ปิดเมนู
หน้าแรก

2 เรื่องที่คุณต้องรู้ เกี่ยวกับสารทำแก่

เปิดอ่าน 301 views

2 เรื่องที่คุณต้องรู้ เกี่ยวกับสารทำแก่

women-health1

2 เรื่องที่คุณต้องรู้ เกี่ยวกับสารทำแก่

นิตยสาร ชีวจิต

สนับสนุนเนื้อหา

สารทำแก่ เป็นเรื่องที่หลายคนยังสงสัยว่าคืออะไร แพทย์หญิง สาริษฐา สมทรัพย์ คุณหมอผิวหนังคนสวย มักให้ข้อมูลที่ดีต่อสุขภาพผิว และความงามเสมอ เช่นเดียวกับวันนี้ ที่คุณหมอนำเรื่องใหม่เกี่ยวกับสารทำแก่ มาเล่าค่ะ

ความชราที่แสดงออกทางผิวพรรณ หรือความเหี่ยวย่น ริ้วรอย ความหมองคล้ำ จุดด่างดำ และรอยแดงจากเส้นเลือดฝอยแตก เกิดจากปัจจัย 3 ประการ

1. ฟรีเรดิคัล หรืออนุมูลอิสระ เกิดจากการสันดาปของออกซิเจน ร่วมกับ การที่ผิวหนังสัมผัสกับแสงแดด ที่มีอุลตราไวโอเลตเอ และบี
2. เอนไซม์ทำแก่ ซึ่งได้แก่ เอนไซม์คอลลาจีเนส (collagenase) ทำให้เกิดการสลายคอลลาเจนในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น
3. สารทำแก่ หรือเอจีอี AGE (Advanced Glycation End-Products)

สองประการแรกเป็นเรื่องที่ทราบกันมานาน ประการที่สาม เป็นเรื่องที่ใหม่ และน่าสนใจ

สารทำแก่เกิดจากอะไร

สารทำแก่เกิดจากปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดจากน้ำตาลไปเกาะกับโปรตีนไกลเคชั่น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดริ้วรอย และความชรา แถมยังทำให้โรคที่เกิดจากความชรามีอาการแย่ลง

ร่างกายมนุษย์เฉลี่ยถูกสร้างขึ้นจากน้ำร้อยละ 60 ไขมันร้อยละ 17 โปรตีนร้อยละ 16 และ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 5

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย โครงสร้างเนื้อเยื่อทั้งหมด มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ทุกส่วน จึงได้รับผลกระทบโดยตรง

กลไกที่ทำให้เกิดความเสื่อมจากสารทำแก่ คือกระบวนการที่เรียกว่า cross- linked ทำให้เกิดความเสียหายในเซลล์และการตายของเซลล์ จนเกิดความชราในอวัยวะต่างๆ ดังนี้

– ทำให้โครงสร้างอีลาสตินและโครงสร้างคอลลาเจนจะเกิดภาวะแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น เกิดจุดด่างและความหมองคล้ำ
– ทำให้เส้นเลือดเปราะขาดความยืดหยุ่น เกิดรอยเขียว ฟกช้ำง่าย และเกิดภาวะหน้าแดงจาก
– ทำให้โรคเบาหวานแย่ลงและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ไขมันในโลหิตสูง เส้นเลือดแดงตีบตัน เส้นเลือดสมองตีบหัวใจขาดเลือด ไตเสื่อม
– ทำให้เกิด ภาวะไวต่อแสง ใน เลนส์สายตา ซึ่งทำให้เกิดต้อกระจกในอนาคต
– ทำให้เสียการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพลดลง เกิด การอ่อนแรง และ ตะคริว
– ทำให้เซลล์สมองในส่วนของความจำตาย ซึ่งเมื่อมีการสะสมมากขึ้นทำให้เป็นโรคความจำเสื่อม

 

credit:

ที่มา : นิตยสาร ชีวจิต

รูปจาก : istockphoto.com

 
 
 
นิตยสาร ชีวจิต

เนื้อหาโดย : นิตยสาร ชีวจิต

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : 2 เรื่องที่คุณต้องรู้ เกี่ยวกับสารทำแก่