ปิดเมนู
หน้าแรก

ปวดท้องแบบไหน? เสี่ยง “ถุงน้ำรังไข่”

เปิดอ่าน 132 views

ปวดท้องแบบไหน? เสี่ยง “ถุงน้ำรังไข่”

“ปวดท้องประจำเดือนเหรอ ระวังเป็นซีสต์นะ” เราอาจจะเคยได้ยินคนรอบข้างเตือนแบบนี้กันมาใช่ไหมคะ แต่เราเองไม่เคยได้ยินหรือสนใจเรื่องนี้เลย จนกระทั่งมันเกิดกับเราเองจริงๆ ในวันหนึ่งที่นอนอยู่ จู่ๆ ก็ตื่นขึ้นมาตอนตีสี่กว่าๆ ปวดท้องเหมือนอย่างที่เคยปวดๆ หายๆ มาหลายเดือน (ซึ่งตอนนั้นคิดไปเองว่าปวดท้องกระเพาะอาหารอักเสบมั้ง เพราะทานอาหารไม่เป็นเวลา) แต่คืนนั้นไม่ธรรมดา เพราะปวดมากและไม่มีทีท่าว่าจะธุเลาลง เลยไปโรงพยาบาล

หมอถามว่าปวดท้องตรงไหน เราบอกว่าซ้ายล่าง หมอกดๆ ดูแล้วบอกว่า น่าจะเป็นซีสต์ ตอนนั้นงงไปหมดว่าซีสต์คืออะไร (ตอนนั้นอายุ 23 ปี เพิ่งทำงานปีแรก) จากนั้นเพียงแค่ตรวจเลือด และปัสสาวะไม่กี่นาที หมอก็วินิจฉัยได้เลยว่าเราเป็นซีสต์ที่บริเวณแถวๆ มดลูก อัลตร้าซาวนด์ปรากฏว่าเป็น ถุงน้ำรังไข่นี่แหละ

 

ถุงน้ำรังไข่ คืออะไร?

ถุงน้ำรังไข่ เป็นเนื้อเยื่อที่สร้างเป็นถุง ภายในมีของเหลว อยู่ด้านบน หรือข้างในรังไข่ ถ้าถามว่าถุงน้ำที่ว่านี้คือซีสต์ใช่ไหม คงต้องตอบว่าใช่ เพราะเป็นซีสต์ชนิดหนึ่ง แต่ถุงน้ำรังไข่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซีสต์ที่อันตรายต่อร่างกายเสมอไป

 

ประเภทของถุงน้ำรังไข่

– ถุงน้ำรังไข่ธรรรมดาๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานของรอบเดือน มักไม่เป็นอันตรายอะไร เป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานของรอบเดือนตามปกติของผู้หญิง และจะยุบหายไปได้เองในระยะเวลา 60 วัน

– ถุงน้ำที่ภายในถุงไม่ได้มีแค่ของเหลว แต่เพราะเป็นถุงน้ำที่เกิดจากเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ในมนุษย์ ภายในถุงน้ำนั้นจึงอาจมีเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น เส้นผม ผิวหนัง หรือฟัน

– ถุงน้ำที่เกิดขึ้นจากเนื่อเยื่อของรังไข่ มีสารน้ำใสๆ หรือเมือกอยู่ภายในถุงน้ำ สามารถโตจนมีขนาดใหญ่ขึ้นได้

– ถุงน้ำที่เกิดจากถุงน้ำหลายๆ ถุง ภายในมีของเหลวสีเหลืองข้นเหนียวหนืด

– ถุงน้ำช็อคโกแลต ภายในมีของเหลวสีน้ำตาลเข้ม และข้นคล้ายช็อคโกแลต

– ถุงน้ำที่เกิดขึ้นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โดยมีการเจริญเติบโตเกิดขึ้นที่รังไข่

– ถุงน้ำที่มีส่วนประกอบภายในเป็นเนื้อยุ่ยๆ มีเลือดออกภายในก้อน ซึ่งถุงน้ำรังไข่ชนิดนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง

 

หากปล่อยให้ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ถุงน้ำอาจบิดตัว หรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม เมื่อถุงน้ำบิดตัว ขั้วของถุงน้ำก็จะบิดจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนผ่านได้เหมือนเดิม เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่บิดขั้ว ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องเนื่องจากถุงน้ำจะเริ่มอักเสบ และต้องเข้ารับการผ่าตัดด่วน (เคสนี้คือที่เราเป็น ต้องผ่าตัดด่วนในวันที่ตรวจพบ เพราะอยู่ในช่วงมันอักเสบแล้ว ต้องผ่าตัดก่อนที่มันจะแตก จะโดนตัดปีกมดลูกไป 1 ข้าง เหลือไว้ให้ทำงานอีก 1 ข้าง ยังสามารถมีบุตร มีประจำเดือนได้เหมือนเดิม)

 

สัญญาณอันตราย ปวดท้องแบบไหน มีถุงน้ำรังไข่

ตามปกติแล้วเมื่อเรามีถุงน้ำรังไข่ เรามักไม่ค่อยทราบว่าเราเป็น เพราะจะไม่มีสัญญาณใดๆ บอกเลย นอกจากตรวจสุขภาพแล้วเจอ จะมีอาการก็ต่อเมื่อมันเจริญเติบโตค่อนข้างใหญ่แล้ว โดยจะมีอาการดังนี้

– ปวดท้องแบบปวดๆ หายๆ บริเวณท้องส่วนล่าว ข้างขวา หรือซ้าย

– จะปวดท้องช่วงก่อนที่จะมี หรือก่อนที่จะหมดประจำเดือน

– ปวดท้องระหว่างมีเพศสัมพันธ์

 

นอกจากอาการปวดท้อง ยังอาจมีอาการอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น

– รู้สึกแน่นท้องส่วนล่าง

– ปวดปัสสาวะบ่อย

– ท้องอืด ไม่สบายท้อง

– ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

 

หากสาวๆ คนไหนมีอาการดังกล่าว ลองไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยละเอียด ใช้เวลานานก็ทราบผลค่ะ หากตรวจพบเจอก่อนก็จะได้ใช้วิธีรักษาที่หลากหลายขึ้น ง่ายขึ้น และอาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไปค่ะ

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ปวดท้องแบบไหน? เสี่ยง “ถุงน้ำรังไข่”