ปิดเมนู
หน้าแรก

จริงหรือไม่? สวม “รองเท้าส้นสูง” เสี่ยง “หมอนรองกระดูกเคลื่อน”

เปิดอ่าน 36 views

จริงหรือไม่? สวม “รองเท้าส้นสูง” เสี่ยง “หมอนรองกระดูกเคลื่อน”

การสวมรองเท้าส้นสูงนานๆ หรือบ่อยๆ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงอันตรายในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือไม่?

คุณผู้หญิงหลายคนอาจชื่นชอบ หรือมีความจำเป็นในการต้องสวมรองเท้าส้นสูงบ่อยๆ หรือเป็นระยะเวลานาน อาการเมื่อยเท้ามักเกิดขึ้นได้ แต่หากไม่ใช่แค่เป็นอาการเมื่อยเท้า แต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคที่อันตรายอย่าง “หมอนรองกระดูกเคลื่อน” ล่ะ?

หมอนรองกระดูกเคลื่อน คืออะไร?

นพ.ชลัท วินมูน ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาล​สมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นกระดูกอ่อนชนิดหนึ่งลักษณะจะเป็นเมือกใสคล้ายเจลลี่มีความยืดหยุ่นสูงคั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่สองอย่างคือ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังและยังมีหน้าที่รับน้ำหนักที่ผ่านกระดูกสันหลังลงมา ซึ่งถ้าหมอนรองกระดูกมีการกระทบกระเทือนจนฉีกขาดจนทำให้ส่วนชั้นในที่เป็นเมือกใสๆ มีการเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้น

หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ซึ่งปัจจัยในเรื่องของอายุมีผลมากทีเดียว เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกที่เป็นเมือกใสจะสูญเสียความยืดหยุ่นไป จึงทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนไปโดนเส้นประสาท แต่ก็มีปัจจัยที่เร่งให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้เร็ว ได้แก่

  • ยกของหนัก ท่ายกของไม่ถูกต้อง
  • เล่นกีฬาที่ต้องรับแรงกระแทกซ้ำๆ ที่หมอนรองกระดูก
  • เคลื่อนไหวผิดท่าโดยฉับพลัน
  • อ้วนมากจนส่งผลต่อหมอนรองกระดูก

“รองเท้าส้นสูง” อีกสาเหตุหนึ่งของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

อ.นพ.สรวุฒิ ธรรมยงค์กิจ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้น้ำหนักตัวเอียงไปด้านหน้า และมีการแอ่นตัวไปด้านหลัง ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณหลัง เข่า และสะโพกทำงานหนักผิดปกติ เสี่ยงต่อภาวะเสื่อมและบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก

หากจำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูง ควรทำอย่างไร?

  1. ส้นรองเท้าไม่ควรสูงเกิน 1-2 นิ้ว หลีกเลี่ยงรองเท้าที่ส้นสูงมากจนเกินไป
  2. ให้เท้าได้พักในท่าปกติทุก 2 ชั่วโมง
  3. เลือกสวมรองเท้าหน้ากว้างที่จะรองรับเท้าได้ทั้งหมด
  4. หากจำเป็นต้องใส่ ควรลดเวลาในการยืน หรือเดินนานๆ
  5. เลือกพื้นรองเท้าที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสม ไม่แข็งจนเกินไป

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : จริงหรือไม่? สวม “รองเท้าส้นสูง” เสี่ยง “หมอนรองกระดูกเคลื่อน”