ปิดเมนู
หน้าแรก

ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต อะไรคือตัวการความอ้วนกันแน่

เปิดอ่าน 130 views

ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต อะไรคือตัวการความอ้วนกันแน่

Hello Khun Mor

สนับสนุนเนื้อหา

ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต เป็นอะไรที่เรารู้กันดีว่าถ้ากินเยอะก็ทำให้น้ำหนักขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดระบุว่า ไขมันคือตัวการร้ายที่ทำให้เราเป็นโรคอ้วนได้ โดยคาร์โบไฮเดรตไม่มีส่วนเลย และนี่คือรายละเอียด

ผลการศึกษาวิจัยบอกอะไรเราบ้าง

นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ศึกษาวิจัยกับหนูทดลองพบว่า การกินไขมันมากเกินไปจะทำให้เรามีปัญหาเรื่องความอ้วนได้ ในขณะที่คาร์โบไฮเดรต (รวมทั้งแคลอรี่ 30 เปอร์เซ็นต์ที่ได้จากน้ำตาลซูโครสไม่ได้ส่งผลกระทบในเรื่องนี้เลย นอกจากนี้อาหารที่มีทั้งไขมันและน้ำตาลนั้น ยังไม่ส่งผลให้เกิดไขมันในร่างกายมากกว่าการกินอาหารมันๆ เพียงอย่างเดียวด้วย

ส่วนในเรื่องของโปรตีน ทีมนักวิจัยบอกว่ายังมีหลักฐานที่บ่งบอกว่า ส่งผลกระทบต่อการกินสารอาหารประเภทอื่น หรือมีผลต่อปริมาณไขมันในร่างกาย แล้วทำไมการกินอาหารมันๆ ถึงนำไปสู่โรคอ้วนได้น่ะเหรอนักวิจัยเชื่อว่าไขมันคือตัวการทำให้สมองรู้สึกพึงพอใจ จึงกระตุ้นให้ร่างกายอยากกินอาหารที่มีแคลอรี่เยอะๆ ซึ่งนั่นคือต้นเหตุที่ทำให้น้ำหนักขึ้น แต่ข้อจำกัดของการทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็คือ นี่เป็นการศึกษาวิจัยที่ทำการหนูทดลอง ยังไม่ได้ทำการศึกษากับคนจริงๆ แต่อย่างไรก็ตาม หนูทดลองนั้นก็มีอะไรที่คล้ายมนุษย์อยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจิตวิทยาหรือระบบเผาผลาญ

อาหารที่มีไขมันสูง

ไขมันมีอยู่หลายประเภท บางอย่างก็ดี และบางอย่างก็ไม่ดี และนี่คือรายละเอียด

  • ไขมันทรานส์ เป็นอะไรที่ทำให้อาหารไม่เสียง่าย และมักพบในขนมเค้ก โดนัท และบิสกิต ซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า การกินไขมันทรานส์ไม่ว่าในระดับไหนก็ไม่มีความปลอดภัยทั้งนั้น
  • ไขมันอิ่มตัว พบมากในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งว่ากันว่าอาหารพวกนี้ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ เนื่องผลการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารพวกนี้จะทำให้มีคลอเรสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่า การไปโทษไขมันเพียงอย่างเดียวก็ไม่ถูก
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว พบมากนักน้ำมันมะกอก น้ำมันถั่ว และอะโวคาโด้ ซึ่งเป็นเครื่องประกอบสำคัญของอาหารเมดิเตอร์เรเนี่ยน ซึ่งอาหารพวกนี้ถือเป็นไขมันดี
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เป็นอะไรที่จำเป็นต้องการทำงานของร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ จึงต้องพึ่งจากแหล่งอาหารต่างๆ ซึ่งมักพบในน้ำมันข้าวโพด และน้ำมันดอกทานตะวัน

โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้งดกินไขมันทุกชนิด และใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว ซึ่งผู้ชายไม่ควรกินไขมันอิ่มตัวเกินวันละ 30 กรัม ในขณะที่ผู้หญิงไม่ควรกินไขมันอิ่มตัวเกินวันละ 20 กรัม และเด็กก็ควรให้น้อยที่สุด แต่แฮมเบอร์เกอร์โดยส่วนใหญ่จะมีไขมันอิ่มตัวอยู่ถึง 18 กรัมแล้ว

ต้นเหตุของความอ้วนจากเมื่อก่อนถึงตอนนี้

ในช่วงทศววรษ 1980 และ 1990 นั้น มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราน้ำหนักขึ้นนั้น ก็คือส่วนประกอบของไขมันในอาหารที่เรากินเข้าไป แต่พอวันเวลาผ่านมาถึงยุคมิลเลนเนียม ก็มีการบอกว่าการพุ่งเป้าไปที่ไขมันนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วน ก็คือคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี ซึ่งบทความในยุคนั้นต่างเขียนบอกเล่ากันใหญ่เลยว่า จริงๆ แล้วการกินไขมันอาจช่วยให้เราป้องกันโรคอ้วนได้ด้วยซ้ำไป และเมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ เป้าหมายการโจมตีก็เปลี่ยนมาที่โปรตีน โดยตั้งสมมติฐานว่าคนที่กินอาหารเข้าไปเพื่ออยากจะได้โปรตีนมากกว่าพลังงาน ฉะนั้น ถ้ากินโปรตีนเข้าไปไม่พอ ก็จะต้องทำให้กินอะไรมากขึ้นเพื่อเป็นการชดเชย เลยต้องมีแคลอรี่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

อาหารที่ดีต่อสุขภาพช่วยป้องกันโรคได้

มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ระบุว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพและรูปแบบการกินอาหาร สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ นอกจากนี้ก็อาจช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักขึ้นได้ด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • เลือกกินอาหารที่ผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุด โดยเลือกกินอาหารแบบเต็มส่วนและไม่ผ่านการขัดสี ผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง แหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพ (ปลา สัตว์ปีก ถั่วและน้ำมันจากพืช
  • จำกัดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี มันฝรั่ง เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านการแปรรูป และอาหารที่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุดิบ อย่างเช่น อาหารฟาสทต์ฟู้ด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต อะไรคือตัวการความอ้วนกันแน่