ปิดเมนู
หน้าแรก

ทารก สะอึก คุณแม่มือใหม่ควรรับมือกับอาการนี้อย่างไรดี

เปิดอ่าน 128 views

ทารก สะอึก คุณแม่มือใหม่ควรรับมือกับอาการนี้อย่างไรดี

Hello Khun Mor

สนับสนุนเนื้อหา

ทารก สะอึก เกิดจากการหดตัวของกระบังลมพร้อมๆ กับการปิดตัวของเส้นเสียงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้นมา และด้วยความที่การสะอึกทำให้ผู้ใหญ่รู้สึกรำคาญ ผู้คนจึงทึกทักเอาว่า อาการสะอึกก็น่าจะรบกวนทารกด้วยเช่นกัน แต่จริงๆ แล้วทารกไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เขาสามารถนอนหลับไปพร้อมกับสะอึกไปด้วย โดยไม่รู้สึกถูกรบกวนอะไร และอาการสะอึกก็ไม่ค่อยมีผลต่อการหายใจของทารกด้วย

แต่ถ้าคุณอยากกำจัดอาการสะอึกของลูกน้อยออกไป นี่คือเคล็ดลับที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณ

หยุดป้อนนมแล้วปล่อยให้เรอ

การหยุดป้อนนมแล้วปล่อยให้ลูกน้อยเรอ ก็อาจช่วยกำจัดอาการสะอึกออกไป เนื่องจากการเรอจะช่วยกำจัดแก๊สส่วนเกินออกไป ซึ่งแก๊สพวกนี้อาจจะเป็นสาเหตุของอาการสะอึกได้ นอกจากนี้การเรอยังอาจช่วยเรื่องการสะอึกได้ เนื่องจากการเรอต้องจับให้ลูกน้อยอยู่ในท่าตั้งตรง ซึ่งสถาบันกุมารเวชศาสตร์ในอเมริกาได้แนะนำว่า ให้ปล่อยให้ลูกน้อยที่กินนมขวดเรอหลังกินนมเข้าไปทุกๆ ถึง เดือน แต่ถ้าคุณให้ลูกกินนมแม่ ก็ควรปล่อยให้ลูกน้อยเรอ เมื่อจะสลับเต้านมให้นมลูก

ใช้จุกนมหลอก

อาการสะอึกในลูกน้อยอาจไม่ได้เริ่มจากการป้อนนมเสมอไป ฉะนั้น เวลาที่ลูกน้อยเริ่มมีอาการสะอึกขึ้นมาเอง ก็ลองปล่อยให้เขาดูดจุกนมหลอกดู เพราะอาจจะช่วยให้กระบังลมเกิดการผ่อนคลาย แล้วในที่สุดก็หยุดสะอึกได้

ปล่อยให้หยุดเอง

โดยปกติแล้ว อาการสะอึกในเด็กทารกมักจะหยุดได้เอง ถ้าอาการสะอึกไม่ได้รบกวนลูกน้อย ก็ปล่อยให้เขาสะอึกไปเรื่อยๆ แต่ถ้าอาการสะอึกของเขาไม่ยอมหยุดเอง ก็ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะมีบางกรณีที่อาการสะอึกอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่มีอาการรุนแรงได้

ให้ลูกจิบน้ำ

ถ้าอาการสะอึกทำให้ลูกน้อยรู้สึกอึดอัด คุณก็อาจต้องลองป้อนน้ำให้ลูกน้อย โดยอาจผสมกับสมุนไพร ที่เชื่อว่าช่วยเยียวยาอาการโคลิค หรืออาการไม่สบายบริเวณลำไส้ได้

คุณอาจเลือกสมุนไพรได้อย่างหลากหลาย ซึ่งก็รวมถึงขิง เม็ดยี่หร่า คาโมไมล์ และซินนาม่อน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการจิบน้ำจะช่วยแก้อาการสะอึกในเด็กทารกได้ แต่วิธีก็ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าคุณจะให้ลูกน้อยกินอะไรใหม่ๆ ก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อน

วิธีป้องกันอาการสะอึก

ด้วยความที่สาเหตุของอาการสะอึกยังไม่ชัดเจน เราจึงหาวิธีป้องกันได้ยาก แต่ถ้าคุณอยากจะลองป้องกันอาการสะอึกดู ก็ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • คุณต้องแน่ใจว่าลูกน้อยอยู่ในอาการสงบเวลาป้อนนม ซึ่งก็หมายความว่าไม่ต้องรอให้ลูกน้อยหิวแล้วค่อยป้อน เพราะเมื่อถึงตอนนั้น ลูกน้อยอาจจะร้องไห้ หรือมีอาการโยเยก่อนที่จะได้ป้อนนม
  • หลังจากป้อนนมเสร็จแล้ว ก็หลีกเลี่ยงอย่าให้ลูกน้อยทำกิจกรรมอะไรหนักๆ อย่างเช่น การกระเด้งตัวขึ้นลง หรือการเล่นสนุกที่ต้องใช้พลังงานสูง
  • หลังป้อนนมเสร็จแล้ว ควรจับลูกน้อยให้อยู่ในท่าตัวตั้งตรง เป็นเวลา 20 ถึง 30 นาที

สิ่งที่ไม่ควรทำกับลูกน้อย

ถึงแม้จะมีวิธีแก้อาการสะอึกที่ใช้กับผู้ใหญ่ได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้กับเด็กทารก เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเขาได้ ซึ่งวิธีพวกนี้ไม่ควรนำไปใช้เด็ดขาด

  • แหย่ให้ลูกน้อยตกใจ

อย่าพยายามแหย่ลูกน้อยให้สะดุ้ง เพื่อจะได้หายสะอึกเด็ดขาด เพราะเสียงตบถุงกระดาษดังๆ อาจทำให้แก้วหูที่บอบบางของทารกเกิดความเสียหายได้ และอาการตกใจนั้น อาจเลยเถิดจนกลายเป็นอาการร้องไห้ไม่หยุดได้

  • ให้เขากินขนมเปรี้ยวๆ

ถึงแม้ขนมเปรี้ยวๆ จะช่วยยับยั้งอาการสะอึกในผู้ใหญ่ได้ แต่คุณไม่ควรนำมาใช้กับลูกน้อย เนื่องจากขนมเปรี้ยวๆ นั้นมักมีส่วนผสมของกรดที่ไม่น่าจะดีต่อสุขภาพของทารก

  • ตบหลังลูกน้อย

เส้นเอ็นในกระดูกซี่โครงของทารก ยังมีความบอบบางอยู่ ฉะนั้นการทำอะไรแรงๆ ในบริเวณนั้น ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ ฉะนั้น อย่าใช้วิธีนี้กับลูกน้อยจะดีกว่านะ

  • กดลูกตาของลูกน้อย

กล้ามเนื้อดวงตาที่ช่วยให้ดวงตาลูกน้อยเคลื่อนไหวได้นั้น ยังต้องมีพัฒนาการต่อไป ซึ่งก็หมายความว่า ลูกตาอาจจะไม่กลับเข้าที่เดิมถ้าคุณออกแรงกดมากเกินไป แม้แต่การกดเบาๆ ยังไม่ควรทำเลย

  • ดึงลิ้นหรือแขนขาลูกน้อย

ก็อย่างที่บอกไปแล้วนั่นแหละว่า ร่างกายของทารกยังบอบบางอยู่ กระดูกและข้อต่อของทารกยังไม่สามารถทนทานแรงดึงแรงๆ ได้ ฉะนั้น อย่าทำแบบนั้นกับลูกน้อยเด็ดขาด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ทารก สะอึก คุณแม่มือใหม่ควรรับมือกับอาการนี้อย่างไรดี