
บวบงูเงินแสน
บวบงูเงินแสน ชาวบ้านหลายครอบครัวใน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น หันมาปลูกบวบงู เป็นทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม โดยมีพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อถึงบ้าน ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดี สองฟากฝั่งริมคลองย่อยแม่น้ำพอง บ้านหนองแสง ต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งเช่นนี้ ได้มีชาวบ้านรายหนึ่งใน ชุมชนสันป่าสักพัฒนา ม.10 ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย หันมาปลูกพืชที่ทนแล้งอย่างผักหวาน ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตได้เป็นอย่างดี
นายจตุพงษ์ ตาเปียง อายุ 33 ปี ปัจจุบันเป็นนิติกรอยู่เทศบาล ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา ได้อาศัยวันว่างร่วมกับครอบครัวพัฒนาพื้นสวนประมาณ 30 ไร่ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อยเป็นพื้นที่ทางการเกษตรที่คุ้มค่าด้วยการปลูกผักหวานป่าปะปนไปกับสวนลำไยและพื้นที่เดิมที่เคยปลูกข้าวโพด ซึ่งเพาะปลูกมาได้ประมาณ 5 ปี สามารถเก็บยอดผักหวานป่าออกขายทุกๆ 3 วัน ให้ลูกค้าที่สำนักงานจนหมดทุกครั้ง นอกจากนี้ยังตอนกิ่งและนำเมล็ดผักหวานป่าที่ได้ออกขายสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดีด้วย
นายจตุพงษ์ กล่าวว่าตนสนใจด้านการเกษตรมาตั้งแต่เด็กเพราะพ่อแม่มีอาชีพทางการเกษตร ต่อมาเมื่อเรียนนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและไปต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนจบการศึกษาแล้วออกไปทำงานแล้ว ก็ได้หันมาใช้เวลาว่างพัฒนาการเกษตรโดยเห็นว่าการปลูกพืชต่างๆ เช่น ยางพารา ข้าวโพด ลำไย ฯลฯ ก็มีราคาไม่แน่นอน ใช้น้ำและสารเคมีมาก หลายชนิดต้องแผ้วถางพื้นที่ทำให้หน้าดินและป่าไม้เสียหาย
ต่อมาได้มีโอกาสพบพ่อหน่อ แม่มอญ ชาว อ.ขุนตาล ที่อยู่ในชุมชนสันติอโศกก็ได้เรียนรู้การนำเมล็ดผักหวานป่ามาปลูก โดยปลูกปะปนไปกับพืชชนิดอื่นๆ โดยไม่ต้องหาพื้นที่ใหม่ด้วยการใช้เหล็กแหลมเล็กแทงลงไปในดินลึกประมาณ 1 ฟุต จากนั้นหยอดเมล็ดที่นำมาเพาะจนมีรากงอกแล้วลงไปหลุมละ 3-4 เม็ด จากนั้นก็ดูแลพืชชนิดอื่นๆ ไปพลางก่อนรอประมาณ 1.6 ปีต้นผักหวานก็จะเติบโตแล้วให้ยอดเป็นผลผลิตไปตลอด
“ซึ่งการดูแลรักษาน้อยมากเพราะเป็นพืชป่าที่แทบจะไม่ต้องให้น้ำ ปุ๋ย หรือไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ เพราะมีภูมิคุ้มกันแมลงหรือสัตว์อื่นๆ ในตัวเอง เมื่อปลูกเมล็ดไว้เฉยๆ ก็ขึ้นต้นเองและมีอายุหลายสิบปีโดยมีลำต้นใหญ่เหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป ผมจึงเห็นว่าคุ้มค่าและเหมาะกับทุกพื้นที่โดยเฉพาะที่สูงไมมีน้ำมาก กระนั้นเนื่องจากผักหวานป่าท้องถิ่นภาคเหนือมีใบยาวเรียวและใช้เวลาปลูกนาน จึงหันไปซื้อเมล็ดพันธุ์จาก จ.สระบุรี พบว่าใบใหญ่โตและใช้เวลาปลูกสั้นกว่า อายุแค่ 2 ปีก็สามารถตอนกิ่งขยายพันธุ์หรือขายได้ ที่สำคัญรสชาติอร่อยเหมือนเดิม”
นายจตุพงษ์ กล่าวและว่า ปัจจุบันสามารถเก็บผักหวานขายส่งได้กิโลกรัมละ 200-300 บาท ซึ่งเมื่อพ่อค้าแม่ค้านำไปวางขายที่ตลาดก็จะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละประมาณ 400 บาท ส่วนเมล็ดจำหน่ายเป็นผลสดกิโลกรัมละ 300-350 บาท ซึ่งตนจะจำหน่ายแบบเพาะชำในถุงดำให้พร้อมมีพืชพี่เลี้ยงเป็นต้นดอกแคให้ 1 ต้นคู่กันเพราะผักหวานเป็นพืชป่าที่มีความแปลกโดยหากปลูกคู่กับพืชที่เหมาะสมจะเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังจำหน่ายกิ่งตอนกิ่งละตั้งแต่ 150-300 บาทแล้วแต่ขนาดอีกด้วย ส่วนการดูแลต้นผักหวานพบว่ามีความง่ายกว่าพืชชนิดอื่น
ปัจจุบันมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อทั้งเมล็ด กิ่งตอนและยอดใบอย่างต่อเนื่องแต่ตนไม่พอจะผลิตขายให้ รวมทั้งมีผู้เดินทางไปศึกษาดูงานที่บ้านและสวนอย่างต่อเนื่อง ตนจึงแนะนำให้ผู้สนใจปลูกเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำแล้งและรักษาผืนดิน เพราะเป็นไม้ยืนต้นที่ดูแลง่ายแบบพืชป่าทำให้ธรรมชาติสมบูรณ์และไม่ต้องใช้น้ำมากหรือโทรติดต่อตน 089-4325413 ทั้งนี้การปลูกวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเผาป่าตามที่เป็นกระแสข่าวแต่อย่างใดด้วย
สนับสนุนเนื้อหา
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : หนุ่มนักกม.หัวเกษตร ปลูกผักหวานป่าแก้แล้ง-ไม่ใช่สารเคมี ลูกค้าแห่ซื้อจนไม่พอขาย
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น