ปิดเมนู
หน้าแรก

อันตรายจาก “ผงชูรส” หากกินมากเกินไป เสี่ยงใจเต้น-อัมพาตชั่วคราว

เปิดอ่าน 60 views

อันตรายจาก “ผงชูรส” หากกินมากเกินไป เสี่ยงใจเต้น-อัมพาตชั่วคราว

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ

ผงชูรส” ไม่ใช่เครื่องปรุงที่อันตรายต่อร่างกายในแง่ของส่วนผสม เพราะอย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าผงชูรสแท้ผลิตด้วยการหมักกากน้ำตาลจากอ้อย หรือน้ำตาลจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติ แต่ผงชูรสก็มีผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ในกรณีที่คนกินมีอาการแพ้ หรือกินมากเกินไป

>> ผงชูรสไม่อั้น! แชร์ว่อนคลิปแม่ค้าส้มตำ เทเกือบหมดถุง ผู้โพสต์แจงตำครกใหญ่-หลายจาน

ทำไมคนถึงนิยมใส่ผงชูรสลงไปในอาหาร ?

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ความนิยมในการใส่ผงชูรสในอาหาร โดยเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยขึ้นนั้น ความจริงผงชูรสมีชื่อเรียกว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมต ซึ่งมีส่วนประกอบของโซเดียมด้วย ผงชูรสจะละลายไขมันให้ผสมกลมกลืนกับน้ำ ทำให้มีรสเหมือนน้ำต้มเนื้อและกระตุ้นปุ่มปลายประสาทของลิ้นกับคอทำให้อาหารมีรสหวานอร่อย


อันตรายจาก “ผงชูรส”

ในกรณีที่มีอาการแพ้ต่อผงชูรส หรือรับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสมากเกินไป อาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ดังนี้

  1. รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น หรือบริเวณใบหน้า และหู
  2. ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก
  3. หัวใจเต้นช้าลง
  4. หายใจไม่สะดวก
  5. ปวดท้อง
  6. คลื่นไส้ อาเจียน
  7. กระหายน้ำ
  8. วิงเวียนศีรษะ
  9. หากมีอาการแพ้มาก ๆ หัวใจอาจเต้นเร็วขึ้นผิดปกติ
  10. อาจอันตรายถึงขั้นเป็นอัมพาตชั่วคราวได้
  11. หญิงมีครรภ์อาจส่งอันตรายถึงลูกในครรภ์ได้

>> “ผงชูรส” ทำให้ผมร่วงจริงหรือ?

การป้องกันอันตรายจากผงชูรส

ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงร้านค้าที่ใส่ผงชูรสมากเกินไป และร้านค้าเองควรใส่ผงชูรสในปริมาณน้อย หรือทางที่ดีที่สุดคือการใช้น้ำซุปที่ต้มจากกระดูกสัตว์แทนการใส่ผงชูรส หรือผงปรุงรส นอกจากนี้การใส่เครื่องปรุงรสอื่น ๆ ก็ให้รสชาติกลมกล่อมได้อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ผงชูรสจำนวนมากเพื่อเพิ่มรสชาติแต่อย่างใด

>> 6 “ผงชูรส” จากธรรมชาติ อร่อยลิ้น โดยไม่อันตรายต่อร่างกาย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการซื้อผงชูรสไปทำอาหารที่บ้านเอง รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหาร ควรเลือกซื้อผงชูรสแท้ที่หีบห่อหรือกระป๋องบรรจุขอบผนึกต้องไม่มีรอยตำหนิ ฉลากพิมพ์เป็นตัวหนังสือภาษาไทยชัดเจน ไม่เลอะเลือน และต้องระบุชื่ออาหารแสดงคำว่า “ผงชูรส” ตลอดจน มีเลขทะเบียนตำรับอาหาร (อย.) ระบุชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต เดือนปีที่ผลิต รวมทั้งน้ำหนักสุทธิอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันผงชูรสปลอม

>> “ผงชูรส” ทานแบบไหน ปลอดภัย-เสี่ยงอันตราย

>> 3 ประโยชน์ของ “ผงชูรส” ที่คุณอาจไม่รู้

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : อันตรายจาก “ผงชูรส” หากกินมากเกินไป เสี่ยงใจเต้น-อัมพาตชั่วคราว