ปิดเมนู
หน้าแรก

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?

เปิดอ่าน 772 views

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?

หลายคนคงเคยรับรู้ข้อมูลมาบ้างว่า คนแต่ละกรุ๊ปเลือด มีระบบในร่างกายแตกต่างกันไป การกินอาหารตามกรุ๊ปเลือดจะช่วยให้สุขภาพของแต่ละคนดีขึ้น เช่น กรุ๊ปเลือดเอเหมาะกับการทานผักมากกว่าเนื้อ ส่วนคนกรุ๊ปโอน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเยอะ ควรทานเนื้อเป็นหลัก เป็นต้น

ว่าแต่…ความเชื่อเหล่านี้ เป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นเพียงความเชื่องมงายที่บอกเล่าต่อๆ กันมาอย่างไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนกันแน่นะ

จากข้อมูลใน คลิป Sci Find ตอนทานอาหารตามหมู่เลือด ดีจริงหรือ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเอาไว้ว่า

“มีการอ้างอิงว่า ในอาหารที่เราทานเข้าไป จะมีโปรตีนที่ชื่อ เลคติน ซึ่งเมื่อเลคตินจับตัวกับเลือด ทำให้เลือดเหนียวข้นขึ้น จึงมีคำกล่าวอ้างที่ว่า หากทานอาหารที่มีเลคตินไม่เหมาะสมกับหมู่เลือกของเรา จะส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกาย เช่น ทำให้ภูมิคุ้มกันตกลง ทำให้อินซูลิน (ฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด) ไม่ค่อยหลั่ง ทำให้เกิดอาการปวดตามไขข้อได้ หากทานเลคตินที่เหมาะสมกับกรุ๊ปเลือด จะทำให้ภูมิคุ้มกันของเราดีขึ้น ร่างกายแข็งแรง
แต่ทั้งหมดนี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงความเชื่อ ไม่ใช่ความจริงที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์”

ระบบหมู่เลือดของมนุษย์ จริงๆ แล้วมีแค่ A B O AB หรือไม่

“จริงๆ แล้วหมู่เลือดมีมากกว่า 20 ระบบ แต่ที่คุ้นเคยกันมาก จะมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ ABO (เอบีโอ) และระบบ Rh (อาร์เอช) ระบบเอบีโอ ก็คือหมู่เลือดที่แบ่งเป็นเอ บี โอ และเอบีอย่างที่เราคุ้นเคยกัน ส่วนระบบอาร์เอช จะแบ่งเป็น Rh(+) (อาร์เอชบวก) และ Rh(-) (อาร์เอชลบ) ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะมีหมู่เลือด อาร์เอชบวก มีเพียงประมาณ 0.03% ของประชากรทั้งหมดที่จะมีหมู่เลือด อาร์เอชลบ”

แล้วข้อมูลการทานอาหารตามกรุ๊ปเลือด มาได้อย่างไร?

“แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากนายแพทย์ปีเตอร์ เดออาดาโม (Dr.Peter D’ Adamo) ซึ่งได้อ้างความรู้ทางด้านชีวเคมีเกี่ยวกับเรื่องโปรตีนเล็คตินและหมู่เลือด ว่าสนับสนุนทฤษฎีของเขา แล้วตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือที่ชื่อว่า “Eat Right For(4) Your Type” (ทานอาหารให้ตรงกับกรุ๊ปเลือดทั้ง 4) แต่แนวคิดนี้กลับได้รับการโต้แย้งจากนักโภชนาการ แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ว่าไม่ได้สอดคล้องกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างไร รวมทั้งไม่มีหลักฐานหรือบทความวิจัย ที่บ่งบอกถึงความเชื่อมโยงระหว่างโรคต่างๆ และหมู่เลือด หรือข้อดีของการรับประทานอาหาร ตามหมู่เลือดแต่อย่างใด”

โปรตีนในอาหารที่เรียกว่า “เล็คติน” จะทำปฏิกิริยากับหมู่เลือด และทำให้เกิดผลเสีย ถ้ารับประทานอาหารไม่เหมาะกับหมู่เลือด จริงหรือไม่?

“ไม่จริง เรื่องของการกล่าวอ้างนี้ไม่ตรงกับผลการวิจัยทางชีวเคมี เพราะโปรตีนเล็คตินชนิดที่มี ความจำเพาะต่อเลือดหมู่ต่างๆ นั้น เกือบทุกชนิดไม่ได้มีอยู่ในอาหาร แต่มักจะพบในพืชหรือสัตว์ ที่ไม่ได้นำมาเป็นอาหาร ยิ่งไปกว่านั้น อาหารหลายชนิดที่เดออาดาโม อ้างว่าทำปฏิกิริยาจำเพาะ ต่อหมู่เลือดได้เหมือนกับเล็คติน กลับจับกับเม็ดเลือดแดงของทุกหมู่เลือดให้ตกตะกอนได้ ไม่ใช่แค่จำเพาะกับบางหมู่เท่านั้น”

จากความเชื่อที่ว่า กรุ๊ปเลือดโอ เป็นหมู่เลือดที่เก่าแก โบราณที่สุด จริงหรือไม่?

“จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ค่อยถูกสักเท่าไร ทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า กรุ๊ปเลือดแรกที่ถือกำเนิดขึ้น คือหมู่เลือดเอ จากนั้นเป็นบี เอบี และโอตามลำดับ จากการเปลี่ยนแปลงของแอนติเจน เอ บี ในเลือด หมู่เลือดเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่ 4-6 ล้านปีที่แล้ว แต่หลักการของแพทย์ปีเตอร์ เดออาดาโม พูดถึงจุดกำเนิดของหมู่เลือดในช่วงไม่กี่หมื่นปีที่แล้วนี่เอง ดังนั้นข้อมูลของเขาจึงไม่เป็นความจริง ดังนั้นวิวัฒนาการของคน ก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับอาหารที่เราควรทานแต่อย่างใด”

เข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็ทานอาหารได้ตามใจชอบ แต่ต้องทานอาหารแต่พอดี ทานให้ครบ 5 หมู่ แล้วออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอย่างเต็มที่ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คลิป Sci Find

เนื้อหาโดย : Sanook!

стоимость растаможки авто в украине 2015 калькулятор

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?