ปิดเมนู
หน้าแรก

7 เทคนิคดี ๆ ฝึกพัฒนาการ “โฟกัสงาน” ให้ดีขึ้น

เปิดอ่าน 34 views

7 เทคนิคดี ๆ ฝึกพัฒนาการ “โฟกัสงาน” ให้ดีขึ้น

Tonkit360

สนับสนุนเนื้อหา

การพยายามโฟกัสหรือจดจ่ออยู่กับงานนั้นเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ทั้งยังดูเป็นเรื่องท้าทายด้วยเมื่อคุณต้องพยายามจะจัดการกับความฟุ้งซ่านว้าวุ่นใจแล้วให้มาควบคุมสมาธิของตนเอง ทั้งที่บรรยากาศในห้องทำงานอาจเงียบสงบ แต่คุณก็สติแตกได้ เพียงได้ยินเสียงแจ้งเตือน!

การพยายามฝึกสมาธิให้โฟกัสกับงานเป็นเรื่องที่สามารถฝึกกันได้ แต่มันก็ไม่ได้ง่ายเสมอไป ถึงอย่างนั้นการฝึกให้โฟกัสก็เหมือนกับการเพิ่มกล้ามเนื้อ ยิ่งคุณพยายามเท่าไหร่ จิตใจก็ยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น คุณจึงต้องมุ่งมั่นตั้งใจอย่างแน่วแน่ รวมถึงเปลี่ยนแปลงนิสัยบางอย่างในชีวิตประจำวันใหม่ นี่คือวิธีฝึกในเชิงจิตวิทยาที่ช่วยพัฒนาสมาธิ และทำให้คุณโฟกัสอยู่กับงานได้ดีขึ้น

1. ประเมินจิตตนเอง

ก่อนจะเริ่มปรับปรุงสมาธิและการโฟกัสของตัวเอง คุณควรเริ่มจากการประเมินก่อน ว่าขณะนี้ความสามารถในการโฟกัสของคุณเป็นอย่างไร แข็งแกร่งเพียงใด ดังนี้

โฟกัสของคุณดี ถ้าหาก…

คุณรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะกระตุ้นให้ตัวเองตื่นตัว
คุณสามารถตั้งเป้าหมายแล้วแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ
เมื่อคุณได้หยุดพักเบรกสั้น ๆ แล้วคุณกลับไปทำงานได้
โฟกัสของคุณต้องปรับปรุง ถ้าหาก…

คุณฝันกลางวันเป็นประจำ
คุณไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่รบกวนจิตใจได้
คุณไม่มีความคืบหน้าในการทำงาน
หากคุณเป็นอย่างกรณีแรก คุณเป็นคนที่มีทักษะในการตั้งสมาธิดีอยู่แล้ว เพียงต้องการฝึกฝนให้แข็งแกร่งขึ้นเพิ่มเติม อีกเล็กน้อย แต่ถ้าคุณเป็นกรณีหลัง คุณอาจต้องใช้ความพยายามในการโฟกัสเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งอาจต้องใช้เวลา แต่ถ้าทำได้ มันจะเป็นผลดีต่อคุณอย่างมาก

2. กำจัดสิ่งรบกวน

หลายคนรู้ดี ว่าสิ่งรบกวนที่ทำให้ตัวคุณเองไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ทำอยู่ได้ คือการที่มีสิ่งรบกวนเข้ามาขัดจังหวะจนเสียสมาธิ เช่น เสียแจ้งเตือนโทรศัพท์ หรือเสียงเพื่อนร่วมงานที่นั่งจับกลุ่มพูดคุยนินทาคนอื่น ถึงอย่างนั้น นี่ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ควบคุมได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะการปิดเสียงโทรศัพท์อาจจะทำได้ง่าย แต่เสียงเพื่อนร่วมงานตัวดีที่ชอบส่งเสียงดังขัดสมาธิคุณนั้นจัดการไม่ง่ายแน่ ๆ

แต่ก็พอมีวิธีอยู่บ้าง ให้คุณลุกไปหาที่เงียบ ๆ เพื่ออยู่คนเดียวสักครู่ หรือหาที่ที่เงียบสงบ ที่คิดว่าจะทำงานได้โดยไม่ถูกรบกวน แต่ต้องรู้ด้วยว่าสิ่งรบกวนเหล่านี้ ไม่ได้มีแค่สิ่งรบกวนภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะบางทีมันก็อาจมาจากภายในตัวคุณเองก็ได้ เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย วิตกกังวล และความวุ่นวายภายในใจอื่น ๆ คุณจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอในคืนก่อนวันทำงาน หัดใช้ความคิดเชิงบวกต่อสู้กับความคิดฟุ้งซ่านในจิตใจ ก็ช่วยให้คุณดึงสติกลับมาที่งานที่ทำอยู่ได้

3. การโฟกัสงานแค่อย่างเดียว

คุณอาจคิดว่าการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันเป็นวิธีที่ดีในการทำงาน เพราะหลาย ๆ อย่างจะเสร็จอย่างรวดเร็ว แต่เปล่าเลย กลายเป็นว่าการทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน มันลดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานลงอย่างมาก คุณจะมองข้ามรายละเอียดต่าง ๆ จนอาจมีปัญหากับคนที่ทำงานร่วมกัน

ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจัดงบประมาณอย่างชาญฉลาด หยุดการทำงานหลายอย่างพร้อมกันและให้ความสนใจอย่างเต็มที่ในแต่ละครั้งแทน

ให้คุณตั้งเอาความสนใจของตัวคุณเองเป็นจุดสนใจโดยการหันไฟไปที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง คุณจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนมาก หากคุณพยายามกระจายแสงทั่วห้องมืดขนาดใหญ่ คุณอาจจะมองเห็นเพียงแค่เงาร่างเท่านั้น

4. จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน

อาจเป็นเรื่องยากที่คุณจะพยายามจดจ่ออยู่กับอะไรบางอย่าง ถ้าจิตใจคุณเอาแต่ครุ่นคิดหรือกังวลอยู่กับอดีตหรืออนาคต หรือพยายามปรับตัว ณ เวลาปัจจุบัน

คุณอาจต้องหันมาให้ความสำคัญกับช่วงเวลาปัจจุบัน ละทิ้งสิ่งรบกวนทุกอย่าง ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือทางจิตใจ ให้แน่วแน่กับเวลาปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จิตใจของคุณควรได้รับการฝึกฝนอย่างจริงจัง ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร เตือนตัวเองเสมอว่าคุณไม่อาจเปลี่ยนแปลงอดีต และทำนายอนาคตได้ อยู่กับปัจจุบัน จะช่วยลดความผิดพลาดที่ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนพาตัวเองไปข้างหน้าได้

5. ฝึกสติ

การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล ด้วยการให้คนทำงานหลายอย่างที่ซับซ้อนพร้อมกัน โดยมีเงื่อนไขว่า งานเหล่านี้จะต้องทำให้เสร็จภายใน 20 นาที ระหว่างนี้คุณต้องรับโทรศัพท์ จัดตารางการประชุม และการเขียนบันทึกช่วยจำไปด้วย จากข้อมูลที่หลังไหลเข้ามาจากหลายทิศทางทั้งทางโทรศัพท์ อีเมล และข้อความ

ผลวิจัยพบว่า ผู้ที่เข้ารับการฝึกสมาธิเป็นเวลา 8 สัปดาห์เท่านั้น ที่มีสมาธิดีขึ้น สามารถทำงานได้นานขึ้น และทำงานสลับไปมาได้ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

นี่เกี่ยวข้องกับการฝึกสมาธิ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการฝึกหายใจเข้าลึก ๆ หลาย ๆ ครั้ง จดจ่ออยู่กับทุกลมหายใจ เมื่อเริ่มรู้สึกว่าจิตใจของคุณเริ่มปล่อยวางได้แล้ว ให้ค่อย ๆ นำโฟกัสกลับมาที่การหายใจลึก ๆ อีกครั้ง นี่อาจดูเหมือนง่าย ๆ แต่คุณอาจพบว่ามันยากกว่าที่คิดไว้มาก แต่การฝึกการหายใจนี้เป็นสิ่งที่ฝึกได้ทุกที่ทุกเวลา ฝึกนาน ๆ เข้าคุณก็จะทำได้เอง

6. พักเบรกสั้น ๆ

ถ้าคุณพยายามจดจ่ออยู่กับสิ่งเดิม ๆ เป็นเวลานาน โฟกัสของคุณจะพังลงในไม่ช้า และการพยายามจะโฟกัสในช่วงเวลาต่อไปก็จะยากขึ้นเรื่อย ๆ และอาจกระทบกับงานที่กำลังทำอยู่ในท้ายที่สุด

นักวิจัยบางคนเชื่อว่าการพยายามนี้ดูจะสูญเปล่า มีแนวโน้มที่สมองคุณจะเพิกเฉยและไม่รับข้อมูลอะไรเข้าสมองอีกแล้ว ซึ่งนักวิจัยก็ยังได้พบอีกว่าการหยุดพักสั้น ๆ เปลี่ยนความสนใจไปที่อื่น สามารถปรับปรุงการโฟกัสได้มากทีเดียว ฉะนั้น หากต้องทำอะไรยาก ๆ เป็นเวลานาน อย่าลืมพักสมองบ้างเป็นครั้งคราว เบี่ยงเบนความสนใจไปยังสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่ แล้วคุณจะรู้ว่าช่วงเวลาสั้น ๆ สามารถดึงสมาธิของคุณให้กลับมาได้

7. อย่ายอมแพ้ ฝึกต่อไป

การจะฝึกตัวเองให้มีสมาธิจิตใจจดจ่ออยู่กับงานอย่างแข็งแกร่ง ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน ทุกอย่างต้องใช้เวลาในการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ เช่นเดียวกันกับนักกีฬามืออาชีพ ที่ก็ต้องใช้เวลาและการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสมาธิ

ขั้นแรกคุณต้องรับรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากคุณไม่ฝึกให้ตัวเองมีสมาธิ ต้องรู้ว่าการฟุ้งซ่านจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณอย่างไร เมื่อนั้น คุณจะรู้ว่าต้องเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จนในที่สุด มันจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ มีความสุข และพึงพอใจกับการทำงานอย่างแท้จริง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : 7 เทคนิคดี ๆ ฝึกพัฒนาการ “โฟกัสงาน” ให้ดีขึ้น