ปิดเมนู
หน้าแรก

ใช้เงินเดือน อย่างไรให้ครบเดือน

เปิดอ่าน 409 views

ใช้เงินเดือน อย่างไรให้ครบเดือน

ใช้เงินเดือน อย่างไรให้ครบเดือน

ในยุคสมัยที่เงินเดือนมีจำกัด คนจบมหาวิทยาลัยมาใหม่ๆก็มีเงินเดือนเพียงแค่ 15,000 บาทตามกฎหมายกำหนดเท่านั้น แถมยังไม่รวมกับลูกจ้างรายวันที่มีเงินเดือนเพียงแค่ 300 บาท/วันเท่านั้น ถ้าวันไหนไม่มีมีงานก็ไม่มีเงินนั่นเอง ดังนั้น คนในยุคสมัยที่มีรายจ่ายติดตามเป็นเงาจนรายได้แทบไม่พอจ่ายก็ต้องหาวิธีการที่จะช่วยทำให้เงินที่ได้รับมานั้นพอสำหรับการดำรงชีวิตไปตลอดทั้งเดือนให้ได้นั่นเอง

เรามาดูกันดีกว่าว่าไอ้ปัญหาเงินชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้นเดือนกินอยู่อย่างราชาปลายเดือนกินอยู่อย่างยาจก หลักๆเลยมีอยู่ 2 อย่างคือ รายได้ที่น้อยไปและรายจ่ายที่มากเกินไป เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะแก้ไขเราก็ต้องแก้ที่ 2 ข้อนี้เป็นหลัก แล้วใครอยากจะแก้ข้อใดข้อหนึ่งหรือแก้ทั้ง 2 ข้อเลยก็ได้เช่นกัน แต่แนะนำว่าถ้าแก้ได้ทั้ง 2 ข้อเลยก็ดูจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด วิธีจัดการรายได้ที่น้อยไปและรายจ่ายที่มากเกินไป สามารถแก้ไขได้ดังนี้

• เพิ่มรายได้
วิธีนี้น่าจะเป็นเรื่องง่ายๆที่เข้าใจไม่ยากเลย เพราะเงินที่เราได้นั้นเราก็ได้มาจากการทำงานหรือการลงทุน ดังนั้นถ้าเราอยากได้เงินเพิ่มเข้ามา เราก็ต้องเลือกที่จะทำงานหรือลงทุนเพื่อสร้างเงินขึ้นมานั่นเอง โดยวิธีการเพิ่มรายได้นั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่นการลงทุนซื้อหุ้น ซื้อพันธบัตรหรือลงทุนอะไรก็ตาม

รวมถึงการสร้างรายได้โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำงานฝีมือส่งขาย ซึ่งก็รายได้ดีไม่น้อยหรือใครที่ถนัดการเขียน งานเขียนบทความก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องทำมากเลย แค่เอาเวลาว่างจากการทำงาน มาเขียนสักวันละ 1-2 บท หรือวันละ 100 บาท เดือนนึงก็ได้ตั้ง 3000 บาทแล้วล่ะ

• ลดรายจ่าย
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า รายจ่ายนั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ รายจ่ายคงที่ รายจ่ายผันแปร และค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนั่นเอง

โดยรายจ่ายคงที่ จะหมายถึง รายจ่ายที่เราต้องจ่ายออกไปเป็นประจำในทุกเดือน ซึ่งเป็นรายจ่ายที่คิดเป็นจำนวนเงินคงที่ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าประกันสุขภาพ ค่าเช่าบ้านหรือหอ เป็นต้น ซึ่งค่าจ่ายส่วนนี้เรารู้ดีอยู่แล้วว่าต้องจ่ายแน่นอน ดังนั้นก้ให้หักเงินเดือนในส่วนนี้ออกไว้โดยเฉพาะเมื่อถึงวันจ่ายจะได้ไม่มีปัญหาเงินไม่พอนั่นเอง

รายจ่ายผันแปร จะหมายถึง รายจ่ายที่เราต้องจ่ายออกไปเป็นประจำในทุกเดือนซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่คงที่มีขึ้นๆลงๆบ้าง หรือรายจ่ายที่เราต้องจ่ายเป็นบางเดือนเท่านั้น เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์บ้าน ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าเสื้อผ้าเครื่องสำอาง ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหาร เป็นต้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เราอาจจะไม่รู้ว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ในแต่ละเดือน จึงต้องเก็บเงินของส่วนนี้ไว้ส่วนนึง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดสนเมื่อถึงวันที่ต้องจ่ายนั่นเอง

ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จะหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เราอาจจะไม่จำเป็นต้องจ่ายแต่เป็นรายจ่ายที่เราใช้ในการหาความสุขให้ชีวิต เช่น ค่าตั๋วหนัง ค่าตั๋วคอนเสิร์ต เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ควรมากเกินไป เพราะจะทำให้เรามีเงินไม่พอใช้จนถึงสิ้นเดือนแล้ว และยังอาจจะทำให้เกิดปัญหาทางการเงินตามมาอีกด้วย

การลดรายจ่ายนั้น คนจะนิยมลดจากค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก่อน อะไรอดได้ก็ไม่จ่ายเงินเพื่อสิ่งนั้น และถ้าลดไม่ได้เท่าที่คาดจึงไปลดที่รายจ่ายผันแปรร่วมด้วยนั่นเอง เช่นการลดโปรโมชั่นอินเทอร์เน็ตลงมาให้ถูกกว่าเดิม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆอีก 3 ข้อนั่นคือ

1. การแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ
คือ รายจ่ายคงที่ รายจ่ายผันแปร และค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และใช้จ่ายตามจำเป็นเท่านั้นรวมถึงไม่มีการดึงเงินข้ามส่วนกัน ถ้าเหลือก็นำไปออมไว้ ห้ามนำเงินจากอีกส่วนมาใช้ในอีกส่วนเป็นอันขาด เพราะมันจะสร้างนิสัยแย่ๆ ในด้านการเงินให้กับคุณได้

2. แยกเงินออกมาออมก่อนใช้
เช่น การนำเงิน 10% จากเงินเดือนเข้าบัญชีเงินออมไว้เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินหรืออนาคต จะทำให้เรามีเงินเก็บออมมากขึ้น แต่อย่าลืมนะว่าเงินส่วนนี้หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็อย่านำออกไปใช้เด็ดขาด หากคุณนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้ นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเจอวิกฤติการเงินขั้นหนักเลยล่ะ

3. ทำบันทึกรายรับรายจ่าย
ซึ่ง การทำบันทึกรายรับรายจ่าย นั้นจะทำให้เรารู้ว่าเราใช้จ่ายอะไรไปบ้างในแต่ละเดือน มีรายจ่ายใดๆที่ ใช้เงิน ไปมากเกินความจำเป็นหรือไม่เหมาะสมหรือไม่ ถ้ามีแล้วเราจะเข้าไปลดค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นได้อย่างไร การบันทึกรายรับรายจ่ายนั้นจะช่วยเตือนสติเราได้ดีเลยทีเดียวสำหรับสินัยการ ใช้เงิน เพราะเราจะเห็นทุกวันว่าเราใช้เงินไปกับอะไรเท่าไหร่ทุกๆวัน ใครที่ยังไม่มีวินัยในการ ใช้เงิน ถ้าได้ลองทำบันทึกรายรับรายจ่าย วินัยทางการเงินของเขาก็จะค่อยๆดีขึ้นได้ในที่สุดนั่นเอง

และนี่คือข้อแนะนำของเราที่จะช่วยให้คุณรู้ว่าต้อง ใช้เงิน เดือนอย่างไรให้อยู่ได้ครบเดือน อย่างน้อยที่สุดคือไม่มีหนี้สินและอย่างมากที่สุดคือการมีเงินเก็บเหลือใช้นั่นเอง ง่ายๆแบบนี้ใครที่มีปัญหาก็ลองนำไปใช้ดูได้เป็นอย่างไรก็มาบอกต่อให้คนอื่นรู้ด้วย เพื่อที่คนอื่นเขาจะได้รู้จักจัดการกับเงินเดือนของตัวเองให้พอใช้ได้นั่นเอง

สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub

занзибаре весной 2016

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ใช้เงินเดือน อย่างไรให้ครบเดือน