ปิดเมนู
หน้าแรก

เช็กความเสี่ยง “กระดูกพรุน” ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

เปิดอ่าน 182 views

เช็กความเสี่ยง “กระดูกพรุน” ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

หากพูดถึง กระดูกพรุน” อาจจะนึกถึงวัยชราผมขาวที่เดินก้มๆ เงยๆ หลังงุ้มงอ และต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน แต่จริงๆ แล้วโรคกระดูกพรุนใกล้ตัวเรามากกว่านั้น เพราะจริงๆ แล้วไม่ได้แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสี่ยงต่อโรคนี้ แล้วเราก็คงยังไม่อยากจะใช้ไม้เท้าช่วยเดิรกันตั้งแต่อายุยังน้อยจริงไหม? มาเช็กกันดีกว่าว่าคุณอยู่ใน “กลุ่มเสี่ยงฎ โรคกระดูกพรุนหรือเปล่า

 

กลุ่มเสี่ยงที่ควรรับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก เพื่อเช็กภาวะกระดูกพรุน

  1. ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
  2. ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี ซึ่งหมายถึงรวมผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง
  3. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีน้ำหนักตัวน้อย (มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
  4. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีส่วนสูงลดลงตั้งแต่ 4 เซนติเมตรขึ้นไป
  5. ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักจากภยันตรายแบบไม่รุนแรง
  6. ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด ที่ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง
  7. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วย aromatase inhibitors หรือผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการรักษาด้วย androgen deprivation therapy
  8. ตรวจพบภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกสันหลังยุบจากภาพถ่ายรังสี

 

สาเหตุของกระดูกพรุน

จากกลุ่มเสี่ยงจะเห็นได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน คือ การสูญเสียฮอร์โมนเพศหญิง เนื่องจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุครบ 45 ปี นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งคือ อายุที่มากขึ้น เพราะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี กระดูกจะบางลง 1-3% ทุกปี

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  • เป็นชาวผิวขาว หรือเอเชีย
  • ขาดวิตามินดี หรือแคลเซียม
  • น้ำหนักน้อย
  • ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น โรคต่อมไทรอยด์
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
  • เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคทางเดินอาหารผิดปกติ
  • สูบบุหรี่
  • ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด
  • สูบบุหรี่

 

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียม และวิตามินดี
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำลายกระดูก
  4. งดสูบบุหรี่
  5. ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดมวลกระดูก

 

การรักษาโรคกระดูกพรุน

แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีรับประทานยา และฉีดยา โดยจะพิจารณาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : เช็กความเสี่ยง “กระดูกพรุน” ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่ต้องระวัง