ปิดเมนู
หน้าแรก

วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว

เปิดอ่าน 217 views

วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว

เมื่อถึงฤดูกาลของผลไม้สีเหลืองกลิ่นยั่วใจ คนที่ชื่นชอบการทานทุกเรียนจะต้องยอมจ่ายเงินซื้อทุเรียนกินทุกครั้งไป และบางคนอาจอยากรู้สึกลองปลูกทุเรียนดูบ้าง แต่หลายคนก็บอกว่าปลูกทุเรียนมันยาก มักไม่ค่อยรอด เรามีคำแนะนำการปลูกทุเรียนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นข้อมูลให้เบื้องต้น

พันธุ์ทุเรียน

ชะนี
ข้อดี

-ทนทานต่อโรครากเน่า โคนเน่าพอสมควร
-ออกดอกง่าย
-เนื้อแห้ง รสดี สีสวย

ข้อเสีย

-ออกดอกดกแต่ติดผลยาก
-เป็นไส้ซึมง่าย
-อ่อนแอต่อโรคใบติด

หมอนทอง

ข้อดี

-ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น
-ติดผลดีมาก น้ำหนักผลดี
-เนื้อมาก เมล็ดลีบ มีกลิ่นน้อย เนื้อละเอียดแห้ง ไม่เละ ผลสุกแล้วเก็บไว้ได้นาน
-ไม่ค่อยเป็นไส้ซึม

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า

ก้านยาว

ข้อดี

-ติดผลดี
-ราคาค่อนข้างดี
-น้ำหนักผลดี

ข้อเสีย

-ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค รากเน่า โดนเน่า
-เปลือกหนา
-เนื้อน้อย
-เป็นไส้ซึมค่อนข้างง่าย
-ผลสุกเก็บไว้ได้ไม่นาน กันผลแตกง่าย
-อายุการให้ผลช้า

กระดุม

ข้อดี

-ไม่มีปัญหาไส้ซึมเพราะเป็นพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวก่อนฝนตกชุก
-ออกดอกเร็วผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีในช่วงต้นฤดู
-ผลดก ติดผลง่าย
-อายุการให้ผลเร็ว

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโดนเน่า

 

การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียนควรคำนึงถึง

1.แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดปี

2.อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30   องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85%  ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้งมีอากาศร้อนจัดเย็นจัดและมีลมแรงจะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้า ให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน

3. สภาพดินควรเป็นดินร่วนดินร่วนปนทรายดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายนํ้าดีและมีหน้าดินลึกเพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพนํ้าขังความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ถ้าจําเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทรายจําเป็นต้องนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมต้องใส่ปุ๋ยคอกและต้องดูแลเรื่องการให้นํ้ามากเป็นพิเศษแหล่งนํ้าต้องเพียงพอ

การปลูก

 

ฤดูปลูก ถ้ามีการจัดระบบการให้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพสามารถดูแลให้นํ้ากับต้นทุเรียนได้สมํ่าเสมอช่วงหลังปลูกควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนแต่ถ้าหากจัดระบบนํ้าไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องนํ้าได้ควรปลูกต้นฤดูฝนเตรียมพื้นที่การปลูกทุเรียน

1. ไถขุดตอขุดรากไม้เก่าออกจากแปลง
– พื้นที่ดอนไม่มีปัญหานํ้าทวมขัง : ไถกําจัดวัชพืชอย่างเดียว
– พื้นที่ดอนมีแอ่งที่ลุ่มนํ้าขัง : ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
– พื้นที่ลุ่มหรือตํ่ามีนํ้าท่วมขัง : ทําทางระบายนํ้าหรือยกร่อง

2. กําหนดระยะปลูก
ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวด้านละ  9  เมตรปลูกได้ไร่ละ  20  ต้นการทําสวนขนาดใหญ่ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนําเครื่องจักรกลต่างๆไปทํางานในระหว่างแถว          
3. วางแนวและปักไม้ตามระยะปลูกที่กําหนด
วางแนวกําหนดแถวปลูกโดยคํานึงว่าแนวปลูกขวางความลาดเทของพื้นที่หรืออาจกําหนดในแนวตั้งฉากกับถนนหรือกําหนดแถวปลูกไปในแนวทิศตะวันออกตะวันตกและถ้ามีการจัดวางระบบนํ้าต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนด้วยจากนั้นจึงปักไม้ตามระยะที่กําหนดเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไปวิธีการปลูกทุเรียนทําได้ 2 ลักษณะ

1. วิธีการขุดหลุมปลูกเหมาะกับสวนที่ไม่มีการวางระบบนํ้า
2. วิธีการปลูกแบบไม่ขุดหลุมเหมาะกับสวนที่จัดวางระบบนํ้ามีข้อดีคือประหยัดแรงงานค่าใช้จ่ายในการขุดหลุมดินระบายนํ้าและอากาศดีรากเจริญเร็ว

การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก

1. ขุดหลุมมีขนาดกว้างยาวและลึกด้านละ 50 เซนติเมตร          

2. ผสมปุ๋ยคอกเก่าประมาณ 5 กิโลกรัมและปุ๋ยหินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมากลบกลับคืนไปในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

3. เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ไม่เป็นโรคไม่มีแมลงทําลายและมีใบยอดคู่สุดท้ายแก้ระบบรากแผ่กระจายดีไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง

4. ใช้มีดกรีดก้นถุงออกถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก          

5. วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ววางลงตรงกลางหลุมจัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆ พร้อมทั้งปรับระดับสูงตํ่าของต้นทุเรียนให้รอยต่อระหว่างรากกับลําต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย    

      

6. ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน          

7. ดึงถุงพลาสติกออกระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก          

8. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ

9. ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้วพร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก

10. กดดินบริเวณโคนต้นหาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดนํ้าตามให้โชก

11. จัดทําร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูกโดยใช้ทางมะพร้าวทางจากแผงหญ้าคาทางระกําหรือตาข่ายพรางแสงเมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออกหรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงาเช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห่งและมีแสงแดดจัด

12. แกะผ่าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ1-2 เดือน

การปลูกทุเรียนแบบไม่ขุดหลุม

1. โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต  500  กรัมหรือประมาณหนึ่งกระป๋องนมครึ่งตรงตําแหน่งที่ต้องการปลูกกลบดินบางๆ          

2. นําต้นพันธุ์มาวางแล้วถากดินข้างๆ ขึ้นมาพูนกลบแต่ถ้าหากเป็นดินร่วนปนทรายดินทรายดินจะไม่เกาะตัวกันควรใช้วิธีขุดหลุมปลูกหรือจะใช้วิธีดัดแปลง           

3. วิธีดัดแปลงคือนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมากองตรงตําแหน่งที่จะปลูกกองดินควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1เมตรสูง15 เซนติเมตรแหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่องที่แหวกไว้กลบดินบางๆ วางต้นพันธุ์ดีลงตรงช่องที่แหวกไว้กลบดินทับ

4. การแกะถุงออกต้องระมัดระวังอย่าให้ดินแตกอาจทําได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อนแล้วนําไปวางในตําแหน่งที่ปลูกกรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบนแล้วจึงค่อยๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบาๆ     

5. ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ          

6. หาวัสดุคลุมโคนและจัดทําร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือนการปลูกโดยวิธีขุดหลุม

การปฏิบัติดูแลรักษาทุเรียน

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงก่อนให้ผลผลิต

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําใหญ่ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

1.ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิตในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด          

2. เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูกให้ทําการปลูกซ่อม          

3. การให้นํ้าช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝนถ้ามีฝนตกหนักควรทําทางระบายนํ้าและตรวจดูบริเวณหลุมปลูกถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีนํ้าขังต้องพูนดินเพิ่มถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดนํ้าให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอในปีต่อๆไปควรดูแลรดนํ้าให้ต้นไม้ผลอย่างสมํ่าเสมอและในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินเช่นฟางข้าวหญ้าแห้ง          

4. การตัดแต่งกิ่ง
ปีที่1-2 ไม่ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ปีต่อๆ ไปตัดแต่งกิ่งแห้งกิ่งแขนงกิ่งกระโดงในทรงพุ่มกิ่งเป็นโรคออกเลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสมโดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร 

         

5. การป้องกันกําจัด
ชวงแตกใบอ่อน : ควรป้องกันกําจัดโรคใบติดเพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟไรแดงช่วงฤดูฝน:ป้องกันกําจัดโรครากเน่าโคนเน่าและควบคุมวัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกําจัดโดยใช้แรงงานขุดถากถอนตัดพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่ละอองสารเคมีอาจจะไปทําลายต้นทุเรียน          

6. การทําร่มเงา
ในช่วงฤดูแล้งแสงแดดจัดมากทําให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควรทําร่มเงาให้          

7. การใส่ปุ๋ยควรทําดังนี้
– ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง-
– ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทําโคน คือถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มหว่านปุ๋ยและพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่มให้มีลักษณะเป็นหลังเต่า และขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรงพุ่มหรือจะใส่ปุ๋ยโดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุมเป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหยหรือถูกนํ้าชะพา
– หว่านปุ๋ยคอกก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี
– ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบและให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30เซนติเมตรขึ้นไปขึ้นกับขนาดทรงพ่มปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ย
ปีที่1 :  ใส่ปุ๋ยและทําโคน 4 ครั้ง (เดือนเว้นเดือน)
ครั้งที่1-3 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)
ครั้งที่ 4 – ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)

– ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ประมาณ150-200 กรัมต่อต้น (ครึ่งกระป๋องนมข้น)ปีต่อๆไป(ระยะที่ทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต):ใส่ปุ๋ยและทําโคน 2 ครั้ง (ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน)ครั้งที่1 (ต้นฝน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นครั้งที่ 2 (ปลายฝน) ใส่ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16   ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใส่ในแต่ละครั้งขึ้นกับขนาดของทรงพุ่มโดยยึดหลักว่าวัดจากโคนต้นมายังชายพุ่มเป็นเมตรได้เท่าไรคือจํานวนปุ๋ยเคมีที่ใส่เป็นกิโลกรัมเช่นระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม1เมตรใส่ปุ๋ย1กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรครึ่งใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมครึ่ง

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลแล้ว

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ทุเรียนออกดอกติดผลมากและให้ผลผลิตคุณภาพดีการเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอกคือการเตรียมให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์มีอาหารสะสมเพียงพอเมื่อทุเรียนมีใบแก่ทั้งต้นและสภาพแวดล้อมเหมาะสมฝนแล้งดินมีความชื้นตํ่าอากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอกขั้นตอนต่างๆ จะต้องรีบดําเนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตดังนี้

1. การตัดแต่งกิ่ง
หลังเก็บเกี่ยวให้รีบตัดแตงกิ่งแห้งกิ่งเป็นโรคกิ่งแขนงด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็วทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหรือปูนแดงกินกับหมาก          
2. หลังตัดแต่งกิ่งให้กําจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที          
– ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)
 – ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ในอัตรา 3-5 กก. ต่อต้น (ทุเรียนต้นที่ขาดความสมบูรณ์ต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนต้นที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้วทุเรียนต้นที่ให้ผลผลิตไปมากต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนที่ให้ผลผลิตน้อย)

3. ในช่วงฤดูฝน          

-ถ้าฝนตกหนักจัดการระบายนํ้าออกจากแปลงปลูก          

– ถ้าฝนทิ้งช่วงให้รดนํ้าแก่ต้นทุเรียน          

– ควบคุมวัชพืชโดยการตัดและหรือใช้สารเคมี          

– ป้องกันกําจัดโรคแมลงเช่นโรครากเน่าโคนเน่าโรคใบติดโรคแอนแทรกโนสเพลี้ยไก่แจ ไรแดงและเพลี้ยไฟ         
 

4. ในช่วงปลายฤดูฝน         

-เมื่อฝนทิ้งช่วงใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 9-24-24  หรือ12-24-12 2-3 กก.ต่อต้นเพื่อช่วยในการออกดอก          

– ให้กําจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มกวาดเศษหญ้าและใบทุเรียนออกจากโคนต้นเพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น

-งดการให้นํ้า 10-14 วันเมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มลดลงต้องเริ่มให้นํ้าทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อยให้ขาดนํ้านานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญและระวังอย่าให้นํ้ามากเกินไปเพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้วิธีให้นํ้าที่เหมาะสมคือให้นํ้าแบบโชยๆ แล้วเว้นระยะสังเกตอาการของใบและดอกเมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้วก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อยๆจนสู่สภาวะปกติ

เอกสารประกอบการเรียบเรียง

1. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคกลาง, 2534, เอกสารวิชาการการบริหารศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสาน. ชัยนาท. หน้า1/1-1/21.
2. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก, 2534, ทุเรียนภาคตะวันออก. ระยอง. 118หนา.
3. สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดระยองและสํานักงานเกษตรจังหวัดระยอง,2536, บันทึกชาวสวนผลไม้, ระยอง. 102 หน้า.
4. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2533, ปัจจัยและเทคนิคการเพิ่มการติดผลในทุเรียน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ. วันที่ 27 ธันวาคม2533. 39 หน้า.
5. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2534, ปัจจัยและการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของทุเรียน.เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่ 9มกราคม 2534. 26 หน้า.
6. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2534, การเตรียมสภาพต้นเพื่อการชักนําให้ออกดอก. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่13 มิถุนายน2534. 16 หน้า.
7. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2536. เอกสารวิชาการพัฒนาการใช้สารคัลทาร์กับการผลิตทุเรียนก่อนฤดู. กรมวิชาการเกษตร,30 หน้า.8. หิรัญหิรัญประดิษฐ์และคณะ, 2536. เทคนิคการผลิตทุเรียนก่อนฤดู, วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่ 23 ฉบับที่ 67 มิถุนายน 2536. หน้า 2-9.

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว