ปิดเมนู
หน้าแรก

“ฝี” เกิดจากอะไร ? ทำไมถึงห้าม “บีบ” เอง ?

เปิดอ่าน 42 views

“ฝี” เกิดจากอะไร ? ทำไมถึงห้าม “บีบ” เอง ?

มีใครเคยเป็น “ฝี” กันบ้างไหมเอ่ย ? ใครที่ยกมืออาจจะเข้าใจประสบการณ์การความทรมานที่เคยเป็นฝีได้ดี ตุ่ม ๆ กดแล้วเจ็บ เหมือนสิวแต่ไม่ใช่สิว และที่สำคัญ หากมีหนองขึ้นมายิ่งเจ็บ ยิ่งหายยาก หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นสิวขนาดใหญ่ และลงมือบีบหนองเอง แต่อันที่จริงแล้วหากเป็นฝี ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีจะดีที่สุด เพราะการรักษาเองโดยไม่ถูกวิธี เสี่ยงอักเสบ เป็นแผลใหญ่ และอาการหนักรักษายากกว่าเดิม

 
ทำไมเราถึงเป็น “ฝี” ?

ฝี เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อร่างกายสกปรก อ่อนแอ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียง่าย นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็เสี่ยงเป็นฝีได้มากกว่าคนปกติ โดยฝีมักเกิดขึ้นบริเวณที่เกิดแบคทีเรียได้ง่าย เช่น บริเวณที่เป็นจุดอับชื้นต่าง ๆ

>> ฝี กับ สิว ต่างกันอย่างไร? มีวิธีรักษาฝีอย่างไร?

 
รักษา “ฝี” อย่างไร ถึงจะปลอดภัย ?

ตามปกติแล้วฝีสามารถแตกตัวได้เอง อาการก็จะทุเลาลง หากใครที่มีฝีอยู่ ควรดูแลให้ถูกวิธี ดังนี้

  1. ประคบฝีด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น ครั้งละ 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง การประคบฝีด้วยน้ำอุ่น จะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่เกิดฝีไหลเวียนได้ดีขึ้น ฝีจะแตกเองได้ง่ายขึ้น
  2. หมั่นล้างมือของตัวเองให้สะอาด หากนำมือของตัวเองที่ไม่สะอาดไปสัมผัสกับฝี อาจทำให้ฝีติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าเดิม และอาจยังเป็นการแพร่เชื้อแบคทีเรียไปยังผู้อื่นได้อีกด้วย
  3. อย่าบีบ เค้น หรือเจาะฝีที่ยังไม่สุก (ไม่มีหัวหนอง) เพราะเชื้อโรคอาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงได้
  4. ฝีควรจะมีอาการที่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ หากยังไม่ดีขึ้น มีขนาดใหญ่ผิดปกติ หรือเผลอบีบฝีไปเองแล้ว ควรพบแพทย์เพื่อทำความสะอาด และทำการรักษาฝีให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการเป็นซ้ำซาก

>> “ฝีในอวัยวะเพศ” กับสาเหตุของโรค พร้อมการรักษา และวิธีป้องกัน

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : “ฝี” เกิดจากอะไร ? ทำไมถึงห้าม “บีบ” เอง ?