ปิดเมนู
หน้าแรก

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ “ถุงยางอนามัย” ไม่ช่วย

เปิดอ่าน 29 views

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ “ถุงยางอนามัย” ไม่ช่วย

หากคุณเป็นคนฉลาด รับรองว่า “ถุงยางอนามัย” เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณจะไม่ยอมให้ขาดเมื่อต้องทำกิจกรรมเข้าจังหวะ เพราะนอกจากจะป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีการวางแผนครอบครัวมาก่อน (หรือเรียกง่ายๆ ว่า ท้องในตอนที่ยังไม่พร้อม) ได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้มากมาย โดยถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ HIV ได้มากถึง 98% เลยทีเดียว

แต่ยังมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคที่ถุงยางอนามัยก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากเท่าไร นั่นก็คือ หูดหงอนไก่ และเริมที่อวัยวะเพศ เพราะผู้ป่วยทั้ง 2 โรคนี้ สามารถแพร่เชื้อผ่านไปสู่อีกคนหนึ่งการสัมผัสทางผิวหนังได้ แม้เวลาที่ใช้ถุงยางอนามัย เชื่ออาจติดตรงผิวหนังส่วนที่อยู่นอกถุงยางได้

เพศสัมพันธ์แบบไหน ติดเชื้อ/ติดโรคได้มากที่สุด

การเล้าโลม หรือสำเร็จความใคร่ด้วยมือ มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคจากคู่นอนน้อยที่สุด ต่อด้วยเพศสัมพันธ์ด้วยปาก และผ่านช่องคลอด มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น และจะมีความเสี่ยงในการติดโรคมากที่สุด คือการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทวารหนัก เพราะอวัยวะเพศชาย และรูทวารหนักทำให้เกิดรอยถลอกได้ง่าย ทำให้เชื้อโรคผ่านเข้าสู่แผลนั้นได้ง่ายขึ้น

 

ถุงยางอนามัย ช่วยได้แน่ ถ้าใช้ถูกวิธี

อย่างไรก็ตาม ถุงยางอนามัยยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี เพียงแค่ต้องใช้ให้ถูกวิธี

  1. ควรเลือกขนาดของถุงยางอนามัยให้เหมาะกับขนาดของอวัยวะเพศของคุณผู้ชาย หากไม่แน่ใจว่าต้องใช้ขนาดไหน ให้ลองซื้อมาให้หลายๆ ขนาด แล้วสังเกตความแน่นในการสวมใส่
  2. ไม่ควรสวมถุงยางอนามัยเกิน 2 ชิ้นต่อการใช้ 1 ครั้ง เพราะอาจทำให้ถุงยางอนามัยเสียดสีกันจนขาดได้ง่าย
  3. ควรใช้ถุงยางอนามัย 1 ครั้งต่อ 1 ชิ้น ให้เสร็จให้ทิ้งเลย ห้ามเก็บมาใช้ต่อ
  4. สามารถใช้สารหล่อลื่นทาเคลือบภายนอกถุงยางอนามัย เพื่อให้การสอดใส่เป็นไปได้โดยง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ควรเลือกใช้ชนิดเจล ไม่ควรเลือกใช้ชนิดน้ำมัน เพราะอาจทำให้ถุงยางชำรุด หรือฉีกขาดได้
  5. ควรรูดอากาศออกจากกระเปาะของถุงยางให้หมดก่อนสวม เพราะอากาศภายในถุงยางอาจทำให้ถุงยางแตก หรือขาดได้ง่ายยิ่งขึ้น
  6. หลังทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย ฝ่ายชายควรถอนอวัยวะเพศออกมาก่อนที่อวัยวะเพศจะอ่อนตัว ป้องกันถุงยางอนามัยหลุดเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิง

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่สุด หรือไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หากคุณรักเดียวใจเดียว โอกาสในการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ก็น้อยลงไปด้วยค่ะ

 

Credit: Health Sanook!

istockphoto

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ “ถุงยางอนามัย” ไม่ช่วย