ปิดเมนู
หน้าแรก

6 พฤติกรรมที่บอกว่าคุณ “ติดเค็ม” เกินไป

เปิดอ่าน 30 views

6 พฤติกรรมที่บอกว่าคุณ “ติดเค็ม” เกินไป

Tonkit360

สนับสนุนเนื้อหา

ปกติแล้วร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมต่อวันเพียงแค่ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 2,400 มิลลิกรัมเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน คนกลับกินเค็มมากเป็น 3 เท่าตัว ซึ่งหากยังไม่หยุดพฤติกรรมการกินเค็มดังกล่าว ก็ย่อมนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในภายหลังได้ เช่น โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกเหนือจากนี้แล้วโทษจากการกินเค็มมาก ยังทำให้เกิดโรคหอบหืดชนิดรุนแรงขึ้นได้ ทั้งยังเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน รวมถึงโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้มากขึ้นอีกด้วย

เรามาดูกันดีกว่าว่า 6 นิสัยที่ของคนไทยที่ทำให้ติดการกินเค็มนั้นมีอะไรบ้าง

  1. ปรุงรสชาติอาหารโดยไม่ชิมก่อน

อาหารส่วนใหญ่จะผ่านการเติมซอสปรุงรส หรือผงปรุงรสมาแล้วแทบทั้งนั้น แต่คนไทยมักจะเรียกหาเครื่องปรุงเพื่อเติมแต่งรสชาติเพิ่มขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา น้ำตาล และน้ำส้มสายชู บางครั้งยังไม่ทันชิมก็ตักเครื่องปรุงลงไปตามความเคยชินแล้ว

  1. ชื่นชอบการกินอาหารแปรรูปมาก

ประเด็นนี้มาจากความเร่งรีบของวิถีชีวิต ทำให้ไม่มีเวลาสนใจในการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าหรือดีต่อสุขภาพ แต่เลือกอาหารที่เร็วและง่ายเพื่อประหยัดเวลา โดยเฉพาะอาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้นต่าง ๆ ซึ่งอาหารแปรรูปเหล่านี้มีโซเดียมจากกระบวนการถนอมอาหาร และมีโซเดียมแฝงเข้ามาอีก จากการเติมสารปรุงแต่งต่างๆ เพื่อได้ให้สี กลิ่น รส และสัมผัสที่ถูกใจผู้บริโภค จึงทำให้ได้โซเดียมคูณสองเข้าไปอีก

  1. จิ้มน้ำจิ้มไม่ยั้ง

เป็นอีกเรื่องที่ทำกันแบบแทบไม่รู้ตัว คือการราดน้ำจิ้มแบบเยอะๆ หรือจิ้มน้ำจิ้มแบบมากๆ แม้ว่าอาหารบางอย่างก็มีโซเดียมอยู่แล้ว พอจิ้มน้ำจิ้มเพิ่มเข้าไปก็ยิ่งได้รับโซเดียมเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งน้ำจิ้มถือเป็นปัจจัยหลักหนึ่งที่ทำให้คนไทยได้รับโซเดียมสูง

  1. ซดน้ำซุปแทบหมดชาม

อาหารกลุ่มก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สุกี้ต่างๆ รวมไปถึงน้ำแกง ทั้งที่มีกะทิและไม่มีกะทิ อย่างต้มยำ ต้มโคล้ง เป็นอาหารอีกประเภทที่คนไทยชอบรับประทาน และน้ำซุปที่อร่อยเข้มข้นก็ยิ่งทำให้ถูกปากถูกใจ นอกจากเส้นแล้วก็ซดน้ำแทบหมดชามเพราะซดแล้วอร่อย ซึ่งน้ำซุปแทบทุกชนิดมีการเติมซอสปรุงรส หรือผงปรุงรสต่างๆ ลงไป ซึ่งถือว่ามีโซเดียมปริมาณสูงมาก

  1. เสพติดการซดน้ำยำและน้ำจากส้มตำ

อาหารประเภทยำ ส้มตำ ถือเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยจำนวนมาก ยิ่งเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ยิ่งชอบ กินเพลิน ๆ ทั้งเนื้อทั้งน้ำจนหมดจาน สุดท้ายก็ได้โซเดียมเข้าร่างกายไปทั้งหมด ซึ่งน้ำยำน้ำส้มตำเหล่านี้ มีการเติมผงปรุงรสที่มีโซเดียมสูง โดยสารปรุงรสเหล่านี้มักไม่ค่อยเค็ม จึงต้องมีการเติมลงไปมาก เพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ ขณะที่ส้มตำหรือยำบางอย่าง มีการใส่ปลาร้าที่มีโซเดียมสูงอยู่แล้วเช่นกันลงไปด้วย ก็ยิ่งได้รับโซเดียมมากเกินไปใหญ่

  1. ชอบเติมน้ำปรุงรสให้อาหารเค็มเพิ่ม หรือเค็มไว้ก่อน

น้ำปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ 4 จตุรเทพที่คนไทยชอบกินเช่นกัน ซึ่งวิธีในการทำอาหารทั้ง 4 อย่าง โดยธรรมชาติของอาหารเหล่านี้มีโซเดียมผสมอยู่แล้ว และหากมีการปรุงรสเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะยิ่งได้โซเดียมจากสารปรุงรสเข้าไป

แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดอาหารรสเค็ม

  • ชิมรสชาติอาหารทุกครั้ง ก่อนที่จะปรุงอะไรเพิ่มลงไป เพื่อลดการได้รับความเค็มมากจนเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ
  • หันมาทำอาหารรับประทานเองสักวันละมื้อ เน้นซื้อของสดมาปรุงกับข้าวรับประทานเองบ้าง ก็จะช่วยลดการรับปริมาณโซเดียมลงไปได้ ที่สำคัญคือต้องคุมการปรุงรสชาติอาหารให้ได้ด้วย
  • ลดการใช้น้ำจิ้มลงหรือจิ้มเพียงเล็กน้อย ก็จะช่วยลดการรับโซเดียมลงไปได้อย่างมาก
  • ลดการซดน้ำซุปต่างๆ ลง เน้นรับประทานเฉพาะเส้นและเครื่องเคียง ก็สามารถช่วยลดปริมาณโซเดียมที่จะได้รับในแต่ละวันลงไปได้
  • บอกพ่อค้าแม่ค้าให้ลดการเติมผงชูรส ลดเค็มหรือทำอาหารให้มีรสเค็มน้อยๆ ก็สามารถช่วยลดโซเดียมลงได้
  • ลดความถี่ในการกินอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด เช่น ปลาร้า กะปิ หรือหากต้องกิน ก็ให้ลดการปรุงรสส่วนอื่นลง ซึ่งก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณโซเดียมได้เช่นกัน

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : 6 พฤติกรรมที่บอกว่าคุณ “ติดเค็ม” เกินไป