ปิดเมนู
หน้าแรก

แว่นตา “เลนส์ตัดแสงสีฟ้า” จำเป็นหรือไม่?

เปิดอ่าน 47 views

แว่นตา “เลนส์ตัดแสงสีฟ้า” จำเป็นหรือไม่?

เวลาไปตัดแว่น นอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยวัดค่าสายตา เลือกแว่นให้เข้ากับใบหน้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่เรามักจะพบกับคำถามที่ว่า “จะใส่เลนส์ตัดแสงด้วยไหมคะ หรือจะเพิ่มเลนส์ตัดแสงสีฟ้าด้วยไหมคะ” แล้วแสงสีฟ้าคืออะไร มีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องเพิ่มออฟชั่นนี้ด้วย คุณชนิตา ตันเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแว่นตาจาก Chic Optical ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

แสงสว่างหรือแสง UV นั้น ช่วยทำให้เรามองเห็นได้ดีขึ้น ซึ่งถ้าปริมาณความสว่างไม่พอ จะส่งผลทำให้เรามองเห็นชัดได้น้อยลง ที่มาของแสงนอกจากดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติแล้ว พวกแหล่งกำเนิดแสงต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นก็สามารถให้แสงสว่างได้เหมือนกัน เช่นหลอดไฟ LED หน้าจอมือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ จอ TV จอโน๊ตบุ๊ค จอแทบเล็ต แม้สิ่งเหล่านี้มีผลดีให้ความสว่างกับเราได้ แต่รู้ไหมคะว่าในความสว่างนั้นยังมีความอันตรายจาก แสง UV ซ่อนอยู่โดยเฉพาะ ที่เราเรียกว่า “แสงสีฟ้า” 

แสงสีฟ้า คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

แสงสีฟ้าคือแสงที่เรามองเห็นอยู่ทุกๆ วัน ถือเป็นหนึ่งในสามของแสงขาวจากแสง UV สามารถมองเห็นได้และมีพลังงานสูง หรืออธิบายได้ดังนี้ว่าแสงทั้งหมดมี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง และแสงสีฟ้าหรือน้ำเงิน ซึ่งแต่ละสีมีความยาวคลื่นและพลังงานแตกต่างกัน แสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 nm โดยแสงสีฟ้าอยู่ที่ช่วงประมาณ 380-480 nm นั่นเอง

ซึ่งแสงสีฟ้าที่เราพบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือแสงสีฟ้าที่ดี และ แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ

  • แสงสีฟ้าที่ดีจะช่วยทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาช่วยทำให้เรากระฉับกระเฉง รู้ว่าเวลาไหนควรนอน เวลาไหนควรตื่น หรือแม้แต่บอกว่าเราควรกินตอนไหน ถ่ายตอนไหน เรียกง่ายๆ ว่า “นาฬิกาชีวิต” ที่ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกตินั่นเอง
  • แสงสีฟ้าที่เป็นโทษจะอยู่ในช่วงคลื่นที่  415-455 nm จะเป็นแสงที่ส่งผลเสียทำให้จอประสาทตาเราค่อยๆ เสื่อมลงได้ หากรับในปริมาณที่มากเกินไป แสงสีฟ้าส่งผลเสียโดยตรงกับดวงตา เพราะเป็นแสงที่เรามองเห็นได้ จึงสามารถทะลุผ่านเลนส์ตาและกระจกตาเข้าไปถึงจอประสาทตาได้ หากได้รับเป็นเวลานานจะส่งผลทำให้มีอาการดังนี้ได้
    – อาการตาล้า เพราะแสงสีฟ้าที่เราจ้องมองอยู่มีความสว่างมากทำให้ดวงตาต้องทำงานอย่างหนัก 
    – อาการตาแห้ง เพราะอุปกรณ์ที่เราจ้องมองส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กทำให้เราต้องจ้องมองมากกว่าปกติ
    – จอประสาทตาอาจเสื่อมได้ เนื่องจากแสงสีฟ้าสามารถทะลุเข้าไป และทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตาได้ และอาจเป็นปัจจัยสำคัญของการสูญเสียการมองเห็นได้นั่นเอง ดังนั้นจึงควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ หากปล่อยไว้นานอาจจะสายเกินไป 

แสงสีฟ้านั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นกลางแจ้งหรือในร่ม เราก็ยังเจอแสงสีฟ้าได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงสักแค่ไหน แต่ก็ยังหนีไม่พ้นอยู่ดี เพราะมนุษย์เรานำ LED มาผลิตเป็นแหล่งกำเนิดแสงนั่นเอง ทางที่ดีควรป้องกันให้ถูกวิธีจึงน่าจะดีที่สุด โดยเฉพาะคนที่ต้องจ้องอยู่หน้าจอเป็นเวลานานๆ ซึ่งในปัจจุบันมีเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันแสงสีฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอีกหลากหลายเลนส์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคน

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : แว่นตา “เลนส์ตัดแสงสีฟ้า” จำเป็นหรือไม่?