ปิดเมนู
หน้าแรก

สารสกัดจากว่านหางจระเข้ (Aloe Vera Extract) ช่วยต่อต้านริ้วรอย

เปิดอ่าน 2,575 views

สารสกัดจากว่านหางจระเข้ (Aloe Vera Extract) ช่วยต่อต้านริ้วรอยaloe vera extract สารสกัดจากวานหางจรเข้

ว่านหางจระเข้พืชสมุนไพรที่อยู่คู่บ้านเรามานาน อย่างที่รู้ๆ กันว่ามันสามารถใช้รักษาบาดแผลจากน้ำร้อนลวกและช่วยทำให้เป็นดูจางลงได้เป็นอย่างดีหรือจะนำมารับประทานเพื่อช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารแล้ว ทุกวันนี้ว่านหางจระเข้ยังถูกนำมาใช้กับเครื่องสำอางต่างๆ อีกด้วย

เนื่องด้วยว่าว่านหางจระเข้มีวิตามิน ซี อี รวมทั้งเบต้าแคโรทีน  สารต่อต้านอนุมูลอิสระ  จึงช่วยต่อต้านริ้วรอย เพิ่มความใสให้กับผิว ช่วยให้ผิวเราดูอ่อนวัย ผิวหน้าสดชื่น เปล่งปลั่ง ผิวพรรณผุดผ่อง มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว และลบรอยจุดด่างดำ พร้อมทั้งยังรักษาผิวหน้าที่ไหม้เกรียมและถูกแดดเผาอย่าง ๆได้ผลอีกด้วย

 

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (Linn.) Burm. f.
  • ชื่อสมุนไพร ว่านหางจระเข้
  • ชื่อวงศ์           ALOACEAE
  • ชื่อพ้อง           Aloe barbardensis Mill. Aloe indica Royle
  • ชื่ออังกฤษ        Aloe, Barbados aloe, Crocodile’ tongue, Indian aloe, Jafferbad, Mediteranean aloe, Star cactus, True aloe
  • ชื่อท้องถิ่น        ว่านไฟไหม้, หางตะเข้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก มีข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนามแหลม แผ่นใบหนาอวบน้ำมาก ข้างในเป็นวุ้นใส น้ำยางสีน้ำตาลอมเหลือง ดอกเป็นช่อแตกออกที่ปลายยอด โคนดอกย่อยเชื่อมติดกันเป็นหลอด  ปลายกลีบดอกแยกเป็น 6 แฉก สีส้มแกมเหลือง ผลเป็นผลแห้ง แตกได้

 ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

  • วุ้นจากใบ ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ผิวหนังอักเสบ บวม แมลงกัดต่อย เริม และฝี
  • ยางจากใบและต้น       ใช้รักษาอาการท้องผูก

 สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธ

สารสำคัญในการออกฤทธิ์สมานแผลคือ aloctin A และ aloctin B  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือ aloctin A, veracylglucan B และ C และbradykininase  ส่วน traumatic acid ออกฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร  สารกลุ่ม anthraquinones ออกฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ ลดอาการท้องผูกAloe-vera

 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

จากการทดลองในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร 12 ราย โดยนำน้ำวุ้นว่านหางจระเข้มาเตรียมให้อยู่ในรูป emulsion แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานครั้งละ2 – 2.5 ออนซ์ (1 fluid ounce เท่ากับ 30 มิลลิลิตร) พบว่าผู้ป่วยทุกรายหาย  เชื่อว่าสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ traumatic acid ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบในพืช ปะปนอยู่กับวุ้นในใบ (มิวซิเลจ) ต่างๆ ออกฤทธิ์โดยลดการหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และสารประกอบในวุ้นในใบได้แก่ manuronic และ glucuronic acidช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ในปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรตำรับยาที่มีผงว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer) กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ปวดแสบปวดร้อนในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารมีการหดเกร็งและการย่อยอาหารไม่ดี  นอกจากนี้ยังมีการนำสารโพลีแซคคาไรด์ในว่านหางจระเข้ มาทำเป็นยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังและแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง

การศึกษาฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรทของวุ้นว่านหางจระเข้มีหลายแห่ง ซึ่งพบการศึกษาทั้งที่ไม่ให้ผลการรักษา และให้ผลการรักษาดี โดยพบว่าสารออกฤทธิ์คือ aloctin A, aloctin B และ polysaccharidenatural-acne-treatments-aloe-vera

นอกจากการศึกษาโดยใช้ส่วนของวุ้นแล้วยังมีการศึกษากับสารสกัดว่านหางจระเข้  พบว่าได้ผลในการป้องกันการเกิดแผลและรักษาแผลในกระเพาะอาหารเช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ไม่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ prostaglandin ชนิดที่มีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร  หรือลดการหลั่งน้ำย่อยและกรด อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษากลับพบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร  และกระตุ้นการหลั่งกรด

ฤทธิ์ในการสมานแผล

การนำขี้ผึ้งซึ่งมีว่านหางจระเข้ร้อยละ 50 ไปใช้รักษาแผลถลอก พบว่ามีอัตราการหายของแผลดี  และได้ผลดีกับแผลถลอก  และแผลไม่ติดเชื้อ  มีผู้นำขี้ผึ้งว่านหางจระเข้ไปใช้กับแผลเรื้อรัง และสิว  นอกจากนี้มีการนำมาใช้รักษาแผลภายนอกได้ผลโดยใช้ร่วมกับ Vitamin E  และยังมีรายงานผลดีของว่านหางจระเข้ต่อมาอีกหลายฉบับ ซึ่งสันนิษฐานว่าการที่แผลหายเร็วขึ้นเนื่องจากว่านหางจระเข้ช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมผิว การใช้ว่านหางจระเข้ในผู้ป่วยผ่าตัดจมูก พบว่าทำให้แผลหายเร็วขึ้น และมีการนำไปใช้รักษาแผลที่เกิดจากการรักษาสิวด้วยวิธีดูดหัวสิว สารสกัดด้วยน้ำเมื่อนำไปใช้หลังการผ่าตัดฟัน พบว่าช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น  การทดลองในผู้ป่วย 31 คนซึ่งเป็นแผลในปาก พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 77 มีความรู้สึกปวดน้อยลง ในขณะที่ผู้ป่วยร้อยละ 80มีแผลดีขึ้น  และการนำว่านหางจระเข้ไปรักษาแผลที่เกิดจากการถอนฟัน พบว่าลดการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ (alveolar osteitis) ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาclindamycin  มีการนำวุ้นว่านหางจระเข้มารักษาแผล โดยศึกษาในผู้ป่วย 60 คน ที่มีบาดแผลจากอุบัติเหตุ พบว่าช่วยทำให้แผลหายสมบูรณ์ได้รวดเร็วกว่าการใช้ยาโพวิโดน ไอโอดีน นอกจากนี้ยังมีการนำวุ้นว่านหางจระเข้สด (เตรียมและใช้ภายใน 6 ชั่วโมง) มาทดสอบในผู้ป่วยจิตเวช 4 คน พบว่าช่วยลดขนาดของแผลลง 

อย่างไรก็ตามมีผู้รายงานถึงการนำว่านหางจระเข้มาใช้รักษาแผลแล้วไม่ได้ผลอยู่บ้าง เช่น การทดลองในหญิง 21 คน พบว่าแผลหายช้า การนำว่านหางจระเข้ผสม silicon dioxide และ allantoin ไปรักษาแผลในปากพบว่าไม่ได้ผล การนำสาร acemannan จากว่านหางจระเข้ไปใช้รักษาแผลกดทับในผู้ป่วย 30ราย พบว่าได้ผลไม่ดีไปกว่าน้ำเกลือ   

ด้วยฤทธิ์สมานแผล จึงมีผู้นำว่านหางจระเข้ไปใช้รักษาแผลอักเสบต่างๆ ได้แก่ แผลที่เกิดจากการแพ้ sodium lauryl sulfate ในผงซักฟอก พบว่าได้ผลดี หรือใช้ผสมในน้ำยาทำความสะอาดผิวหนังโดยใช้สารสกัดว่านหางจระเข้ผสมน้ำยาล้างแผล และน้ำยารักษาแผลในปาก เป็นต้นALoe-Leaf cross-section

ฤทธิ์รักษาแผลไหม้จากการฉายรังสี

มีผู้นำว่านหางจระเข้มาใช้รักษาอาการผิวหนังอักเสบจากการได้รับรังสี พบว่าอาการดีขึ้น โดยใช้ในรูปของวุ้นว่านหางจระเข้ ใบสดทั้งใบ ขี้ผึ้ง และอีมัลชั่น ซึ่งพบว่าใบสดให้ผลดีกว่าขี้ผึ้ง ในการศึกษาถึงกระบวนการออกฤทธิ์พบว่าเกี่ยวข้องกับการจับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นหลังฉายแสง แล้วมีผลทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อลดลง  อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางอันให้ผลขัดแย้ง เช่น การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมซึ่งรักษาด้วยการฉายรังสี 225 คน พบว่ากลุ่มที่ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ความเข้มข้นร้อยละ 95 ไม่ได้ผล ผู้ป่วยยังมีอาการคันและปวดแสบปวดร้อน ซึ่งตรงกับผลการทดสอบในผู้ป่วยมะเร็ง 108 คนในอีกการศึกษาหนึ่ง

นอกจากผลในการรักษาแผลอักเสบที่เกิดจากรังสีแล้ว ได้มีผู้สนใจศึกษาผลในการป้องกันการทำลายผิวหนังจากแสง UV มีผู้ทดลองในผู้ป่วย 12 ราย ว่าช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น มีการพัฒนาตำรับวุ้นว่านหางจระเข้ซึ่งใช้ป้องกันผิวหนังถูกแผดเผาจากแสงแดด พบว่าได้ผลดี และทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น  จึงได้มีการจดสิทธิบัตรอีมัลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำว่านหางจระเข้ที่ไม่มี aloin (ในสัดส่วนร้อยละ 60-70) พบว่าสามารถรักษาอาการผิวหนังอักเสบจากแสงแดดได้ แต่มีบางรายงานแสดงให้เห็นว่าการใช้เจลว่านหางจระเข้ในการรักษาและป้องกันอาการอักเสบแดงเนื่องจาก UVB นั้นไม่ได้ผล

Aloe-Vera-Uses

ฤทธิ์รักษาแผลไหม้จากความร้อน

มีการศึกษาในผู้ป่วย 38 ราย โดยใช้วุ้นสด พบว่าได้ผลร้อยละ 95 เมื่อเปรียบเทียบกับยาทาแผลป้องกันการติดเชื้อ silver sulfadiazine ซึ่งได้ผลเพียงร้อยละ 83  โดยที่มีอาการไม่พึงประสงค์บ้างเล็กน้อย คือ รู้สึกระคายเคือง  มีการศึกษาผลของครีมว่านหางจระเข้ในผู้ป่วยนอกที่เป็นแผลไหม้ระดับ 2 พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ silver sulfadiazine แล้วกลุ่มที่ได้รับว่านหางจระเข้มีแผลหายเร็วกว่ากลุ่มที่ใช้ silver sulfadiazine โดยแผลหายในเวลา 13 ± 2.41 วัน และ 16.15± 1.98 วัน ตามลำดับ จากรายงานผลการรักษาในคนไข้ 27 ราย เปรียบเทียบกับ vaseline พบว่าหายในเวลา 11.89 วัน และ 18.19 วันตามลำดับ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีผู้เชื่อว่า แผลที่หายอาจเป็นผลเนื่องจากส่วนผสมที่เป็นน้ำมันในครีมทำให้แผลไม่แห้งจึงหายเร็วก็ตาม  แต่ผลการทดลองข้างต้นก็น่าจะยืนยันประสิทธิภาพของครีมวุ้นว่านหางจระเข้ได้   นอกจากวุ้นว่านหางจระเข้แล้ว ยังมีผู้พัฒนาตำรับขี้ผึ้งว่านหางจระเข้ใช้สำหรับรักษาแผลไหม้เนื่องจากน้ำร้อนลวกอีกด้วย

 

aloe-vera-health-benefits

ฤทธิ์ลดการอักเสบ

มีการนำว่านหางจระเข้ไปใช้ประโยชน์เพื่อลดการอักเสบในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ครีมทารักษาโรคผิวหนังและแผลอักเสบ  ผสมกับ lidocaine (ยาชา) และ diphenhydramine (ยาแก้แพ้) ใช้รักษาการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน  ผสมกับ glycyrrhetinic acid รักษาการอักเสบ  และตำรับยาผสมกับสมุนไพรอื่น  การทำเป็นโลชั่นโดยมีส่วนประกอบของวุ้นว่านหางจระเข้ วิตามินซี วิตามินอี และไฮโดรคอร์ติโซน อะซิเตรต ใช้ทาผิวหนังหลังโกนขนหรือผม พบว่าสามารถลดการอักเสบและการระคายเคืองต่อผิวหนังได้  มีการนำว่านหางจระเข้ไปรักษาสิว  รักษาอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ  รักษาอาการไอโดยฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้เข้าหลอดลมเป็นเวลา 10 วัน พบว่าได้ผลดี  และมีผู้เตรียมตำรับยาหยดแก้ไอจากโพลีแซคคาไรค์  รักษาอาการอักเสบเนื่องจากหิมะกัด  รักษาอาการโรคปอดอักเสบเรื้อรัง  รักษาเหงือกอักเสบ รักษาอาการบาดเจ็บของนักกรีฑา  นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบจำนวน 42 คน  โดยให้ผู้ป่วย 30 คน รับประทานน้ำว่านหางจระเข้ 100 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ และผู้ป่วยอีก 14 คน ให้รับประทานยาหลอก  พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับน้ำว่านหางจระเข้ จะมีลำไส้ใหญ่อักเสบลดลงโดยแผลดูดีขึ้นและมีขนาดเล็กลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก แสดงว่าน้ำว่านหางจระเข้ช่วยลดการอักเสบของลำไส้ใหญ่ได้

ในปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรยาแคปซูลที่มีส่วนประกอบของสารสกัดน้ำมะละกอ น้ำหม่อน น้ำว่านหางจระเข้ ที่ทำให้แห้ง ขนาด 200, 100 และ 50 มิลลิกรัมตามลำดับ  อาหารเพื่อสุขภาพที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ร้อยละ 85-90 และ วิตามินซีร้อยละ 3-10  ใช้ต้านการอักเสบ และตำรับยาเม็ดที่มีส่วนประกอบของสาร b-sitosterol (ที่ได้จากวุ้นว่านหางจระเข้) ขนาด 10 มิลลิกรัม สำหรับรักษาโรคไขข้ออักเสบ

 

health and wellness aloe vera

 

ฤทธิ์เป็นยาระบาย

มีการจดสิทธิบัตรยาที่มีส่วนผสมของสารสกัดมะขามแขก 30-40 ส่วน สารสกัดว่านหางจระเข้ 30-40  ส่วน สารสกัดหมาก 20-30 ส่วน oryzanol 3-4ส่วน และcalcium lactate 20-30 ส่วน ใช้ป้องกันและรักษาอาการท้องผูกโดยไม่มีผลข้างเคียง  เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารสกัด chamomile ว่านหางจระเข้และชะเอมเทศมีฤทธิ์เป็นยาระบาย  ยาระบายชนิดแคปซูลที่มีส่วนประกอบของ catechin จากชาร้อยละ 0.5-7 aloin จากว่านหางจระเข้ร้อยละ 0.2-5 และไขมันจากม้า (horse fats) ร้อยละ 88-93 เพื่อใช้เป็นยาระบายโดยไม่มีอาการปวดท้องและท้องเสีย  โดยสารที่พบจากยางที่เปลือก คือ anthraquinone, barbaloin, และ aloinและ ตำรับยาที่ประกอบด้วยสารสกัดจากว่านหางจระเข้ ได้แก่ สาร sennosides A และ B  มีฤทธิ์เป็นยาระบาย

อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

การทดสอบความเป็นพิษ

เมื่อป้อนว่านหางจระเข้ให้หนูแรทในขนาด 92.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่พบพิษใด ๆ  แต่เมื่อผสมผงว่านหางจระเข้ในอาหารให้หนูแรทกิน พบว่าหนูมีอาการท้องเสีย  เมื่อผสมสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 ในน้ำ แล้วป้อนให้หนูเม้าส์กินในขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบพิษ แต่ถ้าให้หนูเม้าส์กินในขนาด 100มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ามีอาการพิษรวมทั้งมีขนร่วงและการเสื่อมของอวัยวะเพศ  เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยเอทานอลร้อยละ 50 เข้าช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่ามีพิษปานกลาง  เมื่อป้อนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของใบว่านหางจระเข้ให้หนูเม้าส์กิน พบว่าทำให้เกิดความเป็นพิษมาก  สารสกัดด้วยน้ำเมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูเม้าส์ในขนาด 100 และ 800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่พบพิษ และไม่มีสัตว์ตาย  เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 เข้าช่องท้อง ขนาดที่หนูทนได้คือ 100 มิลลิกรัม   และเมื่อให้หนูเม้าส์กินสารสกัดที่ได้จากการนำใบว่านหางจระเข้มาปั่นและทำให้เป็นผงแห้งด้วยวิธีแช่แข็ง (freeze dried)แล้วผสมในอาหารด้วยสัดส่วนร้อยละ 1 ให้หนูขาวกิน และอีกตัวอย่างนำไปกำจัดสีก่อนทำเป็นผง แล้วไปผสมอาหารด้วยสัดส่วนร้อยละ 1 และ 10 พบว่าทำให้ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone) และแคลซิโตนิน (calcitonin) ลดลง แต่ระดับกลูโคส และ อินซูลิน ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พบผลต่อตับและหัวใจ และปริมาณโปรตีนไม่เปลี่ยนแปลง  ผลการทดสอบในกระต่ายพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ให้กระต่ายปกติและกระต่ายที่มีอาการตับอักเสบ พบว่ากระต่ายมีอายุยืนขึ้น  เมื่อให้ทิงเจอร์ยาดำทางปาก ฉีดเข้าหลอดเลือด ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าช่องท้อง พบว่าในขนาดสูงทำให้กระต่ายตาย แต่ขนาดน้อยลงมีอาการท้องเสีย หัวใจเต้นช้าลง ทำให้มดลูกและลำไส้เล็กบีบตัว และเมื่อให้กระต่ายกินว่านหางจระเข้ ทำให้เกิดอักเสบที่ปากช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะ  นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังทำให้เกิดอาการแพ้  

มีรายงานผู้ป่วยที่เป็นโรคดีซ่านเสียชีวิตเมื่อรับประทานยาซึ่งมียาดำ โกฐน้ำเต้า และมะขามแขก จากการชันสูตรพบว่าตับถูกทำลาย และมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อไต ม้าม หัวใจและปอด   Aloin ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง และยังพบว่าเมื่อฉีด aloin เข้าใต้ผิวหนังสุนัขในขนาด 0.10 – 0.12 กรัม/กิโลกรัม ทำให้สุนัขเป็นไข้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ (gas exchange) มากกว่าปกติ 2 เท่า มีการผลิต uric acid และ urea เพิ่มขึ้น  และ

 

Aloe-Vera-LemonAid

 

chromone C-glucoside ทำให้เกิดอาเจียนอย่างรุนแรการทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังในหนูแรท โดยใช้ผงว่านหางจระเข้ในขนาดต่างๆ กัน พบว่าทำให้น้ำหนักตัวลดลง น้ำหนักไตเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อค่าชีวเคมีในเลือดที่ดูการทำงานของตับและไต

ทั้งวุ้นสดและผลิตภัณฑ์วุ้นว่านหางจระเข้ เมื่อให้หนูเม้าส์และหนูแรทกิน หรือฉีดเข้าช่องท้อง ขนาด 20 กรัม/กิโลกรัม ครั้งเดียว หรือป้อนขนาด 5 กรัม/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 45 วัน ไม่พบการผิดปกติใดๆ ทั้งในการตรวจเคมีเลือดและเนื้อเยื่อ  การให้หนูแรทกิน acemannan ซึ่งผสมในอาหารร้อยละ 5 เป็นเวลา 14 วัน และให้หนูแรทกิน acemannan 2,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ไม่พบพิษเช่นเดียวกับเมื่อให้สุนัขกิน 1,500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 90 วัน  เมื่อป้อนวุ้นว่านหางจระเข้ขนาด 1, 4, 16, 64 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 100 กรัม ให้หนูแรท วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 42 วัน พบว่าไม่มีความผิดปกติของตับและไต  การทดลองใช้สารละลาย acemennan (1.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) ฉีดเข้าช่องท้องหนูเม้าส์ ในขนาด 80 และ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้หนูแรท ขนาด 15 และ 50มิลลิกรัม/กิโลกรัม และให้สุนัข ขนาด10 และ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่พบพิษ  การใช้ว่านหางจระเข้อาจเกิดอาการแพ้ได้  โดยเมื่อให้โปรตีนจากว่านหางจระเข้แก่หนูตะเภาพบว่าอาจเกิดการแพ้อย่างรุนแรงได้     

ผลต่อระบบสืบพันธุ์

เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยน้ำ แอลกอฮอล์ร้อยละ 95 และปิโตรเลียมอีเทอร์เข้าช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่าไม่ทำให้แท้ง   เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำ และแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 ให้หนูแรทก็ไม่ทำให้แท้งเช่นกัน มีผู้รายงานว่า aloin อาจทำให้แท้ง  และสารสกัดใบว่านหางจระเข้ในขนาด 0.5 มิลลิกรัม มีผลทำให้มดลูกบีบตัว นอกจากนี้มีการทดลองนำสารสกัดว่านหางจระเข้ซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง (freeze dried) ความเข้มข้นร้อยละ 7.5 และ 10 มาทาบริเวณช่องคลอดกระต่าย   พบว่าสามารถฆ่าเชื้ออสุจิได้โดยไม่มีอันตรายต่อผิวเยื่อบุช่องคลอดของกระต่าย

พิษต่อตัวอ่อน

เมื่อให้หนูแรทกินสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยเบนซิน เอทานอลร้อยละ 50 และคลอโรฟอร์ม ในขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อน และเมื่อให้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ในขนาด 100 และ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก็พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อนเช่นกัน แต่มีบางรายงานพบว่าเมื่อให้หนูแรทกินสารสกัดด้วยเบนซินและแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ไม่มีพิษต่อตัวอ่อน  อย่างไรก็ตาม สารสกัดด้วยน้ำ เมื่อป้อนให้หนูแรทที่ท้อง ในขนาด 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้ตัวอ่อนพิการ

วิธีการใช้

ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

  1. ใช้รักษาอาการท้องผูก โดยกรีดยางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนสีดำ (เรียกว่า ยาดำ) ตักมาปลายช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย คนให้ละลาย เด็กรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา ก่อนนอน
  2. ใช้รักษาแผล โดยนำใบสดมาปอกเอาแต่วุ้นถูและปิดที่แผลเนื่องจากโดนความร้อน การรีบรักษาใน 24 ชั่วโมง จะทำให้การรักษาได้ผลดี แต่มีข้อควรระวังคือ
  • ระวังเรื่องการติดเชื้อ เพราะวุ้นว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ควรปลอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด
  • วุ้นว่านหางจระเข้มีความไม่คงตัว ถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมง
  • ระวังการปนเปื้อนของสาร anthraquinone จากยาง ซึ่งอาจทำให้แพ้ได้ จึงต้องล้างวุ้นให้สะอาด
  • ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ แมลงกัดต่อย เริม โดยใช้น้ำคั้นจากวุ้นทาหรือใช้วุ้นมาพอกบริเวณที่อักเสบ ฟกช้ำ แพ้

ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มีinfographic skinny diva beauty

 

cream-%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a1

รับผลิตสบู่คุณภาพสูง รับสอนทำสบู่ รับอบรมสบู่ รับพัฒนาสูตรสบู่ สร้างแบรนด์ของคุณเอง

เรียนทำเครื่องสำอาง สอนทำครีม สอนทำเวชสำอาง ผลิตภัณฑ์ความงาม สำหรับธุรกิจส่วนตัว

จำหน่ายสารสกัดจากธรรมชาติและเคมีเครื่องสำอางทุกชนิด

****สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่****

ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง JMC

(JMC Cosmetic Training Center)

Managing Director

Tel: 083-007-8589, Line ID: careandliving

https://www.facebook.com/JMC-Cosmetic-Training-Center-113166417038006/

สถานที่อบรม :

ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง

อาคารเลขที่ 88/22 หมู่บ้าน เนอวานา พาร์ค (Nirvana Park)

ซ. รามคำแหง 53 ถ. รามคำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง 10310

มีฝ่าย R&D 
พัฒนาสูตร และผู้เชี่ยวชาญดูแล อย่างใกล้ชิด

коробки для подарков купить

TAGS ที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : สารสกัดจากว่านหางจระเข้ (Aloe Vera Extract) ช่วยต่อต้านริ้วรอย