ปิดเมนู
หน้าแรก

แค่กินข้าวด้วยกัน เสี่ยง “โควิด-19” ได้อย่างไร?

เปิดอ่าน 19 views

แค่กินข้าวด้วยกัน เสี่ยง “โควิด-19” ได้อย่างไร?

ในช่วงโควิด-19 ที่ทุกคนรณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และรักษาระยะห่าง หรือ social distancing เป็นสามมาตรการที่ช่วยลดการระบาดของโรคติดต่อได้ดี แต่อาจมีคนสงสัยว่า การรักษาระยะห่างจำเป็นมากขนาดไหน ทำไมแค่กินข้าวด้วยกันถึงสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ มีคำตอบจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาฝาก

  • สัมผัสภาชนะร่วมกัน

ในกรณีที่คุณเดินเข้าร้านอาหารประเภทเดินไปตักเอง การหยิบจับสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อนตักอาหารในถาดอาหารบุฟเฟ่ต์ ช้อนตักน้ำแข็ง ฯลฯ นั่นก็สามารถติดเชื้อไวรัสได้แล้ว รวมถึงการสั่งอาหารรับประทานร่วมกัน การจับช้อนกลางคันเดียวกัน การหยิบแก้วมาเติมน้ำแข็งเติมเครื่องดื่มให้กัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เราสัมผัสสิ่งของร่วมกัน จึงแพร่เชื้อไวรัสได้

  • หันหน้าเข้าหากัน แพร่กระจายฝอยละอองน้ำลายให้กันได้

แม้ว่าจะสั่งอาหารจานเดียวกินกันคนละจาน แต่หากยังนั่งกินข้าวใกล้ๆ กัน นั่งหันหน้าเข้าหากัน ยังมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อไวรัสให้แก่กันได้ เพราะช่วงที่กินข้าวเป็นช่วงที่จำเป็นต้องเอาหน้ากากอนามัยออก และหากเคี้ยวข้าวเสียงดัง อ้าปากเคี้ยว พูดคุย หัวเราะ ไอ หรือจามขณะกินข้าว ก็มีโอกาสสูงที่จะแพร่เชื้อไวรัสให้คนรอบข้างได้

กินข้าวคนเดียวที่บ้าน ปลอดภัยที่สุด

ในช่วงนี้ หากมีความจำเป็นต้องกินข้าวที่ร้านอาหาร ควรรักษาความสะอาดให้มาก ล้างมือก่อนและหลังกินข้าว (หรือใช้เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือทุกครั้ง) งดการกินข้าวโดยใช้มือเปล่าสัมผัสอาหาร งดการสัมผัสภาชนะและอุปกรณ์รับประทานอาหารต่างๆ ร่วมกับคนอื่น นั่งกินข้าวคนเดียวต่อหนึ่งโต๊ะ หรือไม่นั่งหันหน้ากินข้าวร่วมกับใคร

วิธีที่ปลอดภัยที่สุด คือการกินข้าวคนเดียวที่บ้าน แต่ยังคงต้องล้างมือก่อนและหลังกินข้าว เพื่อลดการรับเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียต่างๆ

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : แค่กินข้าวด้วยกัน เสี่ยง “โควิด-19” ได้อย่างไร?