ปิดเมนู
หน้าแรก

กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น “เบาหวาน”

เปิดอ่าน 25 views

กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น “เบาหวาน”

เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ อาหารการกินของผู้ป่วยเบาหวานจึงสำคัญ และอาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  มีข้อมูลดีๆ จาก ผศ.ดร.ณัติพร นกแก้ว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาฝากกัน

รู้จัก ค่า Glycemic Index (GI) เพื่อการเลือกอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ค่า Glycemic Index (GI) หรือค่าดัชนีน้ำตาล เป็นค่าความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลและแป้งเข้าสู่กระแสเลือดหลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือประเภทแป้งและน้ำตาล หากรับประทานอาหารที่มีค่า GI สูง จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว การอ่านค่า GI จึงอาจเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ค่า GI แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 

  • สูง (70-100) 
  • กลาง (56-69)
  • ต่ำ (0-55) 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีค่า GI ต่ำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และไม่เป็นอันตราย ขณะที่หากรับประทานอาหารที่มีค่า GI สูง จะทำให้น้ำตาลพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการรับประทานจนอาจเกิดอันตรายได้

อาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารที่มีค่า GI ต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มีปริมาณไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลในเลือดและช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้เร็ว นอกจากมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว ยังไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย 

อาหารที่มีค่า GI ต่ำ ได้แก่ 

  • ผักผลไม้ 
  • ธัญพืช 
  • ข้าวกล้อง 
  • ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 
  • พืชตระกูลถั่ว 
  • กล้วย 
  • องุ่น 
  • ลูกแพร์ 
  • เชอร์รี่ 
  • ลูกพีช 
  • กีวี 
  • แอปเปิ้ล 
  • สตรอเบอรี่ 
  • ส้ม 
  • สาลี่ 
  • ฝรั่ง 
  • ชมพู่ 
  • แก้วมังกร 
  • แครอท 
  • มะเขือเทศ 
  • ข้าวโพด 
  • บรอกโคลี 
  • ดอกกะหล่ำ 

เป็นต้น 

และยังรวมถึงผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิดอีกด้วย 

อาหารที่มีโปรตีนสูง ก็เป็นอาหารที่มีค่า GI ต่ำเช่นกัน เช่น 

  • นม 
  • โยเกิร์ต 
  • นมถั่วเหลือง 
  • นมอัลมอนด์ 
  • โปรตีนที่ได้จากถั่ว 
  • ปลาและเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อยมาก

อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ น้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารอื่นๆ ที่ได้รับประทานควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน เช่น หากมื้อไหนที่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีค่า GI สูง ก็ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ควบคู่ไปด้วย ก็จะสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ในระดับหนึ่ง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น “เบาหวาน”