ปิดเมนู
หน้าแรก

แบบทดสอบ คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเสื่อม” อยู่หรือไม่?

เปิดอ่าน 119 views

แบบทดสอบ คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเสื่อม” อยู่หรือไม่?

Amarin

สนับสนุนเนื้อหา

นำแบบทดสอบง่ายๆ ว่า คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเสื่อม” อยู่หรือไม่? มาให้ลองทำกันก่อนที่จะอ่านบทความด้านล่างค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ก็ไปตอบคำถามกันเลย ใครตอบใช่มากกว่า 3 ข้อ ก็เตรียมอ่านต่อได้เลยนะ เพราะคุณอาจกำลังเสี่ยงโรคข้อเสื่อมได้

 

  1. คุณมีอาการปวดข้อมานานเกิน 6 สัปดาห์ (เดือนครึ่ง)
  2. อาการปวดของคุณ เริ่มมากจากการปวดเป็นข้อๆ เพียง 1-2 ข้อก่อน เช่นข้อเข่า ข้อศอก ข้อมือ ฯลฯ
  3. ระดับความปวดของคุณอยู่ที่น้อย ถึงปานกลาง และอาจปวดมากขึ้นเมื่อคุณต้องลงน้ำหนักที่บริเวณนั้น หรือใช้งานบริเวณนั้น
  4. คุณจะปวดน้อยลง หรือดีขึ้น เมื่อได้พักส่วนนั้นๆ
  5. คุณค่อยๆ ปวดในบริเวณนั้นๆ จากน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ ปวดมากขึ้นในเวลาช้าๆ ไม่ได้ปวดแบบกะทันหัน
  6. ตอนเช้าจะรู้สึกข้อฝืดตึง แต่จะมีอาการอยู่ไม่นาน (ไม่เกิน 30 นาที)
  7. เคยมีอาการเข่าพับ ขาอ่อนแรงขณะเดินๆ อยู่ดีๆ
  8. รอบข้อๆ ที่ปวด มีอาการบวมร่วมด้วยเล็กน้อย
  9. ปวดส่วนไหน ข้อของส่วนนั้นก็จะยืดตึงได้ไม่สุด เช่น กางขา กางแขนได้ไม่สุด หากมีอาการปวดข้อเข่า หรือข้อศอก
  10. มีเสียงดังกรอบแกรบเมื่อขยับอวัยวะนั้นๆ
  11. ข้อนิ้วโตขึ้น และแข็ง สวมหรือถอดแหวนได้ลำบาก

 

หากมีใครตอบว่า “ใช่” มากกว่า 3 ข้อ แสดงว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม หรืออักเสบ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม

– ผู้สูงอายุทั้งชาย และหญิง (โดยพบเป็นผู้หญิงมากกว่า) อายุ 50-60 ปี หรืออาจน้อยกว่านี้ก็ได้

– ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินมาตรฐาน

– ผู้มีโครงสร้างทางร่างกาย หรือข้อต่างๆ ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือหลังจากได้รับอุบัติเหตุหนักๆ

– ใช้งานร่างกายอย่างหักโหม

– เป็นผู้ที่มีกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง

 

วิธีลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อม

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง
  2. ทานอาหารให้เหมาะสม ให้ครบ 5 หมู่ และเสริมสร้างกระดูกด้วยอาหารที่มีวิตามินดี และแคลเซียม เช่น นม ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย
  3. ควบคุมน้ำหนักให้พอดี ไม่เกินมาตรฐาน
  4. หากมีอาการปวดตามข้อบ่อยๆ หรือนานๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนอาการจะเป็นหนัก

 

ปัจจุบัน ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอายุน้อยลงทุกที ไม่ได้จำกัดแต่วัยชราอีกต่อไป เพราะด้วยอาหารที่ทานอาจไม่มีสารอาหารที่ดีพอ น้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน หรือในบางคนที่มีความผิดปกติของร่างกายที่ทำให้กระดูกไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ก็มีส่วนทำให้มีความเสี่ยงในโรคนี้มากกว่าคนอื่น แต่ถึงอย่างไร การสังเกตตัวเอง และปรึกษาแพทย์ เป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : แบบทดสอบ คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเสื่อม” อยู่หรือไม่?