
อาการ “ลงแดง” คืออะไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรักษา
อาการ “ลงแดง” คืออะไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรักษา คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ถ้าจู่ๆ ก็หยุดดื่มทันที อาจมีอาการ “ลงแดง” ได้ โดยอาจมีอาการตั้งแต่ปวดศีรษะ มือสั่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
เป็นความเชื่อกันมาอย่างนมนานหลายปีแล้วว่า ไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มปศุสัตว์สมัยใหม่ มีการฉีดฮอร์โมนเพื่อเร่งให้ไก่โตเร็วขึ้น และเป็นการทำให้ได้มาซึ่งไก่ที่มีขนาดตัวที่ใหญ่ เต่งตึง น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แต่ฮอร์โมนที่ไก่ถูกฉีดเพิ่มเข้ามา ทำให้เด็กๆ ที่บริโภคไก่เหล่านั้นเกิดความผิดปกติ เสี่ยงต่อภาวะ “สาวไวผิดปกติ” จากการได้รับฮอร์โมนมากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ภาวะสาวไวผิดปกติ มีความเกี่ยวข้องกับไก่จริง แต่อาจจะไม่ใช่เรื่องของ “ฮอร์โมน”
ภาวะเป็นสาวไวผิดปกติ หมายถึง ภาวะที่เด็กผู้หญิงมีพัฒนาการเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นไวกว่าปกติ เช่น เริ่มมีเต้านมก่อนอายุ 8 ปี มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9 เดือน เป็นต้น ตามปกติแล้วเด็กผู้หญิงจะเริ่มเป็นสาวเมื่อย่างเข้าอายุ 8-13 ปี ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนอายุ 8-9 ปี แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะสาวไวผิดปกติ (ในทางกลับกัน หากอายุเกิน 13 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อาจมีความเสี่ยงภาวะสาวช้ากว่าปกติเช่นกัน)
ปัจจุบันยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่าภาวะสาวไวผิดปกติเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มีเนื้องอกในสมอง ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนทางเพศ หรือมีถุงน้ำในรังไข่ที่ทำให้เด็กสร้างฮอร์โมนทางเพศเร็วขึ้นกว่าปกติ เป็นต้น
เด็กอาจจะสูญเสียความมั่นใจในกรณีที่ตัวสูงเร็วกว่าเพื่อนคนอื่นๆ ทั้งเรื่องของขนาดหน้าอก และการมีประจำเดือนก่อนคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน แต่ข้อเสียที่หนักกว่านั้นคือ เด็กที่อยู่ในภาวะสาวไวผิดปกติจะทำให้กระดูกในร่างกายผิดเร็วกว่าเด็กคนอื่นๆ ดังนั้นจึงมีช่วงเวลาการเจริญเติบโตสั้นกว่าเด็กทั่วไป เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จึงอาจเตี้ยกว่าคนปกติ
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันได้ว่า การใช้ฮอร์โมนเพศในการกระตุ้นให้ไก่โตเร็วขึ้น ส่งผลให้เด็กที่บริโภคเนื้อไก่ได้รับฮอร์โมนมากเกินไปจนเสี่ยงต่อภาวะสาวไวผิดปกติได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในประเทศไทยได้มีการสั่งห้ามใช้ฮอร์โมนในไก่มานานมากกว่า 30 ปีแล้ว วิธีการเลี้ยงไก่ด้วยการฉีดฮอร์โมนเพิ่มไม่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก อีกทั้งฮอร์โมนดังกล่าวยังมีราคาสูง ไม่คุ้มต้นทุน ดังนั้นผลิตภัณฑ์จากไก่ในประเทศไทยจึงมั่นใจได้ว่าไม่มีการฉีดฮอร์โมนเพิ่มอย่างที่เข้าใจกันแน่นอน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไก่ในประเทศไทยจะไม่มีการฉีดฮอร์โมนเพิ่ม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการไก่จะปลอดภัย 100% เพราะมีความเป็นไปได้ว่าเด็กอ้วน หรือเด็กที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีความเสี่ยงต่อภาวะสาวไวกว่าปกติได้ ดังนั้นเด็กที่ทานไก่ทอด รวมถึงอาหารฟาสต์ฟูดอย่างมันฝรั่งทอด แฮมเบอร์เกอร์ น้ำอัดลม เบเกอรี่ต่างๆ มากเกินไป ก็อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน จนส่งผลต่อภาวะสาวไวกว่าปกติได้เช่นกัน
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : “ไก่ฉีดฮอร์โมน” ทำให้เด็กเป็นโรค “สาวไวผิดปกติ” หรือไม่?
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น