ปิดเมนู
หน้าแรก

ทำไม ? ชาวเวียดนามเป็น “โรคอ้วน” มากขึ้น แม้เน้นกินอาหารเพื่อสุขภาพ

เปิดอ่าน 71 views

ทำไม ? ชาวเวียดนามเป็น “โรคอ้วน” มากขึ้น แม้เน้นกินอาหารเพื่อสุขภาพ

VOA

สนับสนุนเนื้อหา

เทรนด์อาหารฟาสต์ฟู้ดเช่น KFC และ Burger King กำลังเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา ที่ซึ่งอัตราการเป็นโรคอ้วนของคนในประเทศกำลังเพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางทางเลือกใหม่ ๆ ของอาหาร Junk Food หรืออาหารขยะที่มีอยู่มากมาย

ปัจจุบันเทรนด์อาหารขยะได้เดินทางมาถึงเวียดนามแล้ว แต่ตอนนี้ในเวียดนามกลับมีเทรนด์ใหม่คือ ผู้คนต่างมองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่สุดท้ายกลับกินทุกอย่างยกเว้นอาหารที่มีประโยชน์

น้ำตาลคือหนึ่งในปัญหาของเรื่องนี้ ใช่ว่าชาวเวียดนามกินขนมและไอศครีมในปริมาณที่มาก ๆ แต่ทว่าพวกเขาซื้อผลิตภัณฑ์เช่นน้ำผลไม้ และโยเกิร์ต โดยที่ไม่ทราบว่าน้ำตาลที่อยู่ในอาหารเหล่านั้นมีมากกว่าประโยชน์ของผลไม้ ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นถูกบรรจุโดยมีฉลากที่ดึงดูดผู้คนในเรื่องของสุขภาพ

เรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วเวียดนาม ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ขายอาหารพร้อมรับประทาน และอาหารแปรรูปให้กับประชาชนที่เคยซื้อผักและไข่โดยตรงจากฟาร์มเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจที่ชัดเจน อย่างเช่นการที่บริษัท Nutifood Nutrition Food Joint Stock เพิ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ B + จากบริษัทจัดอันดับ Fitch Ratings ซึ่งคาดการณ์ว่า บริษัทนี้จะได้ผลกำไรจากการที่ชาวเวียดนามซื้ออาหารสุขภาพกันมากขึ้น

Fitch Rating ชี้แจงว่ารัฐบาลเวียดนามได้ริเริ่มโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารและภาวะร่างกายแคระแกร็น ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงตามระดับมาตรฐานสากล และคาดว่าอัตราการเกิดที่สูงขึ้นบวกกับความต้องการความสะดวกสบายด้านโภชนาการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น จะเป็นสิ่งที่ผลักดันความต้องการในการซื้อผลิตภัณฑ์ของ Nutifood โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จำพวกพร้อมดื่ม

เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่เวียดนามพยายามสนับสนุนให้ผู้ปกครองให้ลูกดื่มคม เพื่อคนรุ่นต่อ ๆ ไปจะได้สูงขึ้นและมีกระดูกที่แข็งแรง อย่างไรก็ตามในวันนี้การเป็นโรคอ้วนเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าการขาดสารอาหาร จากปีพ.ศ. 2553 จนถึงพ.ศ. 2557 มีอัตราการเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นถึง 38% ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นเป็นสาเหตุที่เวียดนามไม่ใช้คำว่า “กินอาหารไม่เพียงพอ” แต่ใช้คำว่า “ขาดสารอาหาร” เพื่ออธิบายปัญหาทางโภชนาการของคนในประเทศแทน

ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่พบคือการใช้ผงชูรสและเกลือ ในรูปของน้ำปลาและซอสถั่วเหลืองซึ่งเป็นเครื่องปรุงสองอย่างที่ได้รับความนิยมมากในการประกอบอาหารเวียดนามมากเกินไป และการใช้น้ำตาล ซึ่งหลาย ๆ บริษัท สามารถโน้มน้าวให้ชาวเวียดนามเชื่อว่าไขมันเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพมากกว่าน้ำตาล ดังนั้นชาวเวียดนามจึงเติมสารให้ความหวานในทั้งอาหารและเครื่องดื่มโดยที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก เช่นเวลาไปที่ร้านกาแฟ พนักงานเสิร์ฟจะใส่น้ำตาลลงในกาแฟหรือน้ำมะม่วงโดยอัตโนมัติเว้นแต่ลูกค้าจะบอกว่าไม่ต้องใส่

บริษัทต่าง ๆ เช่น Pepsi และ McDonald’s พยายามเน้นเรื่องการออกกำลังกายมากกว่าเรื่องโภชนาการ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี วิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงโดยธรรมชาตินั้นกำลังลดลงในเวียดนามเพราะการผู้คนย้ายจากชนบทไปอยู่ในเมือง และเปลี่ยนจากการทำงานหนักไปทำงานในสำนักงาน ผู้คนมักจะขี่รถมอเตอร์ไซค์เป็นระยะทางเพียงหนึ่งช่วงตึก และการเดินในเมืองด้วยสภาพอากาศ 100 องศา และการเดินเท้าในระยะทางใกล้ ๆ กลายเป็นเรื่องยากไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนยังใช้บริการใหม่ที่คล้ายกับ Uber เพื่อส่งเครื่องดื่มหรืออาหาร นักวิจัยต่างเห็นพ้องว่าการทั้งออกกำลังกายและโภชนาการล้วนมีความสำคัญ แต่โภชนาการส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่า

อย่างไรก็ตามความกังวลเรื่องสุขภาพในเวียดนามที่มีเพิ่มมากขึ้นนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องโภชนาการเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงเรื่องมลพิษทางอากาศ คุณภาพน้ำ ตลอดจนห่วงโซ่ที่สะอาดอีกด้วย

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ทำไม ? ชาวเวียดนามเป็น “โรคอ้วน” มากขึ้น แม้เน้นกินอาหารเพื่อสุขภาพ