ปิดเมนู
หน้าแรก

ศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพิ่มความเสียงโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

เปิดอ่าน 408 views

ศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพิ่มความเสียงโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

ศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพิ่มความเสียงโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

Sanook! (Rewrite)

สนับสนุนเนื้อหา

องค์การอาหารและยา หรือ FDA ของสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้หญิงที่เข้ารับการผ่าตัดเสริมเต้านม มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงได้

ทั้งนี้ FDA ประกาศว่า ได้มีการค้นพบข้อมูลใหม่ว่า มะเร็งชนิดร้ายแรงที่เรียกว่า ALCL หรือ Anaplastic large Cell Lymphoma นั้นสามารถจะพัฒนาขึ้นมาได้หลังการเสริมเต้านม แต่ ALCL นั้น ไม่ใช่มะเร็งเต้านม แต่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ที่เกิดกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และมักจะเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อ รอบๆ บริเวณที่มีการใส่เต้านมเทียมเข้าไป ไม่ใช่มะเร็งเต้านม ซึ่งเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อของเต้านมเอง

นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2010 จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2017 ทาง FDA ได้รับรายงานตัวเลขของผู้ป่วยมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสริมเต้านม เป็นจำนวนมากกว่า 350 ราย และในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตเพราะมะเร็ง 9 ราย ผู้หญิงเหล่านี้ บางคนก็เป็นมะเร็งมาตั้งแต่ช่วงก่อนปี 1996

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงนั้นยังถือว่าต่ำอยู่ โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งจากเนเธอร์แลนด์ ได้ระบุว่า ในจำนวนผู้หญิง 1 ล้านคนที่เสริมเต้านม ในแต่ละปีนั้น มีเพียง 1-3 รายที่เป็นมะเร็ง ALCL  ส่วนในสหรัฐอเมริกา ผู้หญิง 1 ใน 500,000 คน เท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ALCL ในแต่ละปี

FDA ระบุเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลที่พบนี้ ถือเป็นการเตือน เกี่ยวกับการเสริมเต้านมของผู้หญิง ว่ามีโอกาสเพิ่มความเสี่ยง เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้เสริมเต้านม แม้จะมีการรายงานตัวเลขว่ายังเป็นความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ถือเป็นความเสี่ยง

นอกจากนี้ ในรายงานกล่าวว่า การเสริมเต้านมทำให้เป็นมะเร็งได้อย่างไรนั้น ยังระบุชัดเจนไม่ได้ แต่นักวิจัยเห็นว่า เป็นการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งก็ถือว่าเป็นขั้นแรกๆ ของการเกิดมะเร็งทุกชนิด และยังมีอีกแนวคิดหนึ่ง ที่บอกว่า เป็นเพราะแบคทีเรียที่เข้ามาอยู่ในบริเวณเต้านมเทียม ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามีปฏิกิริยาตอบโต้ และการเกิดมะเร็ง ALCL

 

นอกจากนี้ยังพบในผู้หญิงที่เลือกเสริมเต้านมด้วยวัสดุไม่เรียบ มากกว่าวัสดุที่เรียบ เนื่องจากร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแปลกปลอมที่มีความเรียบ และไม่เรียบแตกต่างกัน

สำหรับอายุของผู้เสริมเต้านม ที่เป็นมะเร็งนั้น มีตั้งแต่อายุ 25 ปี จนถึง 91 ปีเลยทีเดียว ดังนั้นใครที่คิดจะเสริมเต้านม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้ กับความเสี่ยงที่จะเกิด และควรพิจารณาหาข้อมูลในเรื่องของตัววัสดุที่จะเสริมเข้าไป ข้อดีข้อเสียของแบบพื้นผิวเรียบ และไม่เรียบ นอกจากนี้หากเลือกที่จะทำการผ่าตัด หลังเข้ารับบริการแล้ว ควรมาพบแพทย์ตามการนัดหมายเพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่องด้วย

ทาง FDA ย้ำอีกว่า มะเร็งที่พบนี้ เป็นชนิดร้ายแรง หากผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเสริมเต้านม รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บปวด บวม หรือพบว่าเต้านมมีลักษณะที่เปลี่ยนไป จะต้องรีบปรึกษาแพทย์

 
 

ขอขอบคุณ

ข้อมูล : Fox News

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพิ่มความเสียงโรคมะเร็งจริงหรือไม่?