ปิดเมนู
หน้าแรก

5 โรคร้ายถามหา หาก “กลางวันง่วง กลางคืนตาสว่าง”

เปิดอ่าน 427 views

5 โรคร้ายถามหา หาก “กลางวันง่วง กลางคืนตาสว่าง”

5 โรคร้ายถามหา หาก “กลางวันง่วง กลางคืนตาสว่าง”

เชื่อว่ามนุษย์ออฟฟิศ หรือแม้กระทั่งฟรีแลนซ์ และวัยทำงานหลายคนน่าจะเคยมีอาการแบบนี้กันมาบ้าง นั่นคือช่วงกลางวันง่วง แต่ช่วงกลางคืนกลับตาสว่าง นอนไม่หลับ ซ้ำยังสมองแล่น ปั่นงานรัวๆ อีกต่างหาก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่จริงๆ แล้วขอให้รู้เอาไว้ว่าสุขภาพของคุณกำลังรวน และรวนหนักเสียด้วย เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพมากมาย

ขอพาทุกคนมาเช็คกันดีกว่าคุณกำลังเสี่ยงโรคร้ายอะไรกันอยู่บ้าง

10 โรคร้ายถามหา หาก “กลางวันง่วง กลางคืนตาสว่าง”

1. โรคนอนไม่หลับ

แน่นอนอยู่แล้วว่าการไม่นอนตอนกลางคืน เป็นต้นกำเนิดของปัญหานอนไม่หลับในระยะต่อมา เพราะเมื่อร่างกายเริ่มคุ้นชินกับการไม่นอนตอนกลางคืนนานวันเข้า ก็จะทำให้นาฬิกาชีวิตรวน แทนที่จะได้พักผ่อนตอนกลางคืน และตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นแจ่มใส พร้อมทำงานในวันรุ่งขึ้น กลับไม่ได้นอน แล้วต้องมานั่งทำงานในตอนกลางวันแทน นานๆ ครั้งไม่เป็นไร แต่หากเป็นแบบนี้บ่อยๆ โรคนอนไม่หลับถามหาแน่นอน

2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ใครที่ทำงานตอนกลางคืน แล้วยังหาอะไรมาทานช่วงดึกไปด้วย ยิ่งทำให้กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ต้องมาย่อยอาหารในเวลาที่สมควรจะได้พักผ่อน ยิ่งช่วงไหนทำงานไม่ตรงเวลา นอนไม่ตรงเวลา กินบ้างไม่กินบ้าง น้ำย่อยออกมาบ้าง ไม่ออกมาบ้าง ระบบย่อยในกระเพาะอาหารรวนแน่นอน คราวนี้ทานอาหารปุ๊บ อาหารอาจจะไม่ย่อยเพราะน้ำย่อยไม่ออกมาทำงาน หรือบางครั้งน้ำย่อยออกมาแล้ว แต่ไม่มีอาหาร ก็กัดกระเพาะกันไปอีก เขาถึงบอกว่าการทานอาหารให้ตรงเวลาเป็นเรื่องสำคัญ

3. โรคมะเร็งลำไส้

สืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว เมื่อระบบการลำเลียงอาหาร การย่อยอาหารผิดปกติ ก็อาจส่งผลให้การทำงานลำไส้ผิดปกติไปด้วย เป็นเหตุให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ได้หลายโรค ไม่ว่าจะเป็นลำไส้อักเสบ หรือมะเร็งลำไส้ได้

4. โรคเบาหวาน

เมื่อกลางคืนตาส่างนั่งปั่นงาน แต่ตอนกลางวันง่วงซึม ไม่ร่าเริงสดใส จึงขาดการดูแลเอาใจใส่ร่างกาย ทั้งเรื่องการเลือกทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ และการเผาผลาญพลังงานด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะฉะนั้นใครที่ซ้ำร้ายยังติดแป้ง ติดน้ำตาล ติดเครื่องดื่มหวานๆ ก็อาจมีสิทธิ์ได้โรคเบาหวานเป็นของแถมอีกต่างหาก

5. ฮอร์โมนผิดปกติ

เมื่อฮอร์โมนที่เป็นตัวรักษาสมดุลของร่างกายในทุกด้านทำงานผิดปกติ จะทำให้คุณกลายเป็นคนอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวซึมเศร้า เดี๋ยวเหวี่ยงวีน นอกจากนี้ยังอาการอื่นๆ อีกมากมายที่มาจากฮอร์โมนผิดปกติ เช่น รอบเดือนเดี๋ยวมาเดี๋ยวขาด เสี่ยงเป็นซีสต์ที่หน้าอกหรือรังไข่ หรือมีอาการต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ เป็นต้น

วิธีปรับเวลานอนให้เป็นปกติ นอนกลางคืน ทำงานกลางวัน

  1. เข้านอนแต่หัวค่ำ ทำใจให้สบาย อาจนั่งสมาธิ ดื่มนมอุ่นๆ แก้วเล็กๆ ฟังบทสวดธรรมมะ หรือฟังเพลงช้าๆ เบาๆ ปิดไฟนอน เพิ่มกลิ่นอโรมาในห้องนอนที่ทำให้จิตใจผ่อนคลาย
  2. ตื่นนอนตอนเช้าเวลาเดิมๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะรู้สึกง่วงมากแค่ไหนก็ตาม หากได้ตื่นเวลาเดิมๆ เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายมีความคุ้นชินกับนาฬิกาชีวิตใหม่ และจะค่อยๆ ปรับให้เป็นปกติได้อย่างช้าๆ
  3. หลีกเลี่ยงการทำงานผิดเวลาเป็นเวลานานๆ ควรรู้จักแบ่งสรรจัดเวลาในการทำงาน ทานข้าว และพักผ่อนให้เป็นเวลาตามปกติ ไม่ล้ำเส้นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
  4. หากง่วงนอนในตอนกลางวัน ไม่ควรนอน เพราะจะทำให้ตอนกลางคืนไม่ง่วงตามที่ควรจะเป็น แต่หากง่วงนอนมากๆ ควรใช้วิธีงีบหลับสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาทีเท่านั้น

 

ร่างกายของเราทำงานตามเวลา เราควรรักษาเวลาของร่างกายให้เป็นปกติตามไปด้วย เพื่อที่ระบบต่างๆ ภายในร่างกายจะได้ทำงานตามปกติ ระบบไม่รวน เพราะเมื่อใดที่ระบบภายในร่างกายรวน ก็จะเป็นสาเหตุให้ภูมิคุ้มกันต่ำ และเป็นสาเหตุของสารพัดโรคที่จะเข้ามาทำร้ายร่างกายของเราค่ะ

 

credits:

ภาพประกอบจาก pixabay

Sanook! Health

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : 5 โรคร้ายถามหา หาก “กลางวันง่วง กลางคืนตาสว่าง”