ปิดเมนู
หน้าแรก

โรค “กลัวที่แคบ” เกิดจากอะไร คุณกำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า ?

เปิดอ่าน 54 views

โรค “กลัวที่แคบ” เกิดจากอะไร คุณกำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า ?

Hello Khun Mor

สนับสนุนเนื้อหา

ทุกคนล้วนมีความกลัวอยู่ภายในจิตใจที่เก็บเป็นความลับเอาไว้ สำหรับบางคนอาจกลัวความมืดจนต้องเปิดไฟทั้งวันทั้งคืน บางคนมีอาการกลัวรูเพียงแค่เห็นภาพก็ชวนขนลุก รวมถึง โรคกลัวที่แคบ นี้ด้วย วันนี้ คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับโรคนี้ รวมถึงวิธีการรักษาให้หายขาดเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี

โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia) คืออะไร ?

เชื่อว่ายังคงมีอีกหลายคนที่กำลังตกอยู่ในอาการเดียวกันกับคุณ ไม่ต้องกังวลใจไปการกลัวที่แคบไม่ใช่โรคร้ายแรงหรือส่งผลอันตรายใด ๆ

โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)  คือ กลุ่มอาการวิตกกังวลผิดปกติเป็นโรคเฉพาะเจาะจงรายบุคคล เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกให้อยู่คนเดียวในบริเวณที่ปิดล้อม และในพื้นที่แออัด เช่น ห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรืออยู่ในลิฟต์ที่เต็มไปด้วยคนเยอะ ๆ ซึ่งส่งผลให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ หายใจไม่สะดวก หรือเริ่มมีอาการหงุดหงิด เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้

สาเหตุที่ทำให้คุณกลัวที่แคบคืออะไร ?

นักจิตวิทยาท่าหนึ่งคาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ อะมิกดะลา (amygdala) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมความรู้สึกกลัวหวาดระแวง และอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำในอดีตที่ทำให้สะเทือนต่อจิตใจของเรา

บางครั้งความกลัวที่แคบสามารถเริ่มต้นได้จากเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ทำให้ฝังใจ เนื่องจากตอนเราเยาว์วัยจิตใจของเรานั้นค่อนข้างอ่อนไหวง่ายต่อสิ่งรอบข้าง เช่น

  • การถูกกลั่นแกล้ง
  • การถูกกักขัง
  • อุบัติเหตุที่ทำให้เราจำเป็นต้องติดในที่แคบแห่งนั้น เช่น ลิฟต์ค้าง

และยังส่งผลให้คุณนั้นกลัวบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดเมื่อพบเห็น ไม่ว่าจะเป็น ลิฟต์ อุโมงค์ ตู้เสื้อผ้า รถไฟได้ดิน ห้องเล็ก ๆ เป็นต้น

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเสียขวัญเมื่อเข้าสู่ที่แคบ

  • เหงื่อออก
  • ตัวสั่น
  • อัตราการเต้นของหัวใจแรงขึ้น
  • ความดันโลหิตสูง
  • วิงเวียนศีรษะ และมึนหัว
  • ริมฝีปากซีดแห้ง
  • แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก
  • ท้องไส้ปั่นป่วน

อาการข้างต้นสามารถหายเองได้ ภายใน 5-30 นาทีสังเกตอาการของตนเองให้ถี่ถ้วนว่าอยู่ในภาวะที่รุนแรงหรือไม่ เพื่อรับการรักษาได้ทัน

วิธีรักษาให้หายขาด พร้อมเผชิญที่แคบได้อย่างสบาย

  1. เข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) : นักจิตวิทยาจะสอนให้คุณควบคุมอารมณ์ความรู้สึกและเปลี่ยนวิธีการคิดให้จากลบเป็นบวก การบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
  2. การบำบัดเชิงอารมณ์ด้วยเหตุและผล (REBT) : เป็นการบำบัดควบคู่กับ (CBT) ตามโปรแกรมการบำบัดของนักจิตวิทยา
  3. ผ่อนคลายผ่านการมองเห็น : หารูปภาพหรือออกไปอยู่ในพื้นที่ที่คุณรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อฟื้นฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น การมองรูปภาพหรือมองออกข้างนอกที่มีวิวทิวทัศน์กว้างขวาง
  4. การรับประทานยาตามที่จำหน่ายโดยแพทย์ : ยาแก้โรคซึมเศร้า

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : โรค “กลัวที่แคบ” เกิดจากอะไร คุณกำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า ?