ปิดเมนู
หน้าแรก

เปิดอบรมหลักสูตรผลิตภัณฑ์สำหรับสิว ผิวแพ้ง่าย (Acne & Sensitive Skin Product Courses)

เปิดอ่าน 632 views

เปิดอบรมหลักสูตรผลิตภัณฑ์สำหรับสิว ผิวแพ้ง่าย (Acne & Sensitive Skin Product Courses)

จุดเด่น

“เรียนเข้าใจได้ แม้ไม่มีพื้นฐาน

ลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอน สามารถทำได้จริง

เรียนจบภายใน 1 วัน รับผลิตภัณฑ์กลับไปใช้”

แนะนำบริษัทขายวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ

เหมาะสำหรับ

– ผู้เริ่มต้นทำเครื่องสำอางใช้เอง ไม่มีพื้นฐานทางด้านเครื่องสำอาง

– ผู้ที่มีปัญหาเรื่อง  สิว  ผิวแพ้ง่าย

ผู้ที่สนใจอยากมีสร้างแบรนด์ของตัวเอง

สอนโดย

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอางประสบการณ์ 10 ปี

 พร้อมให้คำปรึกษา **ฟรี เรื่องการสร้างแบรนด์ การทำตลาดเครื่องสำอางและการขึ้นทะเบียน อย **

 

โดยสอน 5 หลักสูตรยอดนิยม ดังนี้

1. ครีมกันแดดสำหรับคนเป็นสิว (Sunscreen for Acne & Sensitive Skin)

2. ครีมมาร์คสิวและฟื้นฟูสภาพผิว (Acne & Repairing Cream Mask)

3. ครีมเจลแต้มสิวอักเสบ สิวอุดตัน (Acne & Extra Mild Cream Gel)

4. โทนเนอร์ลดสิวอักเสบสิวอุดตัน(Acne & Extra Mild  Toner)

5. เจลเหลวล้างหน้า (Acne & Extra Clear Mild Cleanser)  

สามารถแยกเรียนเป็นหลักสูตรได้*****

โปรโมชั่นพิเศษ!!   ลดราคา 30 %

5 หลักสูตร 

จาก 16,000 บาท ลดเหลือ 12,000  บาท       

สมัครเรียน 2 ท่าน ลดเพิ่มอีก 5%

*****เปิดสอนทุกวันของสัปดาห์ *****            

ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง

(Cosmetic Training Center, CTC)

Managing Director

Tel: 083-007-8589, Line ID: careandliving

สถานที่อบรม : ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง โกดัง 4 CTC 8/332 หมู่ 3 ถ. ติวานนต์ ปากเกร็ด 48  ต.บ้านใหม่ อ.เมือง   จ.นนทบุรี 11120

สี่แยกไฟแดงสวนสำเด็จ, ใกล้โรบินสันศรีสมาน ,ใกล้สนามบินดอนเมือง  ,ลงทางด่วนศรีสมาน-ดอนเมือง

มีฝ่าย R&D 
พัฒนาสูตร และผู้เชี่ยวชาญดูแล อย่างใกล้ชิด

#ครีมเกรดพรีเมี่ยม  #ไม่มีกั๊กสูตร #สอนปรับสูตร #สอนออกแบบสูตรเอง #เครื่องมือมาตรฐานแล๊บ #อาจารย์ตอบทุกคำถาม #สอนทำครีม #สอนทำมาส์ก #สอนทำครีมกันแดด #สอนทำเครื่องสำอาง #สอนทำสบู่ #สอนทำแชมพู #สอนจดอย #สอนการตลาด #สร้างแบรนด์

เปิดอบรม “สอนทำเครื่องสำอาง สอนทำครีม” สอนวันเดียวทำได้เลย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอาง

ดูแลผิวหน้า แพ้ง่าย ทำอย่างไรดี

ผิวหน้าแพ้ง่าย คือ ภาวะที่ผิวมีความไวต่อปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ได้ง่าย ทำให้เกิดผื่นเห่อรุนแรงขึ้น โดยปัจจัยกระตุ้น มีดังนี้

  1. สภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนจัด อากาศเย็นจัด และสภาพอากาศที่แห้งจัด เป็นต้น
  2. สารระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ครีมบำรุงผิว เครื่องสำอาง หรือ โฟมล้างหน้า เป็นต้น
  3. รังสียูวีจากแสงแดด มลภาวะ และสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยในอากาศ เช่น ตัวไรฝุ่น
  4. อาหารบางชนิด ได้แก่ นม ไข่ ถั่ว อาหารทะเล ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่แพ้อาหารอยู่แล้ว
  5. การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด และความวิตกกังวล

ผิวหน้าแพ้ง่าย มีอาการอย่างไร

มีผื่นผิวหนังเห่อขึ้น คันมาก ในบางกรณีอาจมีอาการแสบ ผิวแดง ลอกเป็นขุย ผิวแตก ผิวแห้งกร้าน หยาบร่วมด้วย หากไม่แน่ใจว่ามีอาการผิวแพ้ง่ายหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

หลักการดูแลผิวหน้าแพ้ง่าย

1. สังเกตปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการแพ้ และพยายามหลีกเลี่ยง เช่น

–   หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือหนาวจัด

–    หลีกเลี่ยงแสงแดด

2.  รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง ไม่ให้ผิวแตกแห้ง โดยการ

–   หลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น น้ำร้อนล้างหน้า หรือการล้างหน้าที่บ่อยเกินไป

–   ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่สามารถปกคลุมให้ผิวยังมีความชุ่มชื้น โดยแนะนำให้ใช้หลังล้างหน้า

3.  ควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือเครื่องสำอางที่ไม่ก่อการระคายเคืองต่อผิวหนัง

–  ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมน้อย ทำให้โอกาสที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวน้อยลง

–  ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม และแอลกอฮอล์

– ก่อนใช้ควรทดลองผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก่อนด้วยการทาลงบนบริเวณท้องแขน และสังเกตอาการเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

หากผิวหนังมีผื่นเห่อขึ้น มักจะรักษาด้วยยาทากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพราะยากลุ่มนี้ต้องเลือกชนิดให้เหมาะสมกับบริเวณที่ใช้ และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้หากใช้ยาไม่ถูกต้อง นอกจากนั้นเมื่อมีผื่นเกิดขึ้นควรมีการระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ผิวหนังบริเวณที่เกิดผื่นเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง : การดูแลผิวแพ้ง่ายและผื่นแพ้ผิวหนัง โดย ดร. ภญ. บุญธิดา มระกูล 

ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าถึงได้จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0412.pdf

สมุนไพรรักษาสิวยอดนิยม ได้ผลจริงหรือไม่

สมุนไพรรักษาสิวชนิดต่าง ๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ หลายคนจึงเชื่อว่าน่าจะปลอดภัยต่อผิวหน้ามากกว่าผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดที่อาจมีส่วนผสมจากสารเคมีอันตราย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เพื่อบำรุงรักษาผิวหน้า รักษาสิวทั้งหลายก็เริ่มหันมาใช้สมุนไพรนานาชนิดเป็นหนึ่งในส่วนผสม ยิ่งตอกย้ำถึงคุณประโยชน์ของการใช้สมุนไพรในการรักษาสิวมากยิ่งขึ้น

สิว เป็นภาวะอักเสบของผิวหนังที่เกิดขึ้นจากการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เกิดเป็นจุดเล็ก ๆ ที่อาจบวม อักเสบ หรือมีหนองขึ้นมาบนผิวหนัง พบได้มากตามใบหน้า ลำคอ หน้าอก ไหล่ และหลัง โดยเฉพาะสิวบนใบหน้าที่มักเป็นที่รบกวนใจจนอยากกำจัดให้พ้นโดยเร็ว ซึ่งหลาย ๆ คนก็เลือกใช้วิธีการธรรมชาติอย่างการใช้สมุนไพรที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติในการกำจัดสิว สมุนไพรรักษาสิวที่นิยมใช้กันเหล่านี้ช่วยได้จริงหรือไม่และมีความปลอดภัยต่อผิวหน้ามากน้อยเพียงใด

น้ำมะนาว 

หนึ่งในพืชสมุนไพรใกล้ตัวที่เชื่อว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาสิว ซึ่งวิธีที่แนะนำกันอย่างแพร่หลายก็สามารถทำตามได้อย่างง่ายดาย เพียงบีบน้ำมะนาวเล็กน้อย แล้วใช้สำลีจุ่มแต้มจุดที่เป็นสิวทิ้งไว้สัก 10 นาทีหรือรอจนแห้งแล้วค่อยล้างออก ทำให้กลายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

สาเหตุที่มีการนำน้ำมะนาวมาใช้รักษาสิวก็เพราะมะนาวเป็นผลไม้ตระกูลส้ม ซึ่งประกอบด้วยกรดธรรมชาติอย่างอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acid: AHA) เมื่อทาลงบนผิวหนังจะช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและลดการอุดตันของรูขุมขน ซึ่งนอกจากคุณสมบัติกระชับรูขุมขนและต้านแบคทีเรียที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวได้เป็นอย่างดีนี้ ยังคาดว่าน้ำมะนาวอาจช่วยลดรอยแผลเป็นจากสิวได้อีกด้วย

การทดสอบเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของการใช้น้ำมะนาวช่วยแก้ปัญหาสิวโดยตรงนั้นยังมีไม่มากนัก งานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งศึกษาคุณสมบัติของมะนาวเหลือง (Lemon) โดยใช้น้ำมะนาวที่มีความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ 40 เปอร์เซ็นต์ 60 เปอร์เซ็นต์ 80 เปอร์เซ็นต์ และ100 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่ช่วยในการรักษาสิว ผลลัพธ์พบว่าน้ำมะนาวเหลืองทุกความเข้มข้นล้วนสามารถฆ่าแบคทีเรียพี แอคเน่ (Propionibacterium Acnes) ซึ่งเป็นตัวการหลักของการเกิดสิวได้เป็นอย่างดี ส่วนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้านั้นจะได้ผลก็ต่อเมื่อเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเท่านั้น

ถึงอย่างนั้นก็ตาม มะนาวเหลืองที่ว่านี้มักพบในต่างประเทศ มีลักษณะต่างจากมะนาวเขียวที่พบได้ทั่วไปในบ้านเรา จึงยังไม่แน่ว่าจะใช้แทนกันได้หรือไม่ แต่ก็อาจเป็นไปได้ เพราะผลการศึกษาที่ใกล้เคียงบางงานชี้ว่าน้ำจากผลไม้ตระกูลส้มอาจมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบได้จริง ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพในการต่อต้านโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบทั้งหลาย รวมถึงการอักเสบของสิวไปด้วย

น้ำมะนาวถูกนำมาใช้ปรุงอาหารและสามารถรับประทานได้อย่างปกติโดยไม่มีอันตรายใด ๆ ในปริมาณที่พอดี แต่หากต้องการลองใช้น้ำมะนาวทาบนใบหน้าหรือผิวหนังเพื่อช่วยบำรุงผิวหรือรักษาสิวจะต้องระมัดระวังสักหน่อย เนื่องจากการทาน้ำมะนาวอาจส่งผลให้ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดดและเสี่ยงต่อผิวไหม้ได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวขาว ดังนั้นหลังจากการใช้น้ำมะนาวทาผิวจึงยังไม่ควรออกไปเผชิญแสงแดดที่มากเกินไปทันที หรือควรป้องกันด้วยการทาครีมกันแดดให้ดีเสียก่อน

ว่านหางจระเข้ 

อีกหนึ่งสมุนไพรที่เป็นที่กล่าวขานเกี่ยวกับคุณประโยชน์ด้านความสวยความงามและการบำรุงผิวพรรณ จนมีการนำเจลว่านหางจระเข้มาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เพื่อความงามจำนวนมาก เนื่องจากมีการกล่าวอย่างกว้างขวางว่าอาจมีคุณสมบัติช่วยรักษาแผลและบรรเทาการอักเสบของผิวหนัง จึงกลายเป็นอีกทางเลือกธรรมชาติสำหรับการรักษาสิวที่เชื่อว่าจะให้ผลดีขึ้นได้

งานวิจัยหนึ่งกล่าวว่าเจลว่านหางจระเข้น่าจะมีส่วนช่วยรักษาสิว หลังจากทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ว่านหางจระเข้ 50 เปอร์เซ็นต์รักษาสิวร่วมกับยาทารักษาสิวอย่างเตรทติโนอิน (Tretinoin) ความเข้มข้น 0.05 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับการใช้ยาเตรทติโนอินเพียงอย่างเดียว โดยแบ่งกลุ่มผู้ทดลองที่เป็นสิวเล็กน้อยถึงปานกลางจำนวน 60 คน ทดสอบเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ปรากฏว่าการใช้ว่านหางจระเข้ผสมกับยารักษาสิวชนิดนี้สามารถช่วยรับมือกับปัญหาสิวได้ดีและให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้ยาเตรทติโนอินเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ

เช่นเดียวกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน ทดลองโดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์การใช้ว่านหางจระเข้รักษาสิวร่วมกับน้ำมันจากพืชตระกูลกะเพราและยารักษาสิวอย่างคลินดามัยซิน (Clindamycin) ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ทดลอง 84 คน ทุก ๆ วันนาน 4 สัปดาห์ พบว่าโลชั่นรักษาสิวที่ทำจากพืชตระกูลกะเพราจะยิ่งมีประสิทธิภาพดีเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของว่านหางจระเข้ที่ผสมให้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่จะช่วยบรรเทาการอักเสบของสิวได้ดีที่สุดและยังออกฤทธิ์เร็วกว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันใบโหระพาแบบธรรมดา ทว่าการใช้เจลว่านหางจระเข้เพียงอย่างเดียวนั้นกลับช่วยรักษาสิวได้ไม่เห็นผลมากนัก คาดว่ายังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าว่านหางจระเข้นี้ช่วยรักษาสิวได้จริงหรือไม่ และในรูปแบบใดจึงจะได้ผลดีที่สุด

การใช้เจลว่านหางจระเข้ทาบนผิวหนังเพื่อเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่นอนเสียทีเดียว โดยเฉพาะการทาเจลว่านหางจระเข้ในเด็กที่ควรใช้อย่างระวังมากกว่าผู้ใหญ่ และหากต้องการรับประทานว่านหางจระเข้ในรูปแบบใดก็ตามก็ควรศึกษาคำเตือนก่อนใช้ต่อไปนี้

  • การรับประทานว่านหางจระเข้อาจไม่เป็นอันตรายหากใช้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลาไม่นาน โดยปริมาณที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยคือ 15 มิลลิลิตรต่อวัน และไม่ใช้นานเกินกว่า 42 วัน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเจลว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์สามารถรับประทานได้วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์
  • การรับประทานน้ำยางจากว่านหางจระเข้อาจไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานในปริมาณมาก ผลข้างเคียงที่อาจตามมา ได้แก่ ปวดหรือปวดบีบท้อง หากยังใช้ต่อไปนาน ๆ ในปริมาณมาก อาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย เกิดปัญหาเกี่ยวกับไต ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ มีเลือดออกในปัสสาวะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลด หรือเกิดความผิดปกติต่อหัวใจได้ ยิ่งไปกว่านั้น การรับประทานยางว่านหางจระเข้วันละ 1 กรัม ติดต่อกันหลายวันยังอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรเลี่ยงรับประทานทั้งเจลหรือยางว่านหางจระเข้ เพราะอาจไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการแท้งและภาวะพิการแต่กำเนิดตามมาได้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีที่รับประทานยางหรือสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้อาจมีอาการข้างเคียงอย่างปวดท้อง ปวดบีบ และท้องเสีย จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้
  • ผู้ป่วยโรคไต โรคริดสีดวงทวารและโรคเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน หรือโรคโครห์น ห้ามรับประทานยางของว่านหางจระเข้
  • ผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานหรือกำลังต้องเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน เนื่องจากอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง และหากต้องผ่าตัดก็ควรหยุดใช้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัดจะมาถึง

น้ำผึ้ง 

อาหารจากธรรมชาติที่ไม่เพียงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์หรือสูตรบำรุงผิวมากมาย แต่ยังมีการกล่าวถึงคุณประโยชน์ด้านการช่วยรักษาสิวเช่นกัน โดยน้ำผึ้งที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ก็คือ น้ำผึ้งมานูก้า (Manuka Honey) ซึ่งได้จากดอกของต้นมานูก้า พืชท้องถิ่นแห่งประเทศนิวซีแลนด์ สรรพคุณดังกล่าวอ้างจากหลายงานวิจัยที่พบว่าน้ำผึ้งชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยในการสมานแผลและต้านแบคทีเรียสูง และนักวิจัยยังพบว่าการใช้ผ้าพันแผลชนิดชุ่มน้ำผึ้งรักษาแผลได้รับการยอมรับจากหลายโรงพยาบาลและคลินิกทั่วโลก แต่ไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการทำงานของน้ำผึ้งชนิดนี้ จึงมีการทดสอบคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำผึ้งที่แตกต่างกัน 3 ชนิดขึ้น ผลปรากฏว่าน้ำผึ้งมานูก้ามีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับอีก 2 ชนิด

ปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้ว่าน้ำผึ้งช่วยรักษาสิวได้จริงหรือไม่ มีเพียงบางงานวิจัยที่กล่าวถึงคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียและลดการอักเสบ ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยที่กระตุ้นให้สิวก่อตัวขึ้น สอดคล้องกับอีกหลายงานวิจัยที่ยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าน้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ ในแผลที่ติดเชื้อและคอยช่วยในการสมานเนื้อเยื่อแผล การใช้น้ำผึ้งทาลงบนผิวบริเวณที่เป็นสิวจึงอาจเป็นวิธีทำความสะอาดสิ่งสกปรก ลดการติดเชื้อ ลดอาการเจ็บ และช่วยให้แผลรักษาตัวได้เร็วยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ดี ยังคงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ในการรักษาสิวของน้ำผึ้งที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มเติมต่อไป

ผู้ที่ต้องการใช้น้ำผึ้งทาลงบนสิวหรือแผลต่าง ๆ รวมถึงการรับประทานน้ำผึ้งโดยหวังคุณประโยชน์ด้านใดก็ตามควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ต่อไปนี้

  • ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปอาจสามารถรับประทานน้ำผึ้งได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการใช้น้ำผึ้งทาบนผิวหนังในผู้ใหญ่
  • การให้ทารกหรือเด็กที่ยังเล็กเกินไปรับประทานน้ำผึ้งอาจเป็นอันตราย และไม่ควรให้น้ำผึ้งดิบกับทารกอายุต่ำกว่า 12 เดือนเด็ดขาด เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดพิษจากสารโบทูลินั่มต่อร่างกายได้
  • หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่ให้นมบุตรอาจรับประทานน้ำผึ้งได้อย่างปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณปกติที่พบได้จากอาหาร ทั้งนี้การกลายเป็นพิษต่อร่างกายของน้ำผึ้งที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็กและทารกจะไม่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
  • การรับประทานน้ำผึ้งเพื่อการรักษาโรคต่าง ๆ ในหญิงที่ต้องให้นมบุตรยังไม่สามารถยืนยันถึงความปลอดภัยได้อย่างแน่ชัด เพื่อความปลอดภัยจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ในระยะนี้
  • ผู้ที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำผึ้ง เนื่องจากน้ำผึ้งผลิตมาจากเกสรดอกไม้ จึงอาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

ความปลอดภัยในการใช้สมุนไพรรักษาสิว

การใช้ยารักษาสิวใด ๆ ก็ตามที่สรรหามาใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ รวมถึงสมุนไพรหรือสูตรลับทั้งหลายนั้นไม่อาจรับประกันได้ว่าจะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ หากใช้แล้วไม่ได้ผล หรือสิวยังคงขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือทวีความรุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับประเภทและลักษณะความรุนแรงของสิวจะให้ผลดีและปลอดภัยที่สุด

ทั้งนี้ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปหลังจากทายาหรือสมุนไพรรักษาสิวก็คือผิวหนังแดง ระคายเคือง หรือรู้สึกคันขึ้นมา ซึ่งอาจไม่เป็นอันตรายหากผิวไม่แดงจนเกินไปหรือเกิดอาการไหม้ แต่ควรเฝ้าดูอาการอย่างระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่กำลังเผชิญไม่ใช่อาการแพ้ที่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก รู้สึกคล้ายจะเป็นลม ลิ้น ปาก ใบหน้า ดวงตาบวม หรือรู้สึกแน่นในลำคอ หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ควรต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

การรักษาสิวโดยแพทย์มีหลากหลายวิธีที่แพทย์สามารถเลือกใช้ โดยมักพิจารณาตามความรุนแรงและชนิดของสิวที่เป็น ทั้งนี้สิวที่ไม่มีการอักเสบรุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องรักษาเลยก็ได้ เช่น สิวหัวดำ หรือสิวอุดตันทั่วไป ทว่าหากเป็นสิวที่อักเสบและอาจทิ้งร่องรอยแผลเป็นอย่างรอยแดง จุด หรือตุ่มนูนบนใบหน้าก็จำเป็นต้องรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อช่วยให้ใบหน้าเรียบเนียนและลบเลือนรอยสิวอย่างได้ผลดีที่สุด การรักษาที่แพทย์อาจแนะนำมีดังนี้

  • ยาทาเฉพาะที่ เป็นการใช้ยาแต้มบริเวณที่เกิดสิวหลังจากล้างหน้าให้สะอาดแล้ว โดยทาทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีจึงค่อยล้างออก การใช้ยาประเภทนี้อาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ เรตินอยด์ (Retinoid) และยาปฏิชีวนะอย่างคลินดามัยซิน(Clindamycin) หรืออีริโทรมัยซิน (Erythromycin) เป็นต้น
  • ยารับประทาน บางกรณีแพทย์อาจสั่งจ่ายยาสำหรับรับประทาน เช่น ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย ยาไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin) รวมถึงยาปฏิชีวนะอย่างยากลุ่มเตตราซัยคลีน (Tetracycline) เพื่อลดการอักเสบของสิว
  • การรักษาอื่น ๆ เช่น การกดสิว การฉีดสเตียรอยด์ การผลัดเซลล์ผิว การฉายแสง
  • การรักษารอยแผลเป็นจากสิว ได้แก่ การฉีดฟิลเลอร์ การฉายแสง การผลัดเซลล์ผิว การกรอผิว การทำเลเซอร์ และการทำศัลยกรรมผิวหนัง ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีใดก็อยู่กับความเหมาะสมต่อคนไข้แต่ละราย

Cr. pobpad.com

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : เปิดอบรมหลักสูตรผลิตภัณฑ์สำหรับสิว ผิวแพ้ง่าย (Acne & Sensitive Skin Product Courses)