ปิดเมนู
หน้าแรก

สอนทำสบู่แฮนด์เมดน้ำมันธรรมชาติ 100% มะกรูด อัญชัน ขิง และมะขามป้อม

เปิดอ่าน 914 views

สอนทำสบู่แฮนด์เมดน้ำมันธรรมชาติ 100% มะกรูด อัญชัน ขิง และมะขามป้อม

*****เปิดสอนทุกวันของสัปดาห์ *****

ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง

(Cosmetic Training Center, CTC)

Managing Director

Tel: 083-007-8589, Line ID: careandliving

สถานที่อบรม : ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง โกดัง 4 CTC 8/332 หมู่ 3 ถ. ติวานนต์ ปากเกร็ด 48  ต.บ้านใหม่ อ.เมือง   จ.นนทบุรี 11120

สี่แยกไฟแดงสวนสำเด็จ, ใกล้โรบินสันศรีสมาน ,ใกล้สนามบินดอนเมือง  ,ลงทางด่วนศรีสมาน-ดอนเมือง

มีฝ่าย R&D 
พัฒนาสูตร และผู้เชี่ยวชาญดูแล อย่างใกล้ชิด

#ครีมเกรดพรีเมี่ยม  #ไม่มีกั๊กสูตร #สอนปรับสูตร #สอนออกแบบสูตรเอง #เครื่องมือมาตรฐานแล๊บ #อาจารย์ตอบทุกคำถาม #สอนทำครีม #สอนทำมาส์ก #สอนทำครีมกันแดด #สอนทำเครื่องสำอาง #สอนทำสบู่ #สอนทำแชมพู #สอนจดอย #สอนการตลาด #สร้างแบรนด์

#รับพัฒนาสูตรครีม #รับแกะสูตรครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ #ขายสูตรครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ #ขายสูตรครีมเกรดพรีเมี่ยม #ขายสูตรครีมเกาหลี #รับแกะสูตรสบู่ #ขายสูตรสบู่

#รับแกะสูตรครีม ดอนเมือง #รับแกะสูตรครีม ราคา #แกะสูตรครีมpantip #รับแกะสูตรครีม ระยอง #รับแกะสูตรเครื่องสําอาง #รับแกะสูตรยา #รับแกะสูตรสบู่

เปิดอบรม “สอนทำเครื่องสำอาง สอนทำครีม” สอนวันเดียวทำได้เลย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอาง

มะกรูด

มะกรูด ชื่อสามัญ Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda

มะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)

สมุนไพรมะกรูด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้น

หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

สารเคมีที่สำคัญที่พบได้ในผลมะกรูดก็คือน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีทั้งในส่วนของเปลือกผลหรือผิวมะกรูดและในส่วนของใบ โดยเปลือกผลจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 4% และในส่วนของใบนั้นจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.08% และยังสกัดยากกว่าน้ำมันในเปลือกผลอีกด้วย แต่ก็ยังมีจุดเด่นตรงที่น้ำมันจากใบจะมีกลิ่นมากกว่านั่นเอง จึงนิยมใช้ทั้งน้ำมันมะกรูดทั้งจากใบและเปลือกผล ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนี้ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย !

การใช้น้ำมันหอมระเหยมะกรูดมาใช้ทาภายนอกหลังจากทาแล้วภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผิวหนังบริเวณที่ทานั้นสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ได้

ประโยชน์ของมะกรูด

  1. มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค
  2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  3. น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  4. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
  5. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
  6. ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบาง ๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
  7. ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซีก เติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
  8. ใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย
  9. ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี
  10. ใบมะกรูดมีสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน
  11. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล, ราก)
  12. น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปรงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบาง ๆ บริเวณเหงือก
  13. ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
  14. ช่วยแก้อาการปวดท้องหรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ด้วยการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
  15. ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
  16. ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)
  17. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
  18. น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อน ๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
  19. ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่าง ๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
  20. ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นละออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีตเมนต์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่าย เพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
  21. ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาการชันนะตุได้
  22. ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซีกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ
  23. มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม
  24. เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วนให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจท่านแล้วครับ
  25. มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
  26. ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อย ๆ ปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
  27. น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส
  28. ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้
  29. ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
  30. น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย
  31. มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี
  32. ยาฟอกเลือดสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ
  33. มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น
  34. หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง
  35. ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
  36. ช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว
  37. ช่วยทำความสะอาดคราบตามซอกเท้าเพื่อลดความหมักหมมด้วยการใช้สับปะรด 2 ส่วน, สะระแหน่ 1/2 ส่วน, น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน, เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า
  38. การอบซาวน่าสมุนไพรเพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น

แหล่งอ้างอิง : www.rspg.or.th, www.learners.in.th, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อัญชัน

อัญชัน ชื่อสามัญ Butterfly pea, Blue pea

อัญชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรอัญชัน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน (ภาคเหนือ) เป็นต้น

อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้นเช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่ทราบ นั่นก็คือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ และการ “กินดอกอัญชันทุกวัน…วันละหนึ่งดอก” จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย

เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ

สรรพคุณของอัญชัน

  1. น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
  3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
  4. ชดอกชมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
  6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
  8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
  9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
  11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
  14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
  15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
  16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
  18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
  19. ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
  20. ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
  21. แก้อาการปัสสาวะพิการ
  22. ใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
  23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
  25. ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
  26. ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
  27. น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
  28. ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
  29. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
  30. นิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

วิธีทำน้ำดอกอัญชัน

  1. วัตถุดิบที่ต้องเตรียมมีดังนี้ น้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วย / น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ / น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
  2. ขั้นตอนแรกให้ทำน้ำดอกอัญชันก่อน ด้วยการนำดอกอัญชันสดประมาณ 100 กรัม นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย นำไปต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 3 นาทีแล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อ
  3. ต่อมาก็ทำน้ำเชื่อม โดยใช้สัดส่วน น้ำเปล่า 500 กรัม / น้ำตาลทราย 500 กรัม
  4. เมื่อได้ส่วนผสมครบแล้วให้นำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง ผสมรวมกันตามสัดส่วนที่ระบุไว้ในข้อแรก
  5. ชิมรสชาติตามชอบใจ เสร็จแล้วน้ำดอกอัญชัน
  6. ถ้าหากจะทำเป็นน้ำพันช์ให้ใช้ส่วนผสมดังนี้ น้ำดอกอัญชันครึ่งถ้วย / น้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ / น้ำเชื่อม 6 ช้อนโต๊ะ / น้ำมะนาวครึ่งถ้วย / และน้ำโซดาเย็นประมาณ 1 ขวด แล้วนำมาผสมรวมกัน ชิมรสชาติจนเป็นที่พอใจแล้วใส่น้ำแข็งเกล็ดเพื่อความสดชื่นอีกที
  7. ถ้าต้องการทำเป็นน้ำชาไว้ดื่ม ก็ใช้ดอกอัญชันที่ตากแห้งแล้วประมาณ 25 ดอก นำมาชงในน้ำเดือด 1 ถ้วยแล้วนำมาดื่ม
  8. หรือจะใช้อีกสูตร ก็คือให้เตรียมดอกอัญชัน 3 ดอก / น้ำเปล่า 1 แก้ว / น้ำตาลทราย (ตามความต้องการ) / น้ำมะนาว (ตามความต้องการ)
  9. นำดอกมาเด็ดก้านเขียว ๆ ออกแล้วนำไปล้างให้สะอาด
  10. ต้มน้ำแล้วใส่ดอกอัญชันลงไป รอจนเดือดและน้ำเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับดอก
  11. ใส่น้ำตาลลงไปตามใจชอบ
  12. เสร็จแล้วกรองเอากากออก แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
  13. นำมาปรุงรสนิดหน่อยด้วยน้ำมะนาวตามความต้องการ (สีของน้ำจากสีฟ้าก็จะกลายเป็นสีม่วง)
  14. นำมาดื่มพร้อมใส่น้ำแข็ง

คำแนะนำ

  • ควรดื่มทันทีเมื่อทำเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหารและยา
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรในอุณหภูมิที่ร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งและสารอื่น ๆได้ง่าย
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ขิง

ขิง ชื่อสามัญ Ginger (จิน’เจอะ)

ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ขิงจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส แถมยังมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเส้นใยจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของขิงนั้น เราสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ทั้งนั้น

ประโยชน์ของขิง

  1. ขิงจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะชั้นยอด
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
  3. มีส่วนช่วยในการป้องกัน ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  4. ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้นควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
  5. ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ
  6. ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ลำต้นสด ๆ นำมาทุบให้แหลกประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มกับน้ำดื่ม
  7. ช่วยลดความอ้วน ลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอล ด้วยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
  8. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน ด้วยการรับประทานน้ำขิงบ่อย ๆ
  9. ช่วยลดความอยากของผู้ติดยาเสพติดลงได้
  10. แก้ตานขโมย ด้วยการใช้ขิง ใบกะเพรา พริกไทย ไพล มาบดผสมกันแล้วนำมารับประทาน
  11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการนำขิงสดมาฝานต้มกับน้ำดื่ม
  12. ช่วยบำรุงหัวใจของคุณให้แข็งแรง
  13. ช่วยบรรเทาอาการของโรคประสาท ซึ่งทำให้จิตใจขุ่นมัว (ดอก)
  14. ช่วยฟื้นฟูร่างการสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร ด้วยการรับประทานไก่ผัดขิง
  15. มีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, เหง้า) ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลีนำมาต้มกับน้ำดื่ม ก็จะได้เป็นยาขมเจริญอาหาร
  16. ใช้กินเพื่อบำรุงเป็นยาธาตุ บำรุงธาตุไฟ (เหง้า, ดอก)
  17. ใช้บำรุงน้ำนมของมารดา (ผล)
  18. ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
  19. การรับประทานขิงจะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง
  20. ใช้แก้ไข้ (ผล) ด้วยการนำขิงสดมาคั้นเป็นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย แล้วผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
  21. ช่วยแก้หวัด บรรเทาอาการไอ บรรเทาหวัดจับเสมหะ ด้วยการใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาวใส่เกลือนิดหน่อย
  22. ไอน้ำหอมระเหยจากน้ำขิงช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจได้
  23. แก้ลม (ราก)
  24. ในผู้ป่วยที่มีอาการเมายาสลบหลังผ่าตัด น้ำขิงช่วยแก้เมาได้
  25. ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
  26. ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสมกับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผม นวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
  27. ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตา และใช้แก้อาการตาฟาง (ผล, ใบ)
  28. ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
  29. ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
  30. ใช้แก้อาการคอแห้ง เจ็บคอ (ผล)
  31. ใช้รักษาอาการปากคอเปื่อย ท้องผูก (เหง้า,ดอก)
  32. ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ด้วยการนำขิงแก่มาทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง จากนั้นนำมาพอกบริเวณฟันที่ปวด
  33. แก้เสมหะ เสมหะขาวเหลวปริมาณมากมีฟอง (ผล, ราก)
  34. ช่วยรักษาภาวะน้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส
  35. ช่วยลดกลิ่นปาก แก้อาการปากเหม็น ด้วยการนำขิงมาคั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย นำมาอมบ้วนปาก ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากได้อีกด้วย
  36. ช่วยบำรุงรักษาฟันและป้องกันการเกิดฟันผุ
  37. ช่วยกำจัดกลิ่นรักแร้ ด้วยการใช้เหง้าขิงแก่นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาคั้นเอาน้ำมาทารักแร้เป็นประจำ จะช่วยกำจัดกลิ่นได้
  38. ช่วยแก้อาการสะอึก ด้วยการใช้ขิงสดตำจนแหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย คนจนเข้ากันแล้วนำมาดื่ม
  39. ช่วยรักษาโรคบิด (ผล, ราก, ดอก) ด้วยการใช้ขิงสดประมาณ 75 กรัม ผสมกับน้ำตาลแดง นำมาตำจนเข้ากัน แล้วรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
  40. ช่วยแก้อาการอาเจียน (เหง้า, ผล) ด้วยการนำขิงสดประมาณ 5 กรัมหรือขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นำมาทุบให้แตกแล้วต้มกับน้ำดื่ม
  41. ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้อง (สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานบ่อยมากจนเกินไป)
  42. แก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ (ผล, ราก, ใบ) ด้วยการนำขิงแก่มาทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว แล้วปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำน้ำมาดื่มระหว่างมื้ออาหาร
  43. ช่วยรักษาอาการปวดในช่วงก่อนหรือหลังประจำเดือน ด้วยการนำขิงแก่ที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มบ่อย ๆ
  44. ช่วยในการย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดอก)
  45. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียด (เหง้า)
  46. ช่วยในการขับถ่าย และช่วยในเรื่องของระบบลำไส้ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  47. ช่วยฆ่าพยาธิ พยาธิกลมจุกลำไส้ (ใบ) ใช้น้ำขิงผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาดื่ม
  48. ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ (ดอก, ใบ)
  49. ช่วยรักษาปัสสาวะรดที่นอนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยางพร่อง มีความเย็นในร่างกายเป็นเหตุ
  50. ช่วยรักษาโรคนิ่ว (ใบ, ดอก)
  51. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ใบ)
  52. ช่วยรักษาอาการปวดข้อตามร่างกายด้วยการรับประทานขิงสดเป็นประจำ
  53. มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  54. ใช้เป็นยาแก้คัน ด้วยการนำแก่นของขิงฝนทำเป็นยา (แก่น)
  55. แก้ปัญหาหนังที่มือลอกเป็นขุย ด้วยการใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำแผ่นขิงมาถูบริเวณดังกล่าววันละ 2 ครั้ง
  56. ช่วยรักษาแผลเริมบริเวณหลัง ด้วยการใช้เหง้า 1 หัว นำมาเผาผิวนอกจนเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออกไปเรื่อย ๆ แล้วนำผงที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมูนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
  57. หากถูกแมงมุมกัด ใช้ขิงสดฝานบาง ๆ นำมาวางทับบริเวณที่ถูกกัดจะช่วยบรรเทาอาการได้
  58. ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น กลัวหนาว เย็นท้อง เป็นต้น
  59. ช่วยป้องกันการแพ้อาหารทะเลจนเกิดผื่นคัน ลมพิษ หรืออาหารช็อก
  60. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำขิงสดมาตำให้แหลก แล้วนำกากมาพอกบริเวณแผล เพื่อป้องกันการอักเสบและการเกิดหนอง
  61. ในขิงมีสารที่สามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
  62. ในด้านการประกอบอาหารนั้น ขิงสามารถช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดีอีกด้วย
  63. ในด้านความงามนั้นมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของขิงอีกด้วย
  64. ช่วยให้ผิวพรรณเรียบเนียนยิ่งขึ้น ด้วยการนำขิงสดมาขูดเป็นฝอยแล้วนำมานวดบริเวณต้นขา ก้น หรือบริเวณที่มีเซลลูไลต์จะช่วยลดความขรุขระของผิวได้อีกด้วย
  65. ผลิตภัณฑ์จากขิงนั้นนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น บัวลอยน้ำขิง ขิงแช่อิ่ม ขิงเชื่อม ขิงกระป๋อง ขิงแคปซูล น้ำขิงมะนาว เป็นต้น

วิธีทำน้ำขิง

  1. วิธีทำน้ำขิงขั้นตอนแรกให้เตรียมส่วนผสมดังนี้ ขิงแก่ 1 กิโลกรัม / น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง / น้ำสะอาด 3 ลิตร
  2. นำขิงที่ได้ไปล้างให้สะอาด นำมาทุบให้แตก แล้วนำมาใส่ในหม้อต้ม เติมน้ำสะอาดลงไป ยกขึ้นตั้งไฟ
  3. เมื่อต้มจนน้ำเดือดแล้วค่อยเบาไฟลง เคี่ยวประมาณ 20 นาทีจนน้ำขิงละลายออกมาจนหมด (น้ำจะเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ) แล้วยกลงจากเตา
  4. เสร็จแล้วให้ตักน้ำขิงใส่แก้ว เติมน้ำตาลทรายแดงลงไป 1-2 ช้อนชา (ตามความต้องการ) แล้วคนจนเข้ากัน
  5. เรียบร้อยแล้วก็สามารถนำมาดื่มได้ โดยนำมาดื่มแบบร้อน ๆ ได้เลย
  6. หรือจะดื่มแบบเย็น ๆ ด้วยการใส่น้ำแข็งลงไปก็ได้เช่นกัน แต่ควรเติมน้ำตาลมากกว่า 2-3 เท่า (จะช่วยไม่ให้รสจืดมากเกินไป เพราะมีน้ำแข็งผสมอยู่นั่นเอง)
  7. น้ำขิงที่คั้นมานั้นไม่ควรใช้ปริมาณที่เข้มข้นจนเกินไป เพราะจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เพราะจะไประงับการบีบตัวของลำไส้ จนทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว ดังนั้นควรคั้นในปริมาณน้อย ๆ หรือดื่มจนชินก่อน

เรามักจะรู้จักคุ้นเคยกับขิงว่าเป็นอาหารที่นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารและทำเครื่องดื่ม ซึ่งจริง ๆ แล้วขิงจัดเป็นสมุนไพรไทยที่ช่วยการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆได้สารพัด ถือว่าเป็นตัวช่วยในการรักษาโรคได้เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้เราก็ไม่ควรจะหวังพึ่งสรรพคุณของขิงเพียงอย่างเดียวในการบำบัดรักษาโรค ควรจะทำอย่างอื่นหรือดูแลสุขภาพของเราร่วมด้วยจะได้ผลดีนักแล

เรามักนิยมใช้ขิงแก่ เพราะยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงมีสรรพคุณทางยาที่มากกว่าขิงอ่อน และยังมีใยอาหารมากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจากขิงมีรสเผ็ด มีคุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่นผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือมีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทานควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะข้ามป้อม

มะขามป้อม ชื่อสามัญ Indian gooseberry

มะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

มะขามป้อมเป็นสมุนไพรที่ชาวอินเดียใช้มาหลายพันปีแล้ว เพราะเป็นยาอายุวัฒนะซึ่งชาวอินเดียเรียกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า “พยาบาล” สะท้อนให้เห็นว่าสรรพคุณของมะขามป้อมนั้นมีมากมายเหลือเกิน และเป็นผลไม้ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย

มะขามป้อม จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมาก โดยประโยชน์มะขามป้อมหรือสรรพคุณมะขามป้อมนั้นมีมากมาย และยังใช้เป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เพราะมะข้ามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เป็นต้น และคุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผลเลยทีเดียว

เนื่องจากมะขามป้อมมีรสเปรี้ยว รสฝาด อาจจะรับประทานยากสักหน่อยสำหรับบางคน การรับประทานมะขามป้อมนั้นควรปรุงรสให้อร่อยด้วยการนำมะขามป้อมมาผ่าเอาเมล็ดออกให้เหลือแต่เนื้อ แล้วนำมาใส่ พริก เกลือ น้ำตาล นำมาตำพอแหลกก็ใช้ได้ แต่ทั้งนี้ควรรับประทานก่อนนอนหรือช่วงตื่นนอนใหม่ ๆ หรือขณะที่ท้องว่าง สำหรับวิธีลดความฝาดของมะขามป้อมนั้นทำได้โดยการนำไปแช่น้ำเกลือ ด้วยการนำมะขามป้อมมาล้างให้สะอาดและลวกด้วยน้ำร้อน แล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือที่เค็มจัด ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน รสฝาดก็จะหายไป

ประโยชน์ของมะข้ามป้อม

  1. นิยมนำมารับประทานเพื่อให้สดชื่น ชุ่มคอ แก้กระหาย
  2. วิตามินซีในมะขามป้อมสามารถดูดซึมได้เร็วกว่าวิตามินซีชนิดเม็ดเป็นอย่างมาก
  3. ใช้บำรุงผิวหน้าให้ขาวสดใส รักษาฝ้า ด้วยการนำมะขามป้อมมาฝนกับฝาละมีแล้วนำน้ำที่ได้มาทาบริเวณรอยฝ้า
  4. ช่วยบำรุงสุขภาพผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย
  5. ช่วยบำรุงและรักษาเส้นผมให้มีสุขภาพแข็งแรง ผมนุ่มลื่น ป้องกันผมหงอก ด้วยการทอดมะขามป้อมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมาหมักผม
  6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  7. ช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
  8. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  9. เป็นผลไม้ที่ช่วงบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยช่วยบำรุงอวัยวะแทบจะทุกส่วนของร่างกาย
  10. ช่วยบำรุงโลหิตได้เป็นอย่างดี
  11. มะขามป้อมมีเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้อีกด้วย โดยใช้ผลสดประมาณ 30 ผล นำมาคั้นเอาน้ำหรือนำมาต้มทั้งผลแล้วดื่มแทนน้ำ ทั้งนี้ควรเลือกมะขามป้อมที่แก่จัด ผิวออกเหลืองจะได้ผลดีที่สุดในการรักษาอาการไอและหวัด
  12. ใบสดมะขามป้อมนำมาต้มน้ำอาบ ลดอาการไข้
  13. มะขามป้อมมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
  14. มะขามป้อมเป็นตัวช่วยในการลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาล ลดไขมันในเลือดได้ด้วย
  15. ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  16. ใช้แก้อาการปวดฟันได้ ด้วยการใช้ปมกิ่งก้านต้มกับน้ำแล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ
  17. รสเปรี้ยวของมะขามป้อมช่วยในการละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้เป็นอย่างดี
  18. รากแห้งมะขามป้อม นำมาต้มดื่มแก้อาการท้องเสีย ร้อนใน ความดันโลหิต
  19. ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  20. ช่วยลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย
  21. มะขามป้อมเป็นส่วนประกอบใช้สำหรับการรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัณโรค รักษาภาวะของโรคเอดส์
  22. มะขามป้อมแห้งช่วยรักษาโรคบิด ใช้ล้างตา รักษาตาแดง ตาอักเสบได้
  23. มะขามป้อมแห้ง เมื่อนำมาผสมน้ำสนิมเหล็กจะช่วยแก้โรคดีซ่านได้
  24. มะขามป้อมช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  25. ช่วยรักษาโรคคอตีบ
  26. ช่วยบำรุงปอด หลอดลม หัวใจ และกระเพาะ
  27. เมล็ดมะขามป้อมเมื่อนำมาตำเป็นผงชงกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยรักษาโรคหอบ หืด หลอดลมอักเสบ อาการคลื่นไส้อาเจียนได้
  28. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  29. ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก
  30. ช่วยยับยั้งความเป็นพิษของตับและไตได้
  31. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย และยาถ่ายพยาธิ
  32. ยางจากผลใช้หยอดตาแก้ตาอักเสบ กินเพื่อช่วยในการย่อยอาหารและขับปัสสาวะ
  33. เปลือกมะขามป้อมสามารถนำมาต้มดื่มแก้โรคบิด
  34. ช่วยในการปรับประจำเดือนให้มาเป็นปกติ
  35. ช่วยรักษาอาการไข้ทับระดูได้
  36. ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการใช้เปลือกต้นมะขามป้อมมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำแล้วชะโลมให้ทั่ว
  37. ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราได้
  38. รากสดมะขามป้อมช่วยในการแก้พิษจากการถูกตะขาบกัด
  39. เปลือกของลำต้นมะขามป้อมใช้รักษาบาดแผล แก้ฟกช้ำได้ ด้วยการนำเปลือกแห้งมาบดเป็นผงแล้วนำมาโรยบริเวณบาดแผล
  40. ต้นและเปลือกของมะขามป้อมใช้เป็นยาฝาดสมาน
  41. เมล็ดของมะขามป้อม เมื่อนำมาเผาไฟจนเป็นเถ้าแล้วนำมาผสมกับน้ำพืช นำมาทาแก้ตุ่มคันได้
  42. มะขามป้อมมีฤทธิ์ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน และช่วยลดไขมันในเลือด ต้านมะเร็งและไวรัส
  43. ลำต้นมะขามป้อมนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ทนทาน จึงเหมาะแก่การใช้ทำเครื่องประดับ เสาเข็ม หรือนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
  44. ใบแห้ง นำมาย้อมเส้นใย ไหม ขนสัตว์ จะให้สีน้ำตาลเหลือง
  45. ดอก ใช้เข้าเครื่องยา มีกลิ่นหอม ใช้เป็นยาเย็นและยาระบาย
  46. นำมาใช้ทำเป็นยาสระผม ช่วยให้ผมดกดำและป้องกันผมหงอกก่อนวัยอีกด้วย
  47. มะขามป้อมเป็ลผลไม้ที่นำมาแปรรูปได้หลากหลายมาก เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยาแก้ไอ ยาสระผม น้ำมะขามป้อม มะขามป้อมแช่อิ่ม

วิธีทำมะขามป้อมแช่อิ่ม

  1. วัตถุดิบที่ต้องเตรียม มะขามป้อมสด 1 กิโลกรัม / เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำตาลใส 4 ช้อนโต๊ะ / น้ำปูนใส
  2. ล้างมะขามป้อมให้สะอาด แล้วใช้มีดฝานตามยาวของผลให้ทั่ว แต่ไม่ต้องให้ถึงเมล็ด
  3. นำเกลือป่นมาใส่หม้อ ใส่น้ำพอประมาณ แล้วต้มจนเดือด
  4. เสร็จแล้วนำมาทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมะขามป้อมแช่ในน้ำเกลือทิ้งไว้ 1 คืน
  5. รุ่งเช้าให้นำมะขามป้อมมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำปูนใสประมาณ 3 ชั่วโมง
  6. น้ำปูนใสได้จากการแช่ปูนแดง แล้วทิ้งไว้ให้ปูนนอนก้น ตักเอาแต่น้ำใส ๆ มาแช่มะขามป้อม
  7. เมื่อแช่จนครบกำหนด นำมาล้างน้ำอีกครั้งแล้วใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ ต้มน้ำตาลทรายและใส่น้ำ ต้มให้น้ำเดือด แล้วกรองให้สะอาด ทิ้งไว้ให้เย็น
  8. หลังจากนั้นนำมะขามป้อมมาแช่ในน้ำเชื่อม ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน
  9. วันที่ 2 นำมะขามป้อมขึ้นจากน้ำเชื่อม เติมน้ำตาลลงในเชื่อมแล้วต้มให้น้ำตาลละลาย
  10. เมื่อน้ำเชื่อมเย็นแล้ว นำมะขามป้อมแช่อีกรอบ และทำเช่นนี้จนครบ 2 ครั้ง
  11. วันที่ 5 นำมะขามป้อมออก เอาแต่น้ำเชื่อมไปต้มให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น แช่มะขามป้อมใส่น้ำเชื่อมอีกจนกระทั่งน้ำเชื่อมซึมเข้าเนื้อมะขามป้อมจนเห็นเป็นเนื้อใส ๆ เป็นอันเสร็จรับประทานได้เลย

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กองโภชนาการกระทรวงสาธารณสุข

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by townscap.es, Fruit Species, dinesh_valke, Engineer J, chandrasekaran a 839k + views .Thanks to visits)

ขอขอบคุณ

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง

(Cosmetic Training Center, CTC)

Managing Director

Tel: 083-007-8589, Line ID: careandliving

สถานที่อบรม : ศูนย์อบรมเครื่องสำอาง โกดัง 4 CTC 8/332 หมู่ 3 ถ. ติวานนต์ ปากเกร็ด 48  ต.บ้านใหม่ อ.เมือง   จ.นนทบุรี 11120

สี่แยกไฟแดงสวนสำเด็จ, ใกล้โรบินสันศรีสมาน ,ใกล้สนามบินดอนเมือง  ,ลงทางด่วนศรีสมาน-ดอนเมือง

มีฝ่าย R&D 
พัฒนาสูตร และผู้เชี่ยวชาญดูแล อย่างใกล้ชิด

#ครีมเกรดพรีเมี่ยม  #ไม่มีกั๊กสูตร #สอนปรับสูตร #สอนออกแบบสูตรเอง #เครื่องมือมาตรฐานแล๊บ #อาจารย์ตอบทุกคำถาม #สอนทำครีม #สอนทำมาส์ก #สอนทำครีมกันแดด #สอนทำเครื่องสำอาง #สอนทำสบู่ #สอนทำแชมพู #สอนจดอย #สอนการตลาด #สร้างแบรนด์

#รับพัฒนาสูตรครีม #รับแกะสูตรครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ #ขายสูตรครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ #ขายสูตรครีมเกรดพรีเมี่ยม #ขายสูตรครีมเกาหลี #รับแกะสูตรสบู่ #ขายสูตรสบู่

#รับแกะสูตรครีม ดอนเมือง #รับแกะสูตรครีม ราคา #แกะสูตรครีมpantip #รับแกะสูตรครีม ระยอง #รับแกะสูตรเครื่องสําอาง #รับแกะสูตรยา #รับแกะสูตรสบู่

เปิดอบรม “สอนทำเครื่องสำอาง สอนทำครีม” สอนวันเดียวทำได้เลย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอาง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : สอนทำสบู่แฮนด์เมดน้ำมันธรรมชาติ 100% มะกรูด อัญชัน ขิง และมะขามป้อม