ปิดเมนู
หน้าแรก

“ติ่งเนื้อ” สัญญาณโรคร้าย หรือไม่อันตรายอย่างที่คิด?

เปิดอ่าน 394 views

“ติ่งเนื้อ” สัญญาณโรคร้าย หรือไม่อันตรายอย่างที่คิด?

“ติ่งเนื้อ” สัญญาณโรคร้าย หรือไม่อันตรายอย่างที่คิด? เกี่ยวกับ โรคผิวหนัง

หากลองสังเกตผิวของพ่อแม่ของเราที่อายุเกิน 50 ขึ้นไป เราอาจจะพบ ติ่งเนื้อ” ที่มีลักษณะคล้ายไฝ หรือขี้แมลงวันเล็กๆ แต่มันปูดออกมา ติดเนื้อเป็นติ่งๆ ดูเหมือนอะไรติดผิวหนังแบบที่หยิบดึงออกมาได้ มีทั้งสีคล้ำอย่างดำ น้ำตาล ไปจนถึงสีเนื้อ เหลือง หรือสีชาๆ คล้ายน้ำชา

นอกจากผู้ใหญ่แล้ว คนอายุ 30 ปีบางคนก็พบติ่งเนื้อแล้ว ติ่งเนื้อเป็นอันตราย หรือเป็นสัญญาณบอกโรคร้ายอะไรหรือไม่ มีคำตอบค่ะ

 

“ติ่งเนื้อ” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ติ่งเนื้อประกอบไปด้วย ทั้งส่วนของหนังกำพร้าด้านนอกสุด หนังแท้ และเนื้อเยื่อไขมันด้านใน ไม่ทราบกลไก หรือสาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อแน่ชัด แต่มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อยๆ เช่น คอ หรือข้อพับต่างๆ จากการเสียดสีของเสื้อผ้า เช่น คอเสื้อ แขนเสื้อ ขอบกางเกง และผิวหนังบริเวณที่สวมเครื่องประดับ เช่น คอ ข้อมือ เป็นต้น

 

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดติ่งเนื้อ

คนอ้วน ผู้สูงอายุ เพศหญิงเพศชายมีโอกาสเกิดได้เท่ากัน

 

ติ่งเนื้อ เป็นเนื้องอกที่อันตราย หรือเป็นเนื้อร้าย/มะเร็งหรือไม่?

ติ่งเนื้อ ไม่ใช่เนื้อร้าย หรือเนื้องอกที่ก่อให้เกิดอันตราย จนกลายเป็นมะเร็งแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ ให้แก่เจ้าของร่างกายอีกด้วย แต่ข้อเสียที่มีคือ ติ่งเนื้ออาจสร้างความรำคาญ และทำให้ผิวหนังไม่สวยงาม เท่านั้นเอง

 

แต่ถึงกระนั้น การศึกษาทางสถิติพบว่า โรคติ่งเนื้อผิวหนัง มีความสัมพันธ์กับ ความอ้วน เบาหวานชนิดที่ 2 โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ

 

 

วิธีกำจัดติ่งเนื้อ

แพทย์ผิวหนังอาจใช้วิธีจี้ไฟฟ้า หรือเลเซอร์ หริอาจจะแค่ตัดออก แล้วดูแลรักษาแผลตามปกติ นอกจากนี้แพทย์อาจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยเอาติ่งเนื้อไปตรวจเพิ่มเติม

 

หากมีติ่งเนื้อ ควรดูแลผิวหนังตนเองอย่างไร

  1. อย่าสวมเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับที่ทำให้เกิดการเสียดสีกับติ่งเนื้อ เพื่อลดความรำคาญ หรืออาการบาดเจ็บ
  2. หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรือมีอาการอื่นเช่น บาดเจ็บเป็นแผล มีน้ำเหลือง หรือหนอง หรืออาการอื่นๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำความสะอาดแผลอย่างถูกต้อง หรือตัดติ่งเนื้อส่งตรวจเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง
  3. ติ่งเนื้อสามารถบิดหลุดออกได้ในบางกรณี แต่หากเป็นติ่งเนื้อขนาดใหญ่ อย่าลองตัดเองที่บ้าน เพราะอุปกรณ์ที่ใช้อาจไม่สะอาดพอ และอาจทำให้บาดแผลติดเชื้อได้

 

 

รู้อย่างนี้ก็เบาใจได้แล้วนะคะ หากคุณมีติ่งเนื้อและรู้สึกว่าไม่สวยงาม หรือส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือการใช้ชีวิต สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อกำจัดออกได้ เหมือนจี้เอาไฝ เอาขี้แมลงวันออกได้ค่ะ นอกจากนี้การรักษาร่างกายไม่ให้อ้วนจนเกินไป ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นติ่งเนื้อได้ด้วยเหมือนกันนะคะ

 

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : “ติ่งเนื้อ” สัญญาณโรคร้าย หรือไม่อันตรายอย่างที่คิด?