ปิดเมนู
หน้าแรก

ดอกลำโพง มีทั้งพิษและประโยชน์ หากใช้ให้เป็น

เปิดอ่าน 586 views

ดอกลำโพง มีทั้งพิษและประโยชน์ หากใช้ให้เป็น

ดอกลำโพง มีทั้งพิษและประโยชน์ หากใช้ให้เป็น

หลังจากที่มีข่าวสองพี่น้องภาคเหนือ นำใบจากต้นลำโพงขาวที่พ่อเด็ดมาเก็บไว้ในบ้าน มาทำกับข้าวรับประทาน ส่งผลให้เด็กทั้งสองคนช็อค หมดสติ ตาค้าง น้ำลายฟูมปาก จนต้องเร่งส่งไปล้างท้องทำการรักษาที่โรงพยาบาลนั้น (อ่านข่าวเต็มๆ ที่นี่) บางคนอาจสงสัยว่า ผู้เป็นพ่อเก็บใบลำโพงมีพิษเอาไว้ในบ้านทำไม

คำตอบคือ ต้นลำโพงมีประโยชน์มากมาย แต่จะมีพิษ ต่อเมื่อนำมารับประทานอย่างผิดวิธีนั่นเอง

ประโยชน์ของต้นลำโพง

ใบ : รสเมาเบื่อ ตำพอกฝีทำให้ยุบ แก้ปวดบวม อักเสบ

ดอก : หั่นตากแดดให้แห้ง ใช้มวนสูบแก้ริดสีดวงจมูกและหอบหืด

ผล : แก้ไข้พิษ แก้ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย

เมล็ด : คั่วพอหมดน้ำมัน ปรุงทำกินเป็นยา บำรุงประสาท แก้ไข้พิษ

น้ำมันจากเมล็ด : ฆ่าเชื้อโรค แก้กลากเกลื้อน หิด เหา เชื้อโรคที่มีตัว

ราก : รสเมาหวานน้อยๆ แก้ฝีกาฬทั้งปวง ดับพิษ ร้อน แก้ปวดบวมอักเสบ

ถ่านจากราก : รสเย็น แก้ไข้พิษ เซื่องซึม แก้ไข้กาฬ

นอกจากนี้ บางตำรายังระบุว่า รากลำโพงใช้แก้หมาบ้ากัด แก้วิกลจริต และลำโพงทั้งต้นตากแห้งหั่นสูบแก้โรคหืด


ข้อควรระวังในการใช้ต้นลำโพง

แม้แพทย์แผนโบราณของไทยจะใช้ลำโพงรักษาโรคได้มากมาย แต่ก็เตือนให้ระวังเป็นอย่างยิ่งถึงการใช้เมล็ดลำโพง เพราะเชื่อว่ามีพิษทางเมาเบื่ออย่างรุนแรง อาจทำให้เป็นบ้า หรือถึงตายได้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มะเขือบ้า”รวมทั้งคนไทยในอดีตเรียกคนบ้าบางจำพวกว่า “บ้าลำโพง” เพราะเชื่อว่าเกิดจากการกินหรือสูบลำโพงนั่นเอง


อาการของผู้ที่ได้รับพิษจากต้นลำโพง

ในเมล็ดและใบลำโพงมีสารโทรเพน อัลคาลอยด์ ได้แก่ สโคโพลามีน (scopolamine) และไฮออสไซอะมีน (hy-oscyamine) ที่ทำให้เกิดอาการต่อไปนี้

– กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปากและคอแห้งผาด

– ม่านตาขยาย สู้แสงไม่ได้

– กลืนน้ำลายยาก

– พูดไม่ชัด พูดลำบาก

– ผิวหนังร้อนแดง คล้ำแห้ง

– ตัวร้อน ปวดศีรษะ

– มึนงง ประสาทหลอน

– ชัก ชีพจรเต้นเร็วแต่อ่อน

– น้ำลายฟูมปาก หมดสติ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ให้กินผงถ่าน เพื่อลดการดูดซึม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อล้างท้อง

คำแนะนำในการใช้ต้นลำโพง

ควรปรึกษาแพทย์แผนไทย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ใบ ดอก เมล็ด หรือผลของต้นลำโพงในการรักษาโรคต่างๆ

เกร็ดความรู้
ดอกลำโพง กับดอกแตรนางฟ้า มักถูกจำสลับกัน ดอกลำโพงจะตั้งขึ้น หรือเจริญเติบโตในแนวเฉียง ลำต้นเป็นไม้พุ่มเตี้ย ติดเมล็ดได้ง่าย แต่ดอกแตรนางฟ้าจะคว่ำลง และเป็นลำต้นสูงใหญ่กว่าต้นลำโพง

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน
เล่มที่: 322
กุมภาพันธ์ 2549
คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า
นักเขียนรับเชิญ : เดชา ศิริภัทร
ภาพประกอบจาก wikiwand.com/th 

เนื้อหาโดย : Sanook!

чугунная сковорода гриль

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ดอกลำโพง มีทั้งพิษและประโยชน์ หากใช้ให้เป็น