ปิดเมนู
หน้าแรก

สมุนไพร แก้ปวดไมเกรน

เปิดอ่าน 941 views

สมุนไพร แก้ปวดไมเกรน

แค

แค เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: แคบ้าน(กลาง) แคขาว แคแดง(กทม. เชียงใหม่) แค(กลาง) แคดอกแดง แคดอกขาวและเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีรอยขรุขระหนา ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมีขนาดเล็กรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ปลายใบมนกว้าง ดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกแบบช่อตรงซอกใบ มีสีขาว ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว 30-50 เซนตริเมตร สีเขียวอ่อน ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เมล็ดมีลักษณะเหมือนลิ่ม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น เปลือกแคนำมาต้ม คั้นน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือดดอกแคช่วยแก้ไข้ลดไข้ถอนพิษไข้ ฯลฯ

ส่วนสรรพคุณแก้ปวดไมเกรน

ท่านให้เอาดอกแคสดทั้งดอก จำนวน 10 ดอก ไม่ต้องแก้ไส้ออก ล้างน้ำให้สะอาด นำมาลวกน้ำร้อนกินสด ๆ จิ้มกับน้ำพริกต่าง ๆ หรือนำมาต้มกับน้ำแกงจืดกินร้อน ๆ วันละ 1 ครั้ง กินต่อเนื่องเป็นเวลา 1 สัปดาห์จะเห็นผล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora Linn.
วงศ์ : Papilionaceae
ชื่อพื้นเมือง : กลาง แคบ้าน, เชียงใหม่ แคแดง
ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน และมีใบโปร่ง
ใบ เป็นใบประกอบ
ดอก เป็นกระจุก หรือช่อสั้น ๆ 2 – 3ดอก ดอกมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกสีขาว และพันธุ์ดอกสีแดง ดอกมีขนาดใหญ่มาก ลักษณะเหมือนดอกถั่ว ผลเป็นฝักยาว ค่อนข้างกลม
ส่วนที่ใช้ : ใช้ยอดอ่อน, เปลือก

สรรพคุณ

: เปลือก – ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล ดอก,ใบ – รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม) ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้ ใบสด – รับประทานใบแคทำให้ระบาย- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

ใบบัวบก

บัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน และยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีกมาก เช่น ใบบัวบกมีสรรพคุณทางยา ในการแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) บำรุงสมอง แก้ความดันโลหิตสูง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ และขับปัสสาวะ

ส่วนสรรพคุณแก้ปวดไมเกรน

ท่านให้เอาต้นสดของบัวบก จำนวน 2 กำมือ มาคั้นกับน้ำสะอาดกินวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หรือกินต้นสด ๆ เลยก็ได้ และสามารถผสมกับน้ำต้มสุกเจือน้ำตาลกรวดเล็กน้อย ใช้ดื่มวัน ½ แก้ว 2 เวลา เช้า – เย็น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica (L.) Urban.
ชื่อสามัญ : Asiatic pennywort, Indian pennywort
วงศ์ : Apiaceae (Umbelliferae)
ชื่ออื่น : ผักหนอก (ภาคเหนือ) ผักแว่น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นไหลทอดเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ ขึ้นง่าย มีรากฝอยออกตามข้อ ใบชูตั้งขึ้น มีไหลงอกออกจากต้นเดิม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไต ขนาดกว้างและยาว 2-5 ซม. ปลายใบกลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ มีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมแดงกลับกัน ผล เป็นผลแห้งแตกแบน เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด

สรรพคุณ :

ใบ – มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
ทั้งต้นสด เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด ปวดศีรษะข้างเดียว ขับปัสสาวะ แก้เจ็บคอ เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด – แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

กระเทียม

เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้) มีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น รักษาโรคบิดป้องกันมะเร็งระงับกลิ่นปากลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด ฯลฯ

ส่วนสรรพคุณแก้ปวดไมเกรน ท่านให้เอาหัวกระเทียมสด จำนวน 20 กลีบ มาแกะเปลือกออก กินกระเทียมสด ๆ วันละ 10 – 20 กลีบ ต่อเนื่องกันทุกวัน หรือกินวันเว้นวันก็ได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์ : Alliaceae
ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)

ลักษณะ :

เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า “กระเทียมโทน” แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กระเทียมมีรากไม่ยาวนัก ใบมีลักษณะยาวแบน ปลายใบแหลมแคบ โคนมีใบหุ้มซ้อนกัน ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาวติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน
ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณ

ใช้เป็นอาหาร คือเป็นส่วนผสมเพื่อแต่งกลิ่นหายาใช้ผสมกับขิงอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วนำมาบดละลายกับน้ำอ้อยกิน จะแก้รัตตะปิตตะเสมหะ แก้เสมหะและลม แก้ฟกช้ำ แก้อืด กระจายโลหิต ผสมยารักษาโรคมะเร็งเพลิง มะเร็งคุด มะเร็งเปื่อยทั้งตัว ผสมกับยาแก้ไอ แก้จุกเสียด แก้ลมบ้าหมู แก้ลิ้นแข็ง ช่วยบำรุงอาหาร ผสมในยาแก้ท้องอืด แก้เจ็บท้อง ริดสีดวงทวาร ผสมยาทาแก้คลายเส้น แก้เมื่อย แก้กลาก แก้โรคผิวหนัง ผสมกับน้ำมันองคสูตรแก้ริดสีดวงทวาร คัน ฟกช้ำ บวม เมื่อใช้ผสมน้ำนมหรือน้ำกะทิสดคั้นใช้ขับพยาธิเส้นด้าย กินอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ก็จะขับออก นอกจากนี้ เนื่องจากกระเทียมมีรสร้อน สามารถปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดได้ ทำให้ลดการอุคตันของเส้นเลือดเป็นต้น

credited by: http://health.mthai.com

совместная аренда жилья в москве

TAGS ที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : สมุนไพร แก้ปวดไมเกรน