ปิดเมนู
หน้าแรก

รู้จัก ‘ทักษะด้านอารมณ์’ ในที่ทำงาน เพื่อการทำงานที่ก้าวหน้า

เปิดอ่าน 330 views

รู้จัก ‘ทักษะด้านอารมณ์’ ในที่ทำงาน เพื่อการทำงานที่ก้าวหน้า

รู้จัก ‘ทักษะด้านอารมณ์’ ในที่ทำงาน เพื่อการทำงานที่ก้าวหน้า เกี่ยวกับ work

Voathai

สนับสนุนเนื้อหา

เมื่อ Hard Skills คือ แก่นแท้ที่ทำให้คุณได้งาน เช่น เมื่อคุณเป็นทนาย ต้องร่างสำนวนได้ ว่าความได้ เมื่อคุณเป็นสถาปนิก คุณออกแบบอาคารได้ เมื่อคุณเป็นพ่อครัว คุณปรุงอาหารได้อร่อยและถูกปากผู้คนได้ แต่ในสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ Soft Skills หรือทักษะด้านอารมณ์ จะเป็นลำต้นที่ลำเลียงน้ำและอาหารที่ทำให้หน้าที่การงานเจริญเติบโตไปได้

บทความของ Nelson Repenning, Don Kieffer และ Todd Astor อาจารย์และศิษย์เก่าจากคณะวิทยาการจัดการ Sloan ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT Sloan 1 ใน 10 สถาบัน MBA ที่ดีที่สุดในสหรัฐฯ ตอกย้ำความสำคัญของ Soft Skill หรือ ทักษะด้านอารมณ์ในการทำงาน ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กับ Hard Skill หรือทักษะด้านอาชีพ ที่ทุกคนต้องมีควบคู่กันไป

หลักการของ Soft Skills ในมุมมองของ MIT ได้แก่ การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่น่าแปลกที่ทักษะสุดท้าย อย่างการระบุปัญหาได้อย่างถูกต้องและชัดเจน กลับเป็นทักษะที่ถูกมองข้ามไปในการบริหาร

ในบทความของ MIT Sloan นี้ชี้ว่า ผู้นำหรือผู้บริหารที่เข้าใจปัญหาที่แท้จริงขององค์กรได้ มักจะก้าวนำผู้อื่นไปก่อน 1 ก้าวเสมอ เพราะพวกเขาจะเสียเวลาและพลังงานไปกับการแก้ปัญหาตรงจุดและเร็วกว่าผู้บริหารที่คลำทางไม่เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงขององค์กร

การเข้าใจปัญหาที่ถูกต้อง มีหลักการง่ายๆ 5 อย่าง

  1. ปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งที่องค์กรตั้งเป้าหมาย หรือ ให้คุณค่าหรือไม่?
  2. สามารถระบุถึงช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างสถานการณ์ปัจจุบันกับเป้าหมายขององค์กรได้ชัดเจนหรือไม่?
  3. ตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดค่าประเมินผลได้
  4. มีความเป็นกลางในการค้นหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
  5. สามารถตั้งขอบข่ายของการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้และเหมาะส

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อถกเถียงถึงความสำคัญของ Soft Skills ต่อการทำงานในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะการก้าวเข้ามาของกำลังแรงงานจากรุ่นมิลเลนเนียล ที่ถือว่ามีทักษะด้าน Hard Skill ที่เหนือกว่าคนรุ่นเก่า

แต่อาจารย์ John Van Maanen จาก MIT มองว่า คนยุคมิลเลนเนียล ขาดทักษะการแก้ปัญหาและมนุษยสัมพันธ์ โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม และรู้จักสื่อสารภายในองค์กร

ทั้งนี้ บทความของ Namrata Kala จากคณะเศรษฐศาสตร์ของ MIT Sloan เปิดเผยตัวเลขที่น่าสนใจว่า เมื่อองค์กรลงทุนฝึกอบรมพนักงานในการพัฒนา Soft Skills จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการอบรมมากกว่า 2 เท่าตัวภายในเวลาไม่ถึง 1 ปีที่การอบรมสิ้นสุดลง

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการอบรมทักษะ Soft Skill ยังส่งผลดีไปถึงเพื่อนร่วมงานที่ไม่เคยได้รับการอบรม ให้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันได้มากขึ้นด้วย

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : รู้จัก ‘ทักษะด้านอารมณ์’ ในที่ทำงาน เพื่อการทำงานที่ก้าวหน้า