  ตาและดอกเลย หน้าที่ของรากก็คือ  สะสมและดูดซึมอาหารมาทำการบำรุงเลี้ยงลำต้น  และส่วนอื่นๆ  รวมทั้งเป็นส่วนที่ยึดค้ำจุนลำต้นพืชนั้นๆ  อีกด้วย รากของพืชมากมายหลายชนิดเอามาใช้เป็นยาสมินไพรได้อย่างดี  เช่น  ข่า  กระชาย  ขิง  ขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย  เร่ว  เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ

1.1 รากแก้ว

พืชสมุนไพร ข่า

ต้นพืชมากมายหลายชนิด  มีรากแก้วอยู่  นับว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกมาจากลำต้นส่วนปลาย  รูปร่างยาว  ใหญ่  เป็นรูปกรวย  ด้านข้างของรากแก้วจะแตกออกเป็นรากเล็กรากน้อย และรากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงลำต้น  กิ่งก้านและใบมักจะเป็นพืชที่มีใบเลี้ยงคู่จะมีรากแก้วอยู่ด้วย

 

1.2 รากฝอย

รากฝอยก็เป็นส่วนที่งอกออกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมา เป็นรากฝอยจำนวนมากมาย  ลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกัน  ต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย  เช่น  หญ้าคา  ตะไคร้  เป็นต้น
พืชบางชนิดอาจจะมีรากไปอีกลักษณะหนึ่ง  นั่นก็เพราะบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมนั่นเอง  เช่น  รากที่สะสมอาหาร  รากอากาศ  รากเกี่ยวพัน  รากค้ำจุน  เป็นต้น  รากของต้นพืชพวกนี้บางทีก็อยู่บนพื้นดินมองเห็นได้อย่างชัดเจน

 

2. ลำต้น

นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหลายที่มีอยู่  สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลง  โดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่บนดิน  แต่มีบางส่วนอยู่ใต้ดินพอสมควร  จะมีข้อ ปล้อง ใบ หน่อและดอกอยู่ด้วย  หน้าที่ของลำต้นของพืชมากมายหลายชนิดมีสรรพคุณเป็นยา  เช่น  ต้นแคบ้าน  ต้นขี้เหล็ก  ต้นมะขาม ต้นบอระเพ็ด  ต้นตะไคร้  ต้นข่อย  เป็นต้น
รูปร่างลักษณะของลำต้นนั้น  แบ่งออกได้เป็น  3 ส่วนด้วยกัน คือ
ตา   ข้อ  ปล้อง  บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่ง  ก้าน ใบ  ดอก เกิดขึ้นด้วย

 

3. ใบ

ใบเป็นส่วนประกอบสำคัญของต้นพืชทั่วไป  มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง  ผลิตอาหาร  และเป็นส่วนแลกเปลี่ยนน้ำและอากาศให้ต้นพืช ใบเกิดจากด้านนอกของกิ่งหรือตา  ลักษณะที่พบเห็นโดยทั่วไปนั้นเป็นแผ่นที่มีสีเขียวใบไม้ (สีเขียวเกิดจากสารที่เรียกว่า  คอลโรฟิลล์  อยู่ในใบของพืช  ) ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นสมุนไพรได้ดีมาก  เช่น  ใบกระเพรา  ใบฟ้าทะลาย  ใบชุมเห็ดเทศ  ใบฝรั่ง  ใบมะขามแขก  ใบชะพลู
ชนิดของใบ  แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด  คือ

 

3.1 ใบเลี้ยงเดี่ยว

หมายถึง ก้านใบอันหนึ่ง  มีเพียงใบเดียว  เช่น  ก้านพลู  ขลู่  ขอ  กระวาน  เป็นต้น

3.2 ชนิดใบประกอบ

หมายถึงใบตั้งแต่  2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว มี มะขาม  มะขามแขก  แคบ้าน  ขี้เหล็ก  เป็นต้น

พืชสมุนไพร ดอก

4.ดอก

ส่วนของดอกเป็นส่วนสำคัญ ในการแพร่พันธุ์ของพืช  เป็นลักษณะเด่นของพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด  ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด  และลักษณะที่แตกต่างกันนี้  ใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของต้นไม้ ดอกของต้นไม้หลายชนิดเป็นยาได้  เช่น  กานพลู  ชุมเห็ดเทศ  ลำโพง  พิกุล  มะลิ  ดอกคำฝอย  เป็นต้น
รูปร่างลักษณะของดอก  ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน  คือ      ก้านดอก  กลีบรอง  กลีบดอก  เกสรตัวผู้  เกสรตัวเมีย   ดอกที่มีส่วนประกอบทั้ง  5  ส่วนเรียกว่า  ” ดอกสมบูรณ์ ” 

 

5. ผล

 

คือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเีดียวกัน  หรือคนละดอกก็ได้  มีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช  มีผลของต้นไม้บางอย่างเป็นยาได้  เช่น  ดีปลี  มะเกลือ  มะแว้งเครือ  กระวาน  เป็นต้น
รูปร่างของผลมีมากมายแบ่งตามลักษณะได้รวม  3  แบบ

1. ผลเดี่ยว  หมายถึง  ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน
2. ผลกลุ่ม  หมายถึง  ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน  เช่น น้อยหน่า  เป็นต้น
3. ผลรวม  หมายถึง  ผลที่เกิดจากดอกหลายดอก  เช่น  สับปะรด  เป็นต้น

 

มีการแบ่งผลออกเป็น  3  ลักษณะอีก  คือ

  1. ผลเนื้อ
  2. ผลแห้งชนิดแตก
  3. ผลแห้งชนิดไม่แตก
    นอกจากผลของต้นไม้เป็นยาได้ ยังมีเมล็ดภายในผลเป็นยาได้อีกด้วย  เช่น  เมล็ดสะแก เมล็ดฟักทอง  เป็นต้น

 

” พืชสมุนไพร “ นั้น มีสรรพคุณทางยาดีมาก  คนโบราณใช้ทำการรักษาโรคกันมานานแล้ว  ควรอนุรักษ์เอาไว้ให้ดี  ในวงการแพทย์ก็มองเห็นความสำัคัญของพืช  ที่มีประโยชน์ในทางยานี้มากเช่นเดียวกัน  มีการนำเอา  ” พืชสมุนไพร ” ไปสกัดเอาสารสำคัญที่มีอยู่ในส่วนต่างๆ  ของพืชสมุนไพรทำประโยชน์กันมาก
ในชนบทที่ห่างไกลก็ใช้ ” พืชสมุนไพร ” นี้เองช่วยในการบำบัดรักษา อาการเจ็บไข้ได้ป่วย  ซึ่งก็นับว่าได้ผลดีมาก  เช่น
ใช้ชุมเห็ดเทศ  เป็นยาถ่าย  ยาระบาย
ใช้ขิงเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ใช้ฟ้าทะลายเป็นยาแก้ไข้ลดความร้อน
ใช้มะแว้งเครือเป็นยาขับเสมหะ
ใช้ขลู่เป็นยาขับปัสสวะ
ใช้มะระเป็นยาขมเจริญอาหาร
ใช้บัวบกเป็นยาแ้ก้เจ็บคอ  แก้ร้อนใน
ใช้กาฝากมะม่วงเป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้เตยหอมเป็นยาบำรุงหัวใจ
ใชฝางเป็นยาขับประจำเดือน
ใช้กะเพราเป็นยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด
ใช้มะนาวเป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน  หรือโรคลักปิดลักเปิด
ใช้ไพลเป็นยารักษาโรคหืด
ใช้ตำลึงรักษาโรคเบาหวาน
ใช้เพ็ชสังฆาต เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

 

ข้อมูลจาก  : รักษาโรคด้วย สมุนไพร  ” ยุวดี  จอมพิทักษ์ “

 какие прививки

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ลักษณะของพืชสมุนไพร