ปิดเมนู
หน้าแรก

8 ช่วงเวลาที่คุณไม่ควรออกกำลังกายหนักโดยเด็ดขาด

เปิดอ่าน 190 views

8 ช่วงเวลาที่คุณไม่ควรออกกำลังกายหนักโดยเด็ดขาด

Pepperrr

สนับสนุนเนื้อหา

หนุ่มๆ ทั้งหลาย มาฟังทางนี้กันก่อน สำหรับใครที่บ้าคลั่งการออกกำลังอย่างหนัก การออกกำลังกายที่นี้ ควรทำแต่พอดี มีช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป เพราะถ้าน้อยก็จะไม่เห็นผลอะไรกับร่างกาย แต่ถ้ามากไปก็อาจจะทำให้ร่างกายของคุณบาดเจ็บได้

8 ช่วงเวลาที่คุณไม่ควรออกกำลังกาย ถ้าไม่อยากไปพบแพทย์ในเร็ววันนี้ คุณควรหยุดพฤติกรรมความเสี่ยงจำพวกนี้ไปก่อน

 

1. สภาวะอดนอน และหอบหืด

 

ในขณะที่การพักผ่อนไม่เพียงพอ คุณควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือเว้นการออกกำลังกายอย่างหนักออกไปก่อน เพราะในสภาวะที่พักผ่อนไม่เพียงพอ จะมีระบบการทำงานของร่ายกายบางส่วนที่ไม่สมดุล เช่น กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเครียด “คอร์ติซอล” ให้ออกมาเก็บไขมันและเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ และมีภูมิต้านทานที่ลดต่ำลง สำหรับคนที่เป็นหอบหืดต้องพึงระวัง เพราะการออกกำลังกายจะไปกระตุ้นสารบางอย่างในร่างกาย ทำให้อาการของโรคกำเริบได้

 

2. อาการท้องเสีย

อาการท้องเสีย เป็นส่วนหนึ่งของการสูญเสียน้ำในร่างกายเป็นจำนวนมาก จะต้องหยุดการออกกำลังกาย “งดกิจกรรม ที่ทำให้เหงื่อออก ทุกประเภท” เพราะขณะที่เราออกกำลังกายจะทำให้มีการเสียน้ำเพิ่มขึ้นอีก ไม่ใช่แค่น้ำอย่างเดียว มันจะเป็นผลพวงไปถึง แร่ธาตุ ต่างๆในร่างกายอีกด้วย ซึ่งถ้าเราขาดแร่ธาตุที่จำเป็นเหล่านั้นแล้ว จะทำให้ร่างกายเราขาดสมดุล และเพลียหนักถึงขั้นไม่สบาย นอกจากนี้แล้วหากบางรายเป็นถึงขึ้นหนักมากอาจจะมีอาการไปถึงหัวใจ เช่นหัวใจเต้นผิดจังหวะ จากสภาวะขาดโซเดียม และโพแทสเซียม เป็นต้น หากมีอาการท้องเสีย ควรหยุดการออกกำลังกายเพื่อพักฟื้นร่างกายให้แข็งแรง และจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

3. ปวดไมเกรนรุนแรง

อาการปวดศีรษะ อย่างรุนแรง คืออาการไมเกรนนั้น จะมีอาการปวดร้าว ตาพร่ามัว ควรหยุดการออกกำลังก่อนชั่วคราว ถ้าหากมีอาการปวดมากๆ อย่าออกกำลังกายเด็ดขาด เพราะอาการปวดศีรษะ เกิดจากสภาวะความดันสูง ผลจากการออกกำลังกายในช่วงไมเกรน อาจเกิดผลที่ไม่คาดคิดกับตัวคุณเองได้ เช่น เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่ายขึ้น

4. มีไข้ หรือติดเชื้อหนัก

สำหรับหนุ่มๆ ที่มีอาการไม่สบายเนื้อตัว หรือสงสัยว่าติดเชื้อ อะไรสักอย่าง ที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายไปก่อน จนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือไปปรึกษาคุณหมอว่า อาการที่ตนเองเป็นอยู่นั้น สามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเพียงใด เพราะอาการเป็นไข้ตัวร้อน จะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่าถ้าคุณไปออกกำลังกาย อาจจะมีผลเรื่องของการอักเสบต่างๆ นานา ตามมาอีกด้วย

5. หลังการผ่าตัด

อาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัด แน่นอนอยู่แล้วว่าคุณหมอต้องห้ามออกกำลังกายอย่างแน่นอน หลังจากการผ่าตัดแล้วควรรับคำแนะนำจากคุณหมอเรื่องของการออกกำลังกาย เพราะการผ่าตัดทุกประเภท จะออกกำลังกาย ตามความหนัก – เบา แตกต่างกันออกไป ผลเสียของการออกกำลังกายอย่างหนัก ขณะที่มีแผลผ่าตัด คืออาจจะทำให้แผลฉีกขาดหรืออักเสบได้ ขอให้เว้นการออกกำลังกายที่เสี่ยง ไว้ก่อนจนกว่าแผลจะหายน่าจะดีกว่า

6. อาการริดสีดวงอักเสบ

อาการนี้ คุณผู้ชายคงไม่อยากให้เกิดกับตัวเองอย่างแน่นอน ในกรณีนี้การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง (การออกกำลังกายแบบยกของหนัก) ที่จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนหน้าท้องมีความเกร็ง อาจส่งผลให้ริดสีดวงกำเริบ และมีอาการโปร่งออกมาได้ ข้อแนะนำเบื้องต้นเราขอแนะนำหนุ่มๆว่า ควรหลีกเลี่ยงการนั่งส้วมนานๆ ในขณะที่มีอาการริดสีดวง สำหรับผู้ที่เคยมีอาการมาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายช่วงหน้าท้อง และบั้นท้าย ควรออกแต่พอดี

7. ความดันสูง

สภาวะความดันสูง มีผลต่อหัวใจ และหลอดเลือดต่างๆ สำหรับหนุ่มๆ ชอบออกกำลังกายหนักๆ ต้องพึงระวังตัวไว้นะคะ เพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักกว่าเดิม (พูดง่ายๆ คือ หัวใจเต้นเร็วจนเกินไป) และอาจจะทำให้เกิดอาการวูบ เพราะหลอดเลือดแตก หรือเส้นเลือดในสมองตีบแบบเฉียบพลันได้

8. เพิ่งมีอาการหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเวลาออกแรงหนักๆ เพราะสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอาจขาดเลือดได้ คือการไหลเวียนของระบบเลือดในร่างกายไม่สมดุล หนุ่มๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่า หากเกิดขึ้นแบบฉุกเฉิน เช่น อาการวูบจากการออกกำลังกาย จะทางแก้ไขได้อยาก

อยากไรก็ตาม การออกกำลังกายที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง และสมดุลได้ในทุกส่วนเช่นกัน อย่าหักโหมกับการออกกำลังกาย ในขณะที่มีความเสี่ยง ตาม 8 สถานการณ์ข้างต้น

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : 8 ช่วงเวลาที่คุณไม่ควรออกกำลังกายหนักโดยเด็ดขาด