ปิดเมนู
หน้าแรก

“หัวใจและหลอดเลือด” กับการรักษาด้วยวิธี “ฉีดสีสวนหัวใจ”

เปิดอ่าน 33 views

“หัวใจและหลอดเลือด” กับการรักษาด้วยวิธี “ฉีดสีสวนหัวใจ”

PR News

สนับสนุนเนื้อหา

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่ไม่แสดงอาการชัดเจน เกิดได้จากการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจน ต้นเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วย “การสวนหัวใจ” เพื่อตรวจสอบและขยายหลอดเลือด

การสวนหัวใจคืออะไร

นายแพทย์ ทัศนัย จันโหนง แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ระบุว่า การสวนหัวใจคือการทำหัตถการ ตรวจและรักษาโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวนขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เข้าทางหลอดเลือดแดงและฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจสอบการทำงานของหัวใจ ว่าเกิดการอุดตันหรือตีบตันหรือไม่ จากนั้นจะทำการรักษาด้วย วิธี “ฉีดสีสวนหัวใจ” ซึ่งสามารถทำได้ทำทั้งข้อมือ ข้อพับแขน และขาหนีบ

การสวนหัวใจบริเวณขาหนีบ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ และไม่ต้องเย็บแผลหลังทำหัตถการ โดยผู้ที่เข้ารับการรักษาจะใช้เวลาพักด้วยการนอนราบประมาณ 6-10 ชั่วโมง

การสวนหัวใจบริเวณบริเวณข้อมือหรือข้อพับ สามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีหลังทำหัตถการเสร็จแล้ว โดยจะใช้เวลาพักฟื้นเพียง 4-8 ชั่วโมงเท่านั้น

ใครบ้างที่ควรทำการสวนหัวใจ

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ เช่น เป็นความดันหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก ปวดร้าวบริเวณหัวไหล่และแขน
  • เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ผู้ที่กำลังจะได้รับการผ่าตัดหัวใจ

การเตรียมตัวก่อนเข้าสวนหัวใจ

  • แจ้งโรคประจำตัว รวมถึงประวัติการแพ้ยาและแพ้อาหาร
  • กรณีมีประจำเดือน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • งดน้ำงดอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนเข้าทำหัตถการ
  • รับประทานยาประจำตัวได้ปกติ ยกเว้น ยาเบาหวาน และยาขับปัสสาวะ

การพักฟื้นหลังทำการสวนหัวใจ

  • นอนราบประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง หลังทำการตรวจสวนหัวใจ
  • ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อขับสารทึบรังสี
  • หากแผลที่ทำหัตถการมีเลือดไหล ปวด บวม แดง ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • งดออกกำลังกายหรือใช้แรงประมาณ 2 สัปดาห์แรก

การสวนหัวใจจะดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือด ช่วยให้เลือดสามารถไหลผ่านในจุดที่เคยตีบตันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยจะหายใจได้เต็มที่ ไม่เจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ แต่โรคหลอดเลือดตีบเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนนัก ดังนั้น หากมีอาการเจ็บหน้าอก หรือปวดร้าวลงไปช่วงแขน แนะนำเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาอาการที่เกิดขึ้นทันที

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : “หัวใจและหลอดเลือด” กับการรักษาด้วยวิธี “ฉีดสีสวนหัวใจ”