ปิดเมนู
หน้าแรก

ตรวจเช็คสภาพรถง่ายๆ ก่อนออกเดินทางไกล

เปิดอ่าน 842 views

ตรวจเช็คสภาพรถง่ายๆ ก่อนออกเดินทางไกล

ตรวจเช็คสภาพรถง่ายๆ ก่อนออกเดินทางไกล

ช่วงใกล้ๆ วันหยุดยาว หลายคนก็คงจะออกต่างจังหวัด วางแผนไปเที่ยวไปผักผ่อนกันแน่นอน ซึ่งแน่นอนละ การออกเดินทางไปต่างจังหวัด หลายๆ ครอบครัวก็ต้องขับรถไปอยู่แล้ว เราก็เลยมีความรู้เล็กๆ น้อยๆ ในการตรวจสภาพรถก่อนออกเดินทางไกลแบบง่ายๆ มาฝากกัน เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุและป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น

เริ่มกันที่การตรวจเช็คลมยาง วัดลมยางให้อยู่ในความดันที่เหมาะสม ดูการสึกหรอของดอกยาง ถ้าสึกมากก็ควรจะเปลี่ยนซะ เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา อย่าลืมดูยางอะไหล่สำรองด้วย

ตรวจเช็คระดับของเหลวต่างๆของรถยนต์  เช่น  น้ำมันเครื่อง  น้ำมันเกียร์  น้ำมันเบรค  น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์  น้ำฉีดกระจก  น้ำกลั่นแบตเตอรี่ อันไหนหมดก็เติมให้เต็ม ตรวจสอบไฟส่องสว่างต่างๆ ไฟเลี้ยว ไฟหน้า ไฟท้าย ทุกหลอดทุกดวง อันไหนเสีย อันไหนขาด ถ้าเปลี่ยนเองได้ก็หาซื้อมาเปลี่ยน ทำเองไม่เป็นก็เข้าร้านไปเลย

อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็พวกเครื่องไม้เครื่องมือติดรถเมื่อยามจำเป็น เช่น เช่น แม่แรง, ประแจขันน็อตล้อ, ไขควง, สายพ่วงแบต, สายลากจูง, ป้ายสะท้อนแสง, ไฟฉาย, ชุดปฐมพยาบาลสิ่งของที่เราคิดว่าจำเป็น เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน

ซึ่งถ้าใครตรวจเช็คไม่เป็นโดยเฉพาะคุณผู้หญิง ก็แนะนำว่าให้เข้าศูนย์หรือไม่ก็เข้าร้านที่เราไว้ใจให้เขาตรวจเช็คให้ เพื่อที่การเดินทางของเราจะได้ปลอดภัย เพราะนอกจากจะมีการขับขี่ที่ดีมีวินัยแล้ว สภาพรถยนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย ยังไงก็เที่ยวกันให้สนุก

D.I.Y. วิธีการตรวจเช็ครถยนต์ ด้วยตนเอง เบื้องต้น by Yai6000

สวัสดีครับ ทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งแล้ว วันนี้เราจะมาทำการตรวจเช็ครถยนต์ ด้วยตนเอง เบื้องต้น ซึ่งจะทำให้รถยนต์อันเป็นที่รักของเราให้สามารถใช้งานกันได้อย่างยาวนาน ลดการซ่อมบำรุงอย่างหนักหน่วง เพราะว่าการตรวจเช็คในเบื้องต้น ช่วยทำให้เราทราบอาการก่อน แล้วรีบทำการแก้ไข ดีกว่าปล่อยเอาไว้นานๆ แล้วจากเรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องเกินกว่าที่เจ้าของรถจะรับได้ ในการตรวจเช็ครถยนต์สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ ต้องการ ไม่จำเป็นว่าต้องเดินทางก่อนไกลแล้วค่อยทำ ถ้าเป็นแบบนั้นก็คงจะสายเกินไป  

วิธีการที่ได้นำมาเสนอนี้ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าสำหรับรถรุ่นใด แบบใด เพียงแค่อยากให้ลองอ่านแล้วนำไป ปรับปรุงให้เหมาะสมตามแต่รถยนต์ที่ท่านเจ้าของรถนั้นใช้อยู่ ในครั้งแรกอาจจะดูเหมือนยุ่งยากสำหรับคนที่ ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านช่างยนต์มาก่อน แต่ถ้าทำบ่อยๆ จนเป็นนิสัย ตามแต่ระยะเวลา และความเหมาะสมของแต่ ท่าน แล้วจะพบว่ารถยนต์ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป ลองได้คุย ได้จับ ได้ลูบ ได้คลำกันบ่อยๆ เดี๋ยวก็จำกันได้ พอรู้จักกันแล้ว เวลามีปัญหาอะไรที่นี้ล่ะบอกหมดเลย โม้มาก็เยอะแล้ว ลงมือทำงานกันดีกว่า

บทความนี้เขียนมาจากประสบการณ์ตรง ซึ่ง ณ เวลานั้นทำงานเป็นเซลต่างจังหวัดอยู่ พบว่าในวันนึงต้อง ขับรถเดินทางข้ามจังหวัดในเขตภาคใต้ วันละ 300 – 400 Km. ใน 1 เดือน ได้ระยะทาง 6,000 Km. Up ซึ่งการขับรถแบบนี้ ถ้าเราไม่ดูแลตัวเองแล้ว ใครจะมาดูแลเรา เพราะฉะนั้นการที่เราดูแลรถได้เองในเบื้องต้น เป็นการลดโอกาสที่รถเราจะเสียระหว่างทางให้น้อยที่สุดนั่นเอง

D.I.Y. วิธีการตรวจเช็ครถยนต์ ด้วยตนเอง เบื้องต้น by Yai6000

1. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันเครื่อง
2. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันเกียร์ออโต้ (สำหรับรถยนต์เกียร์ออโต้)
3. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำกลั่นในแบตเตอรี่ (สำหรับแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น)
4. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำ และในถังพักน้ำสำรอง
5. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันเบรค
6. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันครัช (สำหรับรถยนต์เกียร์ธรรมดา)
7. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
8. ทำการตรวจเติม น้ำในถังน้ำฉีดกระจก
9. ทำการตรวจเช็ค ไส้กรองอากาศรถยนต์
10. ทำการตรวจเช็ค ปรับตั้ง สายพานคอมแอร์
11. ทำการตรวจเช็ค ปรับตั้ง สายพานไดร์ชาร์จ
12. ทำการตรวจเช็ค การรั่วซึม ของท่อทางเดินต่างๆ โดยรอบเครื่องยนต์
13. ทำการตรวจเช็ค การรั่วซึม บริเวณด้านล่างของเครื่องยนต์
14. ทำการตรวจเช็ค ช่วงล่างด้านหน้า ซ้าย-ขวา และระบบกันสะเทือน
15. ทำการตรวจเช็ค การรั่วซึมของชุดเกียร์
16.  ทำการตรวจเช็ค การรั่วซึมของชุดเฟืองท้าย
17. ทำการตรวจเช็ค ช่วงล่างด้านหลัง ซ้าย-ขวา และระบบกันสะเทือน
18. ทำการตรวจเช็ค ยางอะไหล่ ตรวจเติมลมยางให้มากกว่ายางปกติซักหน่อย
19. ทำการตรวจเช็ค ลมยางรถยนต์ และสภาพของยางรถยนต์ทั้งสี่ล้อ
20. ทำการตรวจเช็ค ไส้กรองระบบปรับอากาศรถยนต์
21. ทำการตรวจเช็ค สัญญาณไฟเตือนต่างๆ หัลงจากสตาร์ทเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่
22. ทำการตรวจเช็ค ระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่างๆ ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่
23. อย่าลืม…เมื่อต้องเดินทางไกล ตรวจสอบความพร้อมของคนขับด้วยว่า พักผ่อนอย่างเพียงพอ

1. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันเครื่อง ให้อยู่ระหว่างจุดสูงสุด และจุดต่ำสุด อย่าปล่อยให้น้ำมันเครื่องเหลือ ในระบบน้อยกว่าจุดต่ำสุดโดยเด็ดขาด สำหรับรถที่มีปัญหาต้องคอยเติมเลี้ยงเอาไว้


2. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันเกียร์ออโต้ (สำหรับรถยนต์เกียร์ออโต้) โปรดศึกษาวิธีการวัดระดับน้ำมันเกียร์
ออโต้ จากเอกสารคู่มือประจำรถกันอีกครั้งนะครับ เพื่อความถูกต้อง

3. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำกลั่นในแบตเตอรี่ (สำหรับแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น) ทำการตรวจสอบทั้ง 6 ช่องแล้วทำการเติมน้ำกลั่นจนถึงระดับที่กำหนด สมมติว่า ช่องใดช่องหนึ่ง น้ำกลั่นขาดมากไปอาจจะเป็นเหตุให้
แบตเตอรี่ทั้งลูก เสื่อมคุณภาพไวกว่าปกติได้ เพราะฉะนั้นต้องหมั่นทำการตรวจเช็ค และปิดฝาให้สนิททุกครั้ง

เปิดฝาเติมน้ำกลั่น แล้วดูครับ เอาแค่น้ำกรดในแบตเตอรี่แตะที่ขอบพลาสติก ด้านล่าง เป็นอันใช้ได้ครับ

น้ำที่อยู่ในแบตเตอรี่ = น้ำกรดแบตเตอรี่
น้ำที่เราทำการเติมลงในแบตเตอรี่ = น้ำกลั่น

เติมแค่แตะขอบพลาสติก ด้านล่าง ดังรูป ควรหมั่นตรวจเช็คอย่าปล่อยให้แห้งครับ

4. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำ และในถังพักน้ำสำรอง ตอนเช้าๆ ก่อนสตาร์ทรถ เครื่องยนต์
ยังไม่มีความร้อน ก็สามารถทำการเปิดฝาหม้อน้ำออกมาดูได้ครับ ดูสี ดูสภาพ ถ้าแย่มากแล้วก็สมควรจะต้อง
ทำการเปลี่ยนถ่ายออกมาได้แล้ว อีกจุดที่สามารถดูได้นั้นก็คือที่ ถังพักน้ำสำรอง ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี


5. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันเบรค ให้อยู่ในระดับที่กำหนด หากพบว่ามีการพร่องหายไป ควรรีบดำเนินการตรวจเช็คจุดที่รั่วซึม หรือนำรถของท่านไปให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจสอบหาสาเหตุ แล้วทำการแก้ไข เพราะว่า
โดยปกติ ระบบน้ำมันเบรค จะไม่พร่องหายไปมากเกิน ถ้าไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ มาแทรกซ้อน ถ้าดูแล้วพบว่า มีสีที่ดำคล้ำมากว่าปกติ แล้วครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนถ่ายก็จำไม่ได้แล้วด้วย ก็ถึงเวลาต้องมีการบำรุงรักษากันแล้ว ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี


6. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันครัช (สำหรับรถยนต์เกียร์ธรรมดา) หากพบว่ามีการพร่องหายไป ควรรีบดำเนินการตรวจเช็คจุดที่รั่วซึม หรือนำรถของท่านไปให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจสอบหาสาเหตุ แล้วทำการแก้ไข เพราะว่าโดยปกติ ระบบน้ำมันครัช จะไม่พร่องหายไปมากเกิน ถ้าไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ มาแทรกซ้อน ถ้าดูแล้วพบว่า
มีสีที่ดำคล้ำมากว่าปกติ แล้วครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนถ่ายก็จำไม่ได้แล้วด้วย ก็ถึงเวลาต้องมีการบำรุงรักษากันแล้ว
ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี



7. ทำการตรวจเช็คระดับ น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ ในกระปุก หากพบว่ามีการพร่องหายไป ควรรีบดำเนินการตรวจเช็คจุดที่รั่วซึม หรือนำรถของท่านไปให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจสอบหาสาเหตุ แล้วทำการแก้ไข เพราะว่าโดยปกติ ระบบน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ จะไม่พร่องหายไปมากเกิน ถ้าไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ ถ้าดูแล้วพบว่ามีสีที่ดำคล้ำมากว่าปกติ แล้วครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนถ่ายก็จำไม่ได้แล้วด้วย ก็ถึงเวลาต้องมีการบำรุงรักษากันแล้ว ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี


8. ทำการตรวจเติม น้ำในถังน้ำฉีดกระจก ควรที่จะทำการเติมให้เต้มเอาไว้ตลอดเวลา เพราะว่าเส้นทางข้างหน้าเราไม่รู้ว่าจะเจอกับอะไรบ้าง พอถึงเวลาจะใช้แล้วมันไม่มี มันน่าหงุดหงิดใจจริงๆ

9. ทำการตรวจเช็ค ไส้กรองอากาศรถยนต์ เดี๋ยวนี้หาสถานที่ที่จะเป่าไส้กรองอากาศได้ยากเหลือเกิน ผมก็เลยใช้วิธี เปลี่ยนทุกๆ 20,000 Km. ซะเลย ถ้าจะให้รอเปลี่ยนทุกๆ 40,000 Km. ตามที่คู่มือแนะนำ ก็ได้นะครับ แบบนั้นก็ประหยัดตังค์ดี ต้องไม่ลืมว่าไส้กรองอากาศที่ไม่อุดตัน ช่วยให้ลดประหยัดน้ำมันได้อีกนิดนะครับ

10. ทำการตรวจเช็ค ปรับตั้ง สายพานคอมแอร์ โดยใช้นิ้วมือกดบริเวณกึ่งกลางสายพาน หากพบว่าสายพาน
หย่อน ควรทำการปรับตั้ง เพื่อให้อยู่ในระยะที่กำหนด โดยปกติสายพานหน้าเครื่องจะไม่ขาดได้โดยง่าย เว้นแต่มีเศษก้อนหินกระเด็นใส่ หรือ สายพานแตก กรอบ ร่อน หลุด ตามอายุการใช้งาน ส่วนใหญ่ที่เปลี่ยน จะเจอปัญหาทนเสียงดังน่ารำคาญไม่ไหว พอเปลี่ยนแล้วเสียงนั้นจะหายไป ค่าเฉลี่ยสายพานตัวนี้ก็ประมาณ 50,000Km. ถ้าเห็นว่าสภาพไม่ดีแล้วก็ควรรีบทำการเปลี่ยนซะ เปลี่ยนตอนนี้หรือจะไปขาดเอากลางทางก็เลือกเอ่า

11. ทำการตรวจเช็ค ปรับตั้ง สายพานไดร์ชาร์จ โดยใช้นิ้วมือกดบริเวณกึ่งกลางสายพาน หากพบว่าสายพานหย่อน ควรทำการปรับตั้ง เพื่อให้อยู่ในระยะที่กำหนด โดยปกติสายพานหน้าเครื่องจะไม่ขาดได้โดยง่าย เว้นแต่
มีเศษก้อนหินกระเด็นใส่ หรือ สายพานแตก กรอบ ร่อน หลุด ตามอายุการใช้งาน อายุการใช้งานของสายพานเส้นนี้เกิน 100,000 Km. แน่นอน เนื่องจากสายพานเส้นใหญ่ แต่อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตรวจสอบดูตามสภาพ
ถ้าเห็นว่าสภาพไม่ดีแล้วก็ควรรีบทำการเปลี่ยนซะ เปลี่ยนตอนนี้หรือจะไปขาดเอากลางทางก็เลือกเอา


12. ทำการตรวจเช็ค การรั่วซึม ของท่อทางเดินต่างๆ โดยรอบเครื่องยนต์ เป็นการตรวจเช็คสิ่งผิกปกติต่างๆ
โดยทั่วๆ ไป ว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีการ รั่ว ซึม เยิ้ม แฉะ ของน้ำมันไหลออกมา หากพบก็ควร
รีบดำเนินการแก้ไข อย่าปล่อยปละละเลยจนปัญหาเล็ก กลายเป็นเรื่องใหญ่

13. ทำการตรวจเช็ค การรั่วซึม บริเวณด้านล่างของเครื่องยนต์ เป็นการตรวจเช็คสิ่งผิกปกติต่างๆ โดยทั่วๆ ไป
ว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีการ รั่ว ซึม เยิ้ม แฉะ ของน้ำมันไหลออกมา หากพบก็ควรรีบดำเนินการแก้ไข
อย่าปล่อยปละละเลยจนปัญหาเล็ก กลายเป็นเรื่องใหญ่

14. ทำการตรวจเช็ค ช่วงล่างด้านหน้า ซ้าย-ขวา และระบบกันสะเทือน ตรวจดูว่ามีการรั่ว ซึม เยิ้ม แฉะ ของ
ชิ้นส่วนต่างๆ ส่วนบริเวณยางลูกหมากต่างๆ เมื่อพบว่าชำรุด เสียหาย ตามอายุการใช้งาน ก็ถึงเวลาที่ต้องทำการ
เปลี่ยนอะไหล่กันได้แล้ว

15. ทำการตรวจเช็ค การรั่วซึมของชุดเกียร์ ไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดา หรือหรือเกียร์ออโต้ ก็ใช้หลักการเดียวกัน
ตรวจดูว่ามีการรั่ว ซึม เยิ้ม แฉะ ของชิ้นส่วนต่างๆ หรือไม่

как приготовить овощи гриль в домашних условиях

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ตรวจเช็คสภาพรถง่ายๆ ก่อนออกเดินทางไกล