ปิดเมนู
หน้าแรก

“หายใจลำบาก” เสี่ยง “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า?

เปิดอ่าน 112 views

“หายใจลำบาก” เสี่ยง “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า?

“หายใจลำบาก” เสี่ยง “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า?

 
Hello Khun Mor

สนับสนุนเนื้อหา

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คืออาการผิดปกติของปอด ที่ทำให้ผู้ป่วยนั้นหายใจหอบ เหนื่อยล้า และต้องดิ้นรนเพื่อที่จะหายใจได้ดี หากคุณเป็นโรคนี้ ในบางครั้งการหายใจขณะเดินหรือออกกำลังกายอาจจะเป็นเรื่องยากมาก คุณอาจจะพบว่า แค่การนั่งหรือพักผ่อน ก็ทำให้คุณหายใจหอบได้ อาการหายใจลำบาก (Dyspnea) นั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายของปอดและการที่ปอดทำงานผิดปกติ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือกลุ่มอาการของความผิดปกติของปอด โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) คือสองอาการหลักในหมวดหมู่นี้ ผู้ป่วยจำนวนมากนั้นมีทั้งสองอาการนี้พร้อมๆ กัน ดังนั้น จึงเรียกโดยรวมว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่มีการพัฒนา หมายถึงอาการของโรคจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ แม้แต่การรักษาก็ยังไม่สามารถรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้หายขาด หรือหยุดโรคนี้ได้ แต่คุณสามารถชะลอการพัฒนาของโรคและพยายามป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับปอดของคุณได้ อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรก มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการเหนื่อยล้าทั่วไป หรือแค่ร่างกาย “ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดี” จนกระทั่งความผิดปกตินั้นพัฒนาขึ้น และสามารถตรวจจับ และสังเกตเห็นอาการได้มากขึ้น อาการทั่วไปของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีดังนี้

  • หายใจหอบ
  • แน่นและปวดหน้าอก
  • ไอ
  • มึนงง
  • มีเสมหะในปอดที่มักจะออกมาเมื่อคุณไอ
  • รู้สึกเหนื่อยหรือล้าบ่อย
  • ติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ
  • ไอมีเสลด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • หายใจมีเสียงหวีด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำร้ายปอดของคุณอย่างไร

ถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ต่างโจมตีปอดในทางที่แตกต่างกัน ถุงลมโป่งพองนั้นทำลายผนังที่อยู่ในถุงลมในปอด เมื่อถุงลมใหญ่เกินไป ก็จะทำให้ผนังมีรอยแตกร้าว ซึ่งส่งผลกระทบกับกระบวนการในการแลกเปลี่ยนแก๊ส การนำพาออกซเจนไปสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย และการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยถุงลมที่เสียหายและลดลง ทำให้ปอดของคุณไม่สามารถเก็บและเคลื่อนย้ายอากาศได้มากเท่าที่เคยทำได้ แล้วไม่นานปอดของคุณก็จะไม่มีความสามารถพอที่คุณจะทำกิจกรรมตามปกติ คุณจะสังเกตพบว่า คุณเหนื่อยและหายใจหอบเร็วขึ้น หลอดลมอักเสบและระคายเคืองด้านในของหลอดลม เมื่อเวลาผ่านไป อาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังจะทำให้ด้านในหลอดลมหนาขึ้น และไม่ยืดหยุ่น เสมหะส่วนเกินจะกลายเป็นปัญหา เนื่องจากหลอดลมไม่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้อย่างเหมาะสม แล้วสุดท้ายหลอดลมของคุณก็จะอุดตันไปด้วยเสมหะ ทำให้หายใจติดขัด คุณจะรู้สึกว่าคุณหอบได้เร็วกว่าปกติ และอาจรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายมากขึ้น

การวัดระดับของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

มีหลากหลายวิธีที่จะวัดระดับของอาการหายใจหอบ แพทย์อาจจะใช้ระบบที่เรียกว่า มาตรวัดความรู้สึกเหนื่อย (Modified Medical Research Council Dyspnea Scale) มาตรวัดอื่นๆ ได้แก่ ค่าดัชนีพื้นฐานการหายใจลำบาก (baseline dyspnea index) และแผนภูมิการใช้ออกซิเจน จากงานวิจัยในวารสาร Annals of Thoracic Medicine มาตรวัดนั้นจะเกี่ยวข้องแค่ระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากอาการหายใจหอบแล้ว มาตรวัดความรู้สึกเหนื่อย ไม่ได้คำนึงถึงความบกพร่องทางกายภาพอื่นๆ ในงานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้ แม้ว่านักวิจัยจะให้ข้อมูลไว้ว่า มาตรวัดความรู้สึกเหนื่อยเป็นมาตรวัดที่พบได้มากที่สุด เพราะมันเรียบง่าย ใช้ได้ง่าย และสามารถประเมินโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อย่างสมบูรณ์ ในการใช้มาตรวัดนี้ คุณจะต้องเลือกระดับเพื่อบรรยายอาการหายใจหอบของคุณดังนี้

 
  • “ฉันหายใจหอบแค่เฉพาะช่วงที่ฉันออกกำลังกายอย่างหนักเท่านั้น”
  • “ฉันมีอาการหายใจไม่อิ่ม เมื่อเร่งรีบเดินในระดับพื้นดิน หรือเดินขึ้นเนินเล็กๆ”
  • “ฉันเดินช้ากว่าคนอื่นที่อายุเท่ากันในระดับพื้นดิน เนื่องจากหายใจหอบ หรือต้องหยุดพักหายใจ เมื่อเดินตามจังหวะของตัวเองในระดับพื้นดิน”
  • “ฉันหยุดพักหายใจหลังจากที่เดินไปประมาณ 50 เมตร หรือหลังจากผ่านไปไม่กี่นาทีในระดับพื้นดิน”
  • “ฉันหายใจหอบมากเกินกว่าจะออกจากบ้าน” หรือ “ฉันหายใจหอบขณะที่กำลังแต่งตัว”

แพทย์จะใช้คำตอบของคุณเพื่อบ่งชี้การรักษา คาดเดาความอยู่รอด และเมื่อใช้ร่วมกับการตรวจสมรรถภาพปอดเอฟอีวี1 (FEV1 lung function test) ก็จะสามารถวินิจฉัยระดับของความผิดปกติได้

จะป้องกันอาการหายใจหอบได้อย่างไร

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ยาและการรักษาสามารถช่วยชะลอการพัฒนาของโรค และป้องกันความเสียหาย แต่ไม่สามารถหยุดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ การรักษายังไม่สามารถฟื้นฟูความเสียหาย ที่โรคทำไว้กับปอดและหลอดลมให้กลับดังเดิมได้ อย่างไรก็ตาม คุณอาจสามารถประคับประคองการทำกิจกรรมตามปกติส่วนใหญ่ได้ คุณจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ชาญฉลาด ที่จะช่วยคุณจัดการกับอาการหายใจหอบและความเหนื่อยล้า

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอาจทำให้คุณหายใจหอบ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการนั้น คุณสามารถหลีกเลี่ยงทุกการออกกำลังกายได้ แต่คุณไม่ควรทำ การออกกำลังกายช่วยให้ปอดของคุณแข็งแรงขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มพลังกาย และลดการหายใจหอบ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไป ปรึกษากับแพทย์เพื่อหาวิธีการออกกำลังกายที่ปลอดภัย สำหรับระดับความฟิตของคุณ และจะไม่ทำให้อาการของคุณแย่ลง

ฝึกฝนวิธีการหายใจที่เหมาะสม

หากคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แพทย์อาจจะให้คุณไปหานักบำบัดทางเดินหายใจ (Respiratory therapist) ทีมที่จะช่วยคุณในการจัดการกับโรคนี้ได้ นักบำบัดทางเดินหายใจสามารถสอนวิธีการเก็บลมหายใจ ในเวลาที่คุณออกกำลังกาย คุณยังอาจจะได้เรียนรู้วิธีการออกกำลังกาย ที่จะช่วยให้คุณฟื้นฟูลมหายใจกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อคุณหายใจหอบ

กำจัดพฤติกรรมที่ไม่ดี

การสูบบุหรี่สามารถนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หากคุณสูบบุหรี่ ควรเลิกแล้วดูว่าอาการดีขึ้นอย่างไรบ้าง แม้ว่าคุณจะเคยลองและล้มเหลวมาแล้ว ก็ควรที่ลองใหม่อีกครั้ง แพทย์จะช่วยหาแนวทางในการเลิกบุหรี่ที่ได้ผลกับคุณ ผู้ที่สูบบุหรี่ส่วนมากมักจะไม่สามารถเลิกได้ในช่วงครั้งแรกๆ แต่อย่าให้มันมาเป็นอุปสรรคของคุณ หากคุณสามารถเลิกบุหรี่ได้ คุณจะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และสุขภาพดีขึ้นอย่างแน่นอน

รับอากาศที่ดี

นอกจากควันบุหรี่แล้ว มลพิษในอากาศก็สามารถทำอันตรายต่อปอดของคุณแล้วทำให้คุณหายใจหอบได้ พยายามหลีกเลี่ยงไอควันเสีย กลิ่นสี หรือแม้แต่อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่อาจกระตุ้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ แม้ว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายไปได้ แต่คุณยังสามารถที่จะควบคุมอาการหายใจหอบได้ คุณควรจะเข้าใจวิธีการถ่ายทอดอาการของคุณให้แพทย์ได้รับทราบ เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ใช้เทคนิคด้านบนเพื่อป้องกันอาการหายใจลำบาก ชะลอกระบวนการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และเพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานของปอด เพื่อชีวิตที่สบายและแข็งแรงยิ่งขึ้น Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : “หายใจลำบาก” เสี่ยง “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า?