ปิดเมนู
หน้าแรก

“Smartphone Syndrome” ภัยร้ายที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม

เปิดอ่าน 146 views

“Smartphone Syndrome” ภัยร้ายที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม

Pepperrr

สนับสนุนเนื้อหา

เดี๋ยวนี้ชื่อโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะนะครับ โดยเฉพาะโรคร้ายภัยเงียบที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี สวัสดีเพื่อนๆชาว Pepper ทุกคน พบกันเป็นประจำทุกวันเช่นเคย สำหรับสาระความรู้ดีๆในบทความนี้เป็นเรื่องราวสุขภาพ เพราะเรากำลังจะเเนะนำให้คุณรู้จักโรคภัยไข้เจ็บชนิดหนึ่งที่คุณไม่ค่อยได้รู้จักเเละกำลังเป็นภัยเงียบที่คุกคามคุณภาพชีวิตของคนยุคไอที โรคนี้มีชื่อว่า สมาร์ทโฟน ซินโดรม (Smartphone Syndrome)

ซึ่งเป็นศัพท์ทางการเเพทย์ที่ได้ถูกนิยามขึ้นมาใหม่ ซึ่งรายละเอียดของโรคนี้เป็นเช่นไร จะน่ากลัวเเค่ไหนเราลองมาติดตามอ่านกัน

 

1. มาทำความรู้จักกับโรคสมาร์ทโฟนซินโดรมกัน

เมื่อเร็วนี้เพื่อนๆอาจเคยได้ยินชื่อโรคที่นิยามขึ้นมาใหม่อย่าง ออฟฟิส ซินโดรม (Office Syndrome) มาเเล้วซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆติดต่อกันจนำเกิดอาการ ปวดคอ บ่า หัวไหล่ ลามมาถึงเเขนเเละข้อมือ เเละที่ผ่านมาไม่นานก็ได้มีการนิยามชื่อโรคใหม่ของคนไอทีออกมาอีกเเล้ว โรคนี้มีชื่อว่า สมาร์ทโฟน ซินโดรม (Smartphone Syndrome) ที่เกิดจากคนสมัยนี้ต่างก้มหน้าอยู่กับมือถืออยู่ตลอดเวลาจนทำให้เกิดอาการปวดคอ ข้อมือเเละนิ้วมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

2. อาการของโรคสมาร์ทโฟนซินโดรมเป็นอย่างไร

จริงเเล้วอาการของโรค สมาร์ทโฟน ซินโดรม ก็คืออาการเดียวกันกับอาการของโรคเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งโรคนี้ก็มีมานานเเล้วเเหล่ะครับเพียงเเต่สมัยก่อนเป็นกันไม่มาก มักเกิดกับกลุ่มคนที่ใช้ข้อมือเยอะ เช่น นักปิงปอง นักเทนนิส นักเเบดมินตัน เเละคนทำงานที่เเต่ละวันต้องพิมงานเป็นจำนวนมาก เเต่ปัจจุบันความเจ็บป่วยด้วยโรคนี้มีมากขึ้นโดยเฉพาะเกิดกับคนส่วนใหญ่เพราะวิถีชีวิตเปลี่ยนไป สาเหตุหลักก็มาจากการใช้มือถือมากเกินไป ทำให้เส้นเอ็นข้อมือเเละนิ้วถูกใช้งานมากจนเกิดการเสียดสีกันนานๆต่อเนื่องเข้าจนเกิดการอักเสบจนเกิดอาการปวดบวมขึ้นในที่สุด

3. ลองสังเกตตัวเองดูซิว่าคุณเป็นโรคสมาร์ทโฟนซินโดรมอยู่หรือไม่?

คุณควรลองสังเกตตัวเองดูซิว่ารู้สึกว่ามีอาการปวดตามข้อมือข้อนิ้วบ่อยเเค่ไหน หากเริ่มปวดบ่อยปวดถี่ๆมากขึ้นเเสดงว่ามีโอกาสที่จะเป็นโรคสมาร์ทโฟน ซินโดรมเเล้วล่ะ คุณควรจะไปพบเเพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องอาการเพื่อวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด โดยเเพทย์จะถามถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เเละอาชีพการงานที่คุณทำเพื่อประกอบการวิเคราะห์ จากนั้นจะทำการตรวจคลำจุดเพื่อระบุชี้ชัดลงไปว่านี่เป็นอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น หากเป็นการอักเสบของเส้นเอ็นก็นั่นเเหล่ะครับ เเสดงว่าคุณเป็นสมาร์ทโฟน ซินโดรมเข้าเเล้ว เเละต้องทำการรักษาต่อไป

 

4. การรักษาโรคสมาร์ทโฟน ซินโดรม

นอกจากการรักษาด้วยยา หรือการเข้ารับการผ่าตัดเเล้ว ทางเลือกการรักษาโรคสมาร์ทโฟน ซินโดรม อาจทำได้โดยการฝังเข็มโดยเเพทยจะฝังเข็มลงไปยังจุดที่พังผืดไปเกาะตัวเป็นก้อน ซึ่งการฝังเข็มลงไปที่จุดนั้นจะทำให้เส้นเอ็นคลายตัวเเละช่วยบรรเทาอาการปวดได้มาก เเต่คนที่เจ็บปวดด้วยอาการสมาร์ทโฟน ซินโดรมเรื้อรังมานานการฝังเข็มครั้งเดียวอาจยังไม่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้

เเต่จะดีขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยต้องมาเข้ารับการฝั่งเข็มอีกประมาณ 2-3 ครั้ง หลังจากอาการทุเลาลงคุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน หากคุณยังมีกิจวัตรประจำวันเเละรูปเเบบการทำงานเดิมๆอยู่ ก็อาจกลับมาเป็นโรคนี้ได้อีก สำหรับคนที่หายขาดเเล้ว หรือยังไม่เป็นโรคสมาร์ทโฟน ซินโดรม เราขอเเนะนำให้ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ด้วยการรู้จักพักจากการจิ้มบ้างไม่ว่าจะนั่งพิมงานคอมพิวเตอร์หรือนั่งจิ้มสมาร์ทโฟน

 

หากพบว่าจิ้มมาเป็นเวลาต่อเนื่องเเล้ว 1 ชั่วโมง คุณควรวางมันลงบ้างซักประมาณ 10-15 นาที สะบัดไม้สะบัดมือผ่อนคลายเส้นเอ็นเเละกล้ามเนื้อระหว่างการพัก เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณห่างไกลจากภัยเงียบนี้เเล้วครับ

ทั้งหมดนี้ก็คือสาระความรู้ดีๆด้านสุขภาพที่เรานำมาฝากทุกท่านในวันนี้ ซึ่งเราก็หวังว่าทุกคนคงจะได้รู้จักภัยเงียบที่อาจคุกคามชีวิตของคุณโดยไม่รู้ตัวอย่างโรคสมาร์ทโฟน ซินโดรม รวมถึงเเนวทางการป้องกัน เเละรักษา เเละหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณจะชอบบทความนี้ไม่มากก็น้อย

 

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : “Smartphone Syndrome” ภัยร้ายที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม