ปิดเมนู
หน้าแรก

กิน อย่างไรไม่ทำร้าย ตับ

เปิดอ่าน 857 views
Male liver anatomy with digestive organs

Male liver anatomy with digestive organs

กิน อย่างไรไม่ทำร้าย ตับ

ตับ เป็นอวัยวะสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสารอาหาร สารเคมี ยาและสารต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย และยังมีหน้าที่สำคัญ ในการผลิตน้ำดีเพื่อใช้ในการย่อยไขมัน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็น มะเร็งตับ จึงต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องอาหาร

Butter and Oil

สารอาหารชนิดที่ 1 คือ ไขมัน

ผู้ป่วยควรระวังการบริโภคไขมันเป็นพิเศษ เพราะเมื่อมะเร็งเกิดขึ้นที่ตับทำให้การสร้างน้ำดีอาจจะมีน้อยลงหากรับประทานไขมันในปริมาณสูงเข้าไป ไขมันจะย่อยยากหรือไม่สามารถย่อยได้ ทำให้เกิดภาวะถ่ายเป็นหยดไขมัน (steatorrhea) แน่นท้อง ท้องอืด จากการที่มีไขมันคั่งค้าง จุลินทรีย์ในลำไส้จะเปลี่ยนไขมันเป็นแก๊ส ทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร จึงเป็นสาเหตุของอาการท้องอืด แน่นท้อง ในบางกรณีแพทย์และนักกำหนดอาหารมักจะกำหนดไขมันสายปานกลาง หรือ MCT (medium chain triglyceride) ให้ผู้ป่วยทดแทนไขมันปกติ เพราะ ไขมันชนิดนี้ ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ตับก่อน โดยแพทย์หรือนักกำหนดอาหารจะเป็นผู้สั่งให้รับประทานในรูปแบบอาหารทางการแพทย์

Protein

สารอาหารชนิดที่ 2 คือ โปรตีน

ในผู้ป่วย มะเร็งตับ หากมีอาการบวมน้ำที่มีสาเหตุมาจากการมีโปรตีน อัลบูมิน (albumin) ต่ำ ควรได้รับการเสริมอาหารประเภทโปรตีนโดยเฉพาะ ไข่ลวก ที่เอาเฉพาะส่วนไข่ขาวมาใช้  เพราะในไข่ขาวจะมีโปรตีน อัลบูมิน อยู่สูง คุณสมบัติของโปรตีนนี้คือ ช่วยอุ้มน้ำดังนั้นจึงสามารถทำให้ อาการบวมน้ำที่เกิดขึ้นมีอาการดีขึ้นได้ จึงอาจรับประทานไข่ขาวลวกวันละ 2 ฟอง เพื่อเพิ่มอัลบูมินแก่ร่างกาย หากในบางกรณีผู้ป่วยมีภาวะ Hepatic encephalopathy ร่วมด้วย คือมีอาการทางระบบประสาทที่เป็นสาเหตุมาจากตับ ได้แก่ มึนงง เบลอ การควบคุมตนเองผิดปกติอาจถึงขั้นชักได้ การรับประทานโปรตีนจะได้รับในปริมาณมากไม่ได้ ควรต้องได้รับการดูแลและควบคุมเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโปรตีนที่ประกอบไปด้วย กรดอะมิโน ชนิดวงแหวน ได้แก่ phenylalanine ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นเนื้อสัตว์หรืออาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนอื่นที่ได้รับ ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของนักกำหนดอาหารอย่างใกล้ชิด  เพราะหากได้รับสารอาหารโปรตีนไม่ถูกต้องอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าผู้เป็นมะเร็งตับจะมีอาการดังกล่าวทุกราย ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับคำวินิฉัยที่ถูกต้องเพื่อการดูแลตนเองที่ถูกต้อง

foodhealth2

สารอาหารชนิดที่ 3 คือ คาร์โบไฮเดรต

สารอาหารชนิดนี้สามารถทานได้ตามปกติหรืออาจจะเพิ่มได้บ้างในผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวานหรือ มีภาวะดื้อต่ออินสุลินแทรกซ้อน แต่ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย ไม่ควรบริโภคธัญพืชในปริมาณที่มากเกินไปเพราะอาจส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานมากขึ้นและเกิดอาการแน่นท้อง มากขึ้นได้

กิน อย่างไรไม่ทำร้าย ตับ1

การรับประทานอาหารโดยทั่วไปของผู้ป่วย มะเร็งตับ พบว่าบางครั้งอาจมีการย่อยอาหารยากทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารในปริมาณเท่ากับคนปกติทั่วไปได้ เนื่องจากอาจเกิดภาวะแน่ท้อง ท้องอืด ได้ง่ายดังนั้นในการกำหนดอาหารให้ผู้ป่วยหากพบอาการดังกล่าวควรกระจายอาหารจากปกติ 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เช่นจากเดิมทานอาหาร 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น ก็เพิ่มเป็น เช้า ว่างเช้า กลางวัน ว่างบ่าย เย็น ก่อนนอน โดยในส่วนของคาร์โบไฮเดรตประเภทข้าวหากได้รับในปริมาณที่มากไม่ได้ อาจจะให้ผู้ป่วยได้รับในรูปแบบของน้ำหวานเพิ่มเพื่อที่จะป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ร่างกายดึงโปรตีนมาใช้ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งหากเกิดภาวะดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้สูง

กิน อย่างไรไม่ทำร้าย ตับ2

ผู้ป่วยมะเร็งตับควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย ปราศจากสิ่งปนเปื้อนเพราะหากได้รับสิ่งปนเปื้อนจะทำให้ตับต้องทำงานในการกำจัดสารพิษมากขึ้น ที่สำคัญผู้ป่วยมะเร็งตับจะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะร่างกายเกิดขึ้นได้บ่อย ดังนั้นควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด และได้รับคำแนะนำทางด้านโภชนาการจากนักกำหนดอาหารเพื่อการดูแลตนเองที่ถูกต้อง

กิน อย่างไรไม่ทำร้าย ตับ3

ที่มาเนื้อหาจาก http://www.emaginfo.com

купить женскую одежду в украине

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : กิน อย่างไรไม่ทำร้าย ตับ