ปิดเมนู
หน้าแรก

สิวในหู เจ็บจริงเจ็บจัง..จะทำยังไงได้บ้าง?

เปิดอ่าน 49 views

สิวในหู เจ็บจริงเจ็บจัง..จะทำยังไงได้บ้าง?

Hello Khun Mor

สนับสนุนเนื้อหา

สิว ปัญหากวนใจของใครหลายๆ คน ซึ่งเกิดจากการอักเสบเรื้อรังและต่อมไขมัน ซึ่งทำให้เกิดตุ่มนูนเล็กๆ ขึ้นซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือสิวอุดตัน และสิวอักเสบ ส่วนมักขึ้นที่หน้า หลัง แต่บางครั้งสิวก็มักจะขึ้นในที่ที่ยากต่อการกำจัด อย่างเช่นในหู สิวในหู สร้างความเจ็บปวดให้เราเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังยากที่จะกำจัดอีกด้วย

สิว..ปัญหากวนใจพบได้กระทั่งในหู

สิวมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสิวที่เป็น สิวอุดตันเป็นประเภทของสิวที่เราพบได้บ่อยๆ สิวอุดตันหัวเปิดเรียกว่า สิวหัวดำ ซึ่งเกิดจากการที่สิวสัมผัสกับออกซิเจน ทำให้เกิดเป็นสีดำ สิวหัวดำที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือกำจัดออก สามารถอักเสบกลายเป็นตุ่มสีแดง มีหนอง และกดเจ็บ เรียกว่าสิวอักเสบ ซึ่งอาจจะลุกลามกลายเป็นสิวอักเสบขนาดที่ใหญ่ขึ้น เรียกกันว่าสิวหัวช้าง จริงๆ แล้วสิวสามารถขึ้นได้ทุกส่วนบนร่างกาย แต่พบมากที่สุดบนใบหน้าและแผ่นหลัง ส่วนหู ถึงแม้จะเป็นที่ซึ่งไม่พบบ่อย แต่ก็สามารถเกิดสิวได้เช่นกัน และยังเป็นสิวที่รบกวนคนเรามากที่สุด เพราะทั้งเจ็บปวดและก็รักษายากกว่าที่อื่นด้วย

ทำไมสิวถึงไปเกิดในหู

บริเวณหูชั้นนอกและช่องหูชั้นนอกของเรานั้น มีทั้งเซลล์ผิวหนัง เซลล์เส้นขน และต่อมน้ำเหลืองที่ผลิตน้ำมัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเกิดสิวได้เช่นเดียวกับบริเวณอื่นของร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว สิวเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนเกิดการอุดตัน จากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และจากน้ำมันธรรมชาติที่ปกติช่วยปกป้องผิวและให้ความชุ่มชื่น ผสมรวมกับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว สำหรับบริเวณหูของเรานั้น การเกิดสิวยังอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นอีกหลายอย่าง ได้แก่

  • ใช้หูฟังมีความสกปรก แชร์หูฟังกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจจะทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • ใช้สิ่งของที่สกปรกและไม่เหมาะการสำหรับแคะหู หรือใช้นิ้วแหย่หู
  • สัมผัสกับน้ำที่ไม่สะอาด ซึ่งน้ำเหล่านั้นเข้าไปในหูอาจเกิดโรคหูชั้นนอกอักเสบ
  • ระดับความเครียดเพิ่มขึ้น
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น ช่วงวัยรุ่น
  • ใช้อุปกรณ์เจาะหูที่สกปรกหรือติดเชื้อ
  • สวมหมวกหรือหมวกนิรภัยเป็นเวลานาน
  • มีอาการแพ้ยาสระผมหรือผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่เข้าไปในช่องหู

ทำอย่างไรกับสิวในหูได้บ้าง

หากสิวในหูไม่ได้ทำให้รู้สึกปวดมาก ก็ควรปล่อยให้หายไปเอง ควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องมือใดๆ รวมทั้งมือของตัวเอง เข้าไปแคะหรือกดสิวในหู เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้  นอกจากนี้การทำให้สิวในหูแตก อาจทำให้หนองจากสิวและแบคทีเรียถูกผลักเข้าไปในหูชั้นใน และอาจเกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อขึ้นมาได้ ในกรณีที่ต้องกดสิวในหู ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้แพทย์ทำการกดสิวออกให้เท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว การเยียวยาสิวที่หู ควรเลือกวิธีการเยียวยาที่อ่อนโยนที่สุด เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้าไปยังหูชั้นใน อย่างเช่น

  • ใช้แผ่นประคบร้อน ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบและระคายเคือง และเปิดรูขุมขน ทำให้สิวแตกออกมาได้เอง ในกรณีนี้ ควรให้แน่ใจว่าทำความสะอาดบริเวณสิว และสารคัดหลั่งที่ไหลออกมาจากสิวให้สะอาด ด้วยน้ำและสบู่อ่อนๆ หรือเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์หรือวิทช์ฮาเซิล
  • ใช้เรติโนอิด (retinoid) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มวิตามินเอ ที่จะช่วยในการผลัดเซลล์ผิวบริเวณรอบๆ สิว แต่ครีมชนิดนี้ก็อาจทำให้ผิวของเราแห้งลงหรือเกิดอาการลอกได้ เรติโนอิดอาจทำให้ผิวของเราบางลง และไวต่อการสัมผัสกับแสงแดดมากขึ้น จึงควรใช้ครีมกันแดดเสมอ ถ้าผิวของเราไม่สามารถทนกับเรติโนอิดได้ การใช้กรดซาลิไซลิก ซึ่งมีคุณสมบัติในการขัดลอกเซลล์ผิวเหมือนกัน แต่รุนแรงต่อผิวน้อยกว่า อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  • ใช้เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์  (Benzoyl Peroxide) ส่วนผสมชนิดนี้พบได้ในผลิตภัณฑ์รักษาสิวจำนวนมาก ควรใช้เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ที่มีความเข้มข้นระหว่าง 2.5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะการใช้เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในการรักษาสิว เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium Acnes ที่ทำให้เกิดสิว และยังช่วยในการสลายสิ่งที่อุดตันในรูขุมขนด้วย
  • ใช้น้ำมันทีทรี มีงานวิจัยที่ชี้ว่าน้ำมันทีทรี 5 เปอร์เซ็นต์ มีคุณสมบัติที่เทียบกันได้กับกับเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ แม้ว่าจะเห็นผลได้ช้ากว่า แต่ผิวก็สามารถทนกับน้ำมันทีทรีได้มากกว่า
  • ยาปฏิชีวนะ บางครั้ง แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะแบบที่ใช้ทาลงบนผิวให้ อย่างเช่นยาอิริโธรมัยซิน (erythromycin) หรือคลินด้ามัยซิน (clindamycin) โดยใช้ร่วมกับเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ การใช้เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล โดยการใช้ยา ควรปรึกษากับแพทย์ผิวหนังเป็นดีที่สุด

ป้องกันการเกิดสิวในหู

สิวในหูป้องกันได้จากการมีสุขอนามัยต่อช่องหูที่ดี รักษาความสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้

  • ควรล้างและทำความสะอาดหูเป็นประจำเพื่อลดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและความมัน
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในน้ำสกปรก
  • การหยุดพักจากการสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกนิรภัย
  • เมื่อสิวไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังในการตัดสินใจเลือกวิธีป้องกันที่ดีที่สุด หมอจะสามารถช่วยระบุระดับของสิวที่มี และแนะนำให้ใช้ยาหรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้สิวลุกลามได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : สิวในหู เจ็บจริงเจ็บจัง..จะทำยังไงได้บ้าง?