ปิดเมนู
หน้าแรก

“ปวยเล้ง” ผักดีมีประโยชน์ แต่มีอันตรายแอบแฝง

เปิดอ่าน 400 views

“ปวยเล้ง” ผักดีมีประโยชน์ แต่มีอันตรายแอบแฝง

“ปวยเล้ง” ผักดีมีประโยชน์ แต่มีอันตรายแอบแฝง เกี่ยวกับ ปวยเล้ง

 

ปวยเล้ง (Spinach) หรือที่ใครหลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นผักโขม (Amaranth) เป็นอีกหนึ่งผักดีมีประโยชน์ที่ชาวไทย รวมถึงชาวต่างชาตินิยมรับประทานกันมาอย่างยาวนาน (ผักตัวจริงที่ให้พลังงานแก่ป็อปอาย คือผักปวยเล้งนี่แหละ หาใช่ผักโขมไม่) เพราะปวยเล้งมีวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายเยอะ หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพง และรสชาติดี จึงทำให้ปวยเล้งถูกดัดแปลงไปทำเป็นเมนูอาหารได้อย่างหลากหลายทั้งอาหารตะวันตก และตะวันออก

 

ประโยชน์ของปวยเล้ง

ปวยเล้งมีทั้งธาตุเหล็กบำรุงเลือด แคลเซียมบำรุงกระดูก โพแทสเซียมที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด มีวิตามินซีป้องกันหวัด วิตามินบี 2 ช่วยในการเจริญเติบโต บำรุงเล็บ ผิวหนัง ผม มีกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อการสร้างสารที่ให้ความสุขอย่างซีโรโทนิน ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ไม่ให้หงุดหงิดงุ่นง่าน รวมถึงช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้ ช่วยบำรุงสายตา กระดูก และผิวพรรณ

มีงานวิจัยว่า ปวยเล้ง ช่วยบำรุงสมอง ลดโอกาสในการเกิดโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ และยังช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

 

ปวยเล้ง อร่อยดี มีประโยชน์ แต่แฝงโทษเอาไว้ด้วย

 

แม้ว่าปวยเล้งจะมีประโยชน์มากมาย แต่ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ หรือโรคนิ่ว อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการทานปวยเล้ง หรือควบคุมการทานไม่ให้มากเกินไป เพราะปวยเล้งมีกรดออกซาลิคอยู่มากพอสมควร ซึ่งเมื่อรวมตัวกับแคลเซียม ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วได้ และอาจทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก และโฟเลตได้น้อยลง นอกจากนี้ยังมีกรดยูริกหรือทำให้อาการของโรคเกาต์แย่ลงได้

 

ทานปวยเล้งอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด

เพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม และโฟเลตได้มากขึ้น ควรทานปวยเล้งกับผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น ฝรั่ง มะเขือเทศสด ส้ม และเพื่อลดกรดออกซาลิก จึงควรนำมาลวกน้ำทิ้งก่อน 1 ครั้ง ก่อนนำมาปรุงอาหารต่อ โดยวิธีนี้สามารถลดปริมาณกรดออกซาลิกได้มากถึง 80% เลยทีเดียว

 

วิธีเลือกซื้อปวยเล้ง

เราควรเลือกซื้อปวยเล้งที่มีก้านสีเขียวอ่อน และใบสีเขียวเข้ม วิธีที่นิยมนำมาทานกันอยู่บ่อยๆ คือการนำมาลวกแล้วใส่ลงไปในผักสลัด นำไปต้มในแกงจืด นำไปผัดกับไข่ หรือเนื้อสัตว์ หรือแม้กระทั่งนำไปทำเป็นไส้ในขนมอบต่างๆ เช่น พาย คีช เป็นต้น ส่วนปวยเล้งที่ทานไม่หมด ควรล้างและเก็บในถุง หรือกล่องเก็บอาหาร แล้วเอาเข้าตู้เย็น แต่ไม่ควรเก็บนานเกินไปจนใบเหี่ยวเฉา หรือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ทางที่ดีควรรีบทาทานให้หมดภายใน 2-3 วัน

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : “ปวยเล้ง” ผักดีมีประโยชน์ แต่มีอันตรายแอบแฝง