ปิดเมนู
หน้าแรก

ทำงานประจำ หรือไม่ ฟรีแลนซ์…ก็ เครียด ได้ เหมือนกัน!

เปิดอ่าน 467 views

ทำงานประจำ หรือไม่ ฟรีแลนซ์…ก็ เครียด ได้ เหมือนกัน!

“ความเครียดของคนทำงานเกิดจากความกดดันตนเอง ความคาดหวังขององค์กร รวมถึงการรับรู้ข้อมูลเปรียบเทียบความสำเร็จของคนอื่นจากสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ อาจส่งผลต่อความรู้สึกพอใจในความสำเร็จของตนเองลดน้อยลง” นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุติกรมสุขภาพจิต และผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อสุขภาวะสังคมไทย สสส. ได้กล่าวถึงคนทำงานรุ่นใหม่ ที่อยู่ในยุคท่ามกลางสื่อดิจิทัล ที่ต้องใช้ชิวิตเร่งรีบและสังคมเต็มไปด้วยการแข่งขัน

hispanic woman doing budget in fashion designer atelier

“ความเครียด” ของคนวัยทำงาน จึงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้องเผชิญอยู่ทุกวัน ส่งผลถึงสุขภาพกายและใจ นพ.ประเวช ได้อธิบายว่า ความเครียด มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1.ความ เครียด ระยะสั้น จะช่วยกระตุ้นให้เราตื่นตัว ช่วยให้ร่างกายเร่งการทำงาน จิตใจจดจ่อ เพื่อเตรียมพร้อมในการต่อสู้กับปัญหาหรือภัยอันตราย

2.ความเครียดที่ต่อเนื่องยาวนาน แฝงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต จะส่งผลเสียรุนแรงต่อสภาพร่างกายและจิตใจ กระทบต่อร่างกายทั้งทางระบบฮอร์โมน ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบภูมิคุ้มกัน โดยความเครียด จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งตัว หัวใจเต้นเร็วและแรง เส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจตีบเล็กลง ส่งผลต่อเนื่องให้ความดันเลือดสูงขึ้น ปริมาณน้ำเลือดเพิ่มมากขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงทำให้เลือดข้นขึ้นและแข็งตัวเร็วกว่าปกติ

ไม่เพียงเท่านี้ ลำไส้ส่วนต่างๆ และระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้ความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ลดลงไปด้วย หากมากไปกว่านั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่าง โรคคาโรชิ หรือ Karochi syndrome

มารู้จัก “โรคคาโรชิ”

“โรคคาโรชิ หรือ Karochi syndrome” ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษจะหมายถึง Death from Overwork หรือ การเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกิน ซึ่ง นพ.ประเวช ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ว่า “คาโรชิ” เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นพยายามฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นภาวะที่เกิดในคนทำงานที่เครียด และเหนื่อยล้าจากการทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีชั่วโมงการทำงานที่มากเกิน

สาเหตุการเสียชีวิตส่วนมากเกิดจาก หัวใจวายเฉียบพลัน หรือเส้นเลือดในสมองแตก จากความเครียด และภาวะโภชนาการ ยกตัวอย่าง คนทำงานรายหนึ่งทำงานถึง 110 ชั่วโมง ภายในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งผู้บริหารหลายคนเสียชีวิตเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยอะไรนำมาก่อน จนสื่อมวลชนญี่ปุ่นในขณะนั้นกำหนดชื่อนี้ขึ้น ซึ่งการป้องกันจึงเป็นการดูแลชั่วโมงการทำงานไม่ให้มากเกิน และดูแลสมดุลชีวิตและงานให้ดี

ลดเครียด เพิ่ม “สุข”

นอกจากนี้ นพ.ประเวช ยังได้บอกถึงวิธีการสร้างสุขหรือการจัดการความเครียดของคนทำงานอีกว่า ความสุขของคนทำงานนั้น สามารถเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ

1.ความรู้สึกสำเร็จ

2.การมีความสัมพันธ์ที่ดีในงาน

3.ความรู้สึกมีความหมายในงานที่ทำ

ทั้งนี้ การสร้างสุขให้กับคนทำงานในทุกองค์กรนั้น เป็นหน้าที่ของทั้งผู้บริหารองค์กรและบุคลากร โดยองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความสุขของคนทำงาน จะจัดระบบงานให้เอื้อต่อการมีความสุข จัดบรรยากาศการทำงานให้คนทำงานเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำงานร่วมกันเป็นทีม ปราศจากการเมืองภายในองค์กร มีการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์

ซึ่งระบบงานที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีความสุข จะสนับสนุนให้คนทำงานได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ช่วยให้คนทำงานรู้สึกภาคภูมิใจ เป็นงานที่ให้ความหมาย ตอบโจทย์ความต้องการของคนทำงาน ที่ไม่ใช่เพียงแหล่งรายได้ มีระบบงาน และแนวทางการทำงานที่ชัดเจนโปร่งใส เปิดโอกาสให้คนทำงานทำผิดได้ ในกระบวนการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้ สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจระหว่างคนทำงาน “คนทำงานที่มีความสุข จะพบว่า งานของตัวเองไม่เพียงแต่สร้างรายได้และความมั่นคงของชีวิต แต่ยังมอบความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน และตอบโจทย์ความต้องการของชีวิตในด้านอื่นๆ อันได้แก่ การได้เข้าถึงและได้ใช้ศักยภาพของตนเอง มีความสำเร็จที่ภาคภูมิใจ และค้นพบความหมายในงานที่ทำ โดยลักษณะงานที่ทำมีความสอดคล้องกับสิ่งที่เขาให้คุณค่า เช่น ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสังคม” นพ.ประเวช กล่าวทิ้งท้าย

หากเพียงเท่านี้เราก็สามารถมีความสุขกับการทำงาน และที่สำคัญมากที่สุด คือ การได้เห็นคุณค่าในตัวเอง เช่นเดียวกับแนวคิด “Happy work place” หรือ การสร้างสุขในองค์กรอย่างสมบูรณ์

เรื่องโดย เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์ team content www.thaihealth.or.th

карта флэш памяти

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ทำงานประจำ หรือไม่ ฟรีแลนซ์…ก็ เครียด ได้ เหมือนกัน!