ปิดเมนู
หน้าแรก

สุดยอด 3 สมุนไพรไทยขับเสมหะ แก้ไอ

เปิดอ่าน 975 views

สุดยอด 3 สมุนไพรไทยขับเสมหะ แก้ไอ 

ชะเอมไทย

ชะเอมไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Albizia myriophylla  Benth.

วงศ์ :   Leguminosae – Mimosoideae

ชื่ออื่น :  ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)       

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก เกสรเพศผู้ยาว ผล เป็นฝักแบน ผิวเรียบ ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก

        ส่วนที่ใช้ : ราก เนื้อไม้

          สรรพคุณ :

                    – ราก  – แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใช้แทนชะเอมเทศ

                    – เนื้อไม้   – บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ

        วิธีและปริมาณที่ใช้

                    – แก้ไอขับเสมหะ

            ใช้รากยาว 2-4 นิ้ว ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น ถ้าไม่ทุเทา รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน

มะขามป้อม

Sliced Amla

        ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus emblica  L.

        ชื่อสามัญ :  Emblic myrablan, Malacca tree

        วงศ์ :   Euphorbiaceae

        ชื่ออื่น :   กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ  ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

        ส่วนที่ใช้ : น้ำจากผล ผลโตเต็มที่

        สรรพคุณ :   

  • น้ำจากผล  –  แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
  • ผล – แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

        วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

        ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Schefflera leucantha  R. Vig.

        วงศ์ :   Araliaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก
 

ส่วนที่ใช้ :  ใบสด

        สรรพคุณ :

  1. รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ
  2. รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  3. รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด
  4. ตำพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด

        วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • รักษาโรคหืด แพ้อากาศ ขับเสมหะ และโรคหลอดลมอักเสบ
    ใช้ใบสดเล็กๆ 9 ใบ ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น เป็นเวลา 49 วัน หืดควรจะหาย
  • ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด
    ใช้ใบสด 12 ใบย่อย ตำคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน
  • ใช้รักษาวัณโรค
    ใช้เหมือนวิธีที่ 1 ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย แล้วให้รับประทานต่อมาอีกระยะหนึ่ง

        สารเคมี :
         พบ Oleic acid, butulinic acid, D – glucose, D – Xylose, L – rhamnose

แหล่งอ้างอิง : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm

safari tours in tanzania

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : สุดยอด 3 สมุนไพรไทยขับเสมหะ แก้ไอ