ปิดเมนู
หน้าแรก

ออกซิโทซิน เป็น ฮอร์โมนแห่งความรัก หรืออะไรกันแน่

เปิดอ่าน 159 views

ออกซิโทซิน เป็น ฮอร์โมนแห่งความรัก หรืออะไรกันแน่

Hello Khun Mor

สนับสนุนเนื้อหา

ออกซิโทซิน บางครั้งก็มีชื่อเรียกว่า ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน” หรือ ฮอร์โมนแห่งความรัก” เนื่องจากร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนชนิดนี้ออกมา เมื่อผู้คนกอดกันหรือแสดงความรักต่อกัน แม้แต่การเล่นกับน้องหมา ก็ยังทำให้เกิดฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นมาได้ ฉะนั้น ควรจะต้องทำความรู้สึกกับฮอร์โมนชนิดนี้กันให้มากขึ้นได้แล้วล่ะ

ออกซิโทซินคืออะไรกันแน่

อ็อกซีโทนซินคือฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ที่ถูกผลิตขึ้นในสมองส่วนไฮโปธาลามัส แล้วถูกลำเลียงไปยังต่อมใต้สมอง และถูกหลั่งออกมาจากบริเวณนั้น ซึ่งโดยปกติผู้หญิงจะมีฮอร์โมนชนิดนี้มากกว่าผู้ชาย

ออกซิโทซินมีบทบาทอย่างมากกับการทำงานทางระบบสืบพันธ์ของผู้หญิง ซึ่งมีตั้งแต่กิจกรรมทางเพศ เรื่อยไปจนถึงการคลอดบุตรและการป้อนนมแม่ ซึ่งการกระตุ้นหัวนมก็ทำให้หลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาได้แล้ว

ในช่วงการคลอดลูกนั้น ออกซิโทซินจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวในมดลูก ทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว ในขณะที่คอมดลูกและช่องคลอดเริ่มขยายใหญ่เพื่อเตรียมคลอดนั้น ออกซิโทซินจะถูกหลั่งออกมา ซึ่งยิ่งมีออกซิโทซินมาก ก็ยิ่งทำให้มดลูกบีบรัดตัวมากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ออกซิโทซินก็มีบทบาททางด้านสังคมด้วย โดยจะส่งผลต่อพฤติกรรมทางด้านความผูกพัน การสร้างกลุ่มความทรงจำ การยอมรับทางสังคม และการทำงานทางด้านสังคมอื่นๆ

ความเชื่อมโยงระหว่างความรักกับ ออกซิโทซิน

ออกซิโทซินเป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ที่มีส่วนเชื่อมโยงระหว่างเด็กแรกเกิดกับการป้อนนมแม่ นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเห็นอกเห็นใจ ความไว้วางใจ กิจกรรมทางเพศ และการสานสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย

ฮอร์โมนชนิดนี้บางครั้งก็ถูกอ้างถึงในชื่อ ฮอร์โมนแห่งความรัก” เนื่องจากออกซิโทซินจะเพิ่มระดับมากขึ้น ในช่วงที่มีการกอด หรือถึงจุดสุดยอด นอกจากยังมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคซึมเศร้า หวาดวิตก หรือปัญหาเกี่ยวกับลำไส้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับออกซิโทซิน

  • ออกซิโทซินถูกผลิตขึ้นในสมองส่วนไฮโปธาลามัส และถูกปลดปล่อยออกมาในช่วงที่มีเพศสัมพันธ์ คลอดบุตร และในช่วงการป้อนนมแม่ เพื่อช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ส่งกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งรวมทั้งการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ทางด้านสังคม
  • ออกซิโทซินจัดเป็นยาชนิดหนึ่ง ที่ใช้ทางด้านรีเวชศาสตร์และการคลอดบุตร และมีประโยชน์ต่อเด็กแรกเกิดด้วย
  • การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า ออกซิโทซินอาจมีประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคออทิสติก โรคหวาดวิตก และโรคลำไส้แปรปรวน

การใช้ออกซิโทซินเป็นยา

มีการใช้ออกซิโทซินเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งจากแพทย์ภายใต้ยี่ห้อ Pitocin ซึ่งบางครั้งก็มีการฉีดออกซิโทซิน เพื่อช่วยเร่งให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว หรือช่วยสร้างความแข็งแรงในขณะเบ่งคลอด แถมยังช่วยทำให้มีเลือดออกน้อยลงหลังคลอดด้วย อาการข้างเคียงของการใช้ออกซิโทซินก็คือ หัวใจเต้นเร็ว และเลือดออกผิดปกติ

ถ้าใช้ออกซิโทซินในปริมาณที่มากเกินอย่างเร็วเกินไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะมดลูกแตก ยังมีการใช้ออกซิโทซินช่วยทำให้มดลูกเกิดการหดตัว และช่วยควบคุมเลือดหลังคลอดด้วย นอกจากนี้ก็มีการใช้ออกซิโทซินในการทำแท้งด้วย

ฮอร์โมนแห่งความรัก

ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2012 นักวิจัยได้รายงานว่า คนที่มีความรักในระยะแรก จะมีระดับออกซิโทซินเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนโสด  ซึ่งระดับออกซิโทซินจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปได้อย่างน้อย เดือน

มีการพบว่ากิจกรรมทางเพศ ก็ช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินด้วยเช่นกัน และยังมีบทบาทสำคัญในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และการถึงจุดสุดยอดด้วย ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ยังไม่แน่ชัด แต่ในกรณีของผู้หญิงก็อาจเป็นเพราะ การเคลื่อนตัวของมดลูกที่เพิ่มขึ้น อาจช่วยให้เชื้ออสุจิสามารถไปถึงที่หมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งบางคนก็ระบุถึงความเชื่อมโยงของออกซิโทซินกับการถึงจุดสุดยอดแบบรุนแรงด้วยว่า ยิ่งมีความเข้มข้นของออกซิโทซินมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้การถึงจุดสุดยอดมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

ออกซิโทซินกับอารมณ์

เวลาที่ออกซิโทซินเข้าสู่กระแสเลือด ก็จะส่งผลกระทบต่อมดลูกและการให้นมลูก แต่เวลาที่เวลาที่ถูกหลังเข้าไปในบางส่วนของสมอง ก็จะส่งผลกระทบทางด้านอารมณ์ สติปัญญา และพฤติกรรมทางสังคม ออกซิโทซินในสมองยังมีส่วนช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ออกซิโทซิน เป็น ฮอร์โมนแห่งความรัก หรืออะไรกันแน่