ปิดเมนู
หน้าแรก

ยาเลื่อนประจำเดือน อันตรายหรือไม่?

เปิดอ่าน 211 views

ยาเลื่อนประจำเดือน อันตรายหรือไม่?

ยาเลื่อนประจำเดือน อันตรายหรือไม่? เกี่ยวกับ ยาเลื่อนประจำเดือน

 

“เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก” ประโยคนี้ผู้หญิงด้วยกันเท่านั้นถึงจะทราบความหมายเป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน ช่วงที่ผู้หญิงหลายคนมีอาการปวดท้องจนต้องลางาน นอนขนเป็นกุ้ง หรืออย่างน้อยก็ทำให้เสียโอกาสในการทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะความรู้สึกไม่คล่องตัว ยาเลื่อนประจำเดือนจึงเป็นตัวเลือกของสาวๆ หลายคนที่อยากจะช่วงเวลาสำคัญนั้นๆ ปราศจากอุปสรรคไปได้ด้วยดี แต่การทานยาเลื่อนประจำเดือนจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นปกติดีหรือไม่ ส่งผลค้างเขียงอะไรหรือไม่ เราค่อยๆ มาศึกษาไปพร้อมกันเลย

 

ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร?

ฮอร์โมนที่ควบคุมการการสร้าง การหลุดลอกของเยื่อบุมดลูก คือฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ระหว่างที่เยื่อบุมดลูกก่อตัวขึ้นในช่วงที่ใกล้มีรอบเดือน หากไม่มีการปฏิสนธิกันฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะค่อยๆ ลดลง ทำให้ผนังเยื่อบุมดลูกค่อยๆ หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

ในตัวของยาเลื่อนประจำเดือน มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสโตเจน เมื่อฮอร์โมนนี้ไม่ลดลง ก็จะช่วยยืดเวลาให้ผนังมดลูกยังไม่หลุดลอกออกมา รอบเดือนก็จะช้าออกไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์

 

ยาเลื่อนประจำเดือน ปลอดภัยหรือไม่?

เหตุผลที่หลายๆ คนเลือกใช้ยาเลื่อนประจำเดือน มีตั้งแต่การอยากเลื่อนให้ข้ามช่วงเวลาสำคัญในชีวิตไป เช่น วันที่ต้องท่องเที่ยวหนักๆ ทำกิจกรรมหนักๆ วันสำคัญอย่างวันแต่งงาน วันสอบ เป็นต้น แต่บางคนก็ใช้ยาเลื่อนประจำเดือนเพื่อการคุมกำเนิดแทนการใช้ยาคุม หากใช้บางเป็นบางครั้งบางคราวอาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายอะไร เว้นแต่ในบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน คัดเต้านม หรือปวดศีรษะ  แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นประจำนานๆ อาจทำให้เกิดอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย รอบเดือนแปรปรวนไม่คงที่เหมือนเช่นเคยได้

 

ใช้ยาเลื่อนประจำเดือนอย่างไรให้ปลอดภัย?

  1. ทานยาวันละ 2 เม็ด ตอนเช้าและตอนเย็นติดต่อกันในขนาดที่กำหนด ต้องทานยาล่วงหน้าก่อนวันที่คาดคะเนว่าจะมีประจำเดือนราว 4-5 วัน หรือ 1 สัปดาห์ หากทานก่อนวันที่จะมีประจำเดือนเพียง 1-2 วัน อาจจะเลื่อนรอบเดือนออกไปไม่ทัน หลังหยุดยาประจำเดือนจะมาในอีก 2-3 วันถัดไป
  2. หลีกเลี่ยงการทานยาเลื่อนประจำเดือนเป็นเวลานาน ไม่ควรเกิน 10-14 วัน
  3. หลีกเลี่ยงการทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เพราะจะทำให้การดูดซึมตัวยาลดลง ประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงตามไปด้วย อาจทำให้การเลื่อนประจำเดือนไม่ได้ผล
  4. แม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ใช้ยาเลื่อนประจำเดือนจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% ดังนั้นหากอยากใช้ยาเลื่อนประจำเดือนเพื่อการคุมกำเนิด แนะนำถุงยางอนามัย หรือยาคุมกำเนิดโดยตรงจะดีกว่า

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ยาเลื่อนประจำเดือน อันตรายหรือไม่?