ปิดเมนู
หน้าแรก

จริงหรือไม่? ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยง “ไส้ติ่งอักเสบ”?

เปิดอ่าน 290 views

จริงหรือไม่? ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยง “ไส้ติ่งอักเสบ”?

จริงหรือไม่? ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยง “ไส้ติ่งอักเสบ”?

Sanook! (Rewrite)

สนับสนุนเนื้อหา

นอกจาก ผ่าตัด จะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งแล้ว (อ่านรายละเอียดที่นี่) ยังมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไส้ติ่งอีกเรื่อง นั่นคือ ความเสี่ยงของอาการไส้ติ่งอักเสบ ที่มาจากอาการท้องผูกเรื้อรัง จริงเท็จแค่ไหน เกี่ยวข้องกันยังไง ขออนุญาตนำคำตอบจากคุณหมออาคิ จากเฟซบุ๊คเพจ Dr.Aki – หมออาคิ มาให้ได้อ่านกันค่ะ

 

____________________

ท้องผูกเรื้อรัง ก่อ “ไส้ติ่งอักเสบ” ได้ >>

“ไส้ติ่งอักเสบ” เป็นโรคฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องรีบทำการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และปวดท้องเฉียบพลัน ที่พบได้บ่อยคือ “ปวดท้องย้ายตำแหน่ง” ตอนแรกจะมีอาการปวดแน่นทั่วๆท้อง จากนั้นจะย้ายมาปวดบริเวณท้องน้อยข้างขวา ทั้งนี้ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆภายใน 24 ชั่วโมง

 

เราสามารถป้องกันโรคไส้ติ่งอักเสบได้ไหม?

การอุดกั้นของไส้ติ่งเป็นสาเหตุหลักของไส้ติ่งอักเสบ ที่พบบ่อยเกิดจาก ก้อนนิ่วอุจจาระ” (Fecolith) ไปอุดกั้นไส้ติ่ง ทั้งนี้ นิ่วอุจจาระ” ก็คือ ก้อนอุจจาระแข็งตัวสภาพเป็นเหมือนก้อนหินปูนเนื่องมาจากสภาวะท้องผูกอย่างเรื้อรังส่งผลให้อุจจาระค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานานจนอุจจาระแข็งขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นการป้องกันโรคไส้ติ่งอักเสบที่เราทุกคนทำได้จึงเป็นการระวังไม่ให้เป็นท้องผูก โดยการทานผักผลไม้มากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทั้งนี้มีงานวิจัยเชิงสถิติหนึ่งสนับสนุนในเรื่องนี้พบว่า ปริมาณเฉลี่ยของใยอาหารจากผักผลไม้ที่ทานต่อวันของผู้ที่เคยเป็นไส้ติ่งอักเสบจะน้อยกว่าของผู้ที่ไม่เคยเป็นไส้ติ่งอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ

 

แนวทางการรักษาไส้ติ่งอักเสบ

ในปัจจุบัน การผ่าตัด ถือเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ในการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ (ยกเว้น ไส้ติ่งอักเสบที่มีภาวะแทกซ้อนบางกรณีที่จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาก่อนเบื้องต้น) แม้ว่ามีงานวิจัยเทียบการรักษาไส้ติ่งอักเสบโดยการใช้ยาปฏิชีวนะกับการผ่าตัดมาบ้าง การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการรักษาไส้ติ่งอักเสบโดยส่วนใหญ่ก็ยังไม่จัดเป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้แพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นผู้ตัดสินใจวิธีการรักษานะครับ

 

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดไส้ติ่ง

สืบเนื่องจากงานวิจัยหนึ่งในบทความก่อนที่ชี้ว่า ภายใน 3 ปีครึ่งคนที่ผ่าตัดไส้ติ่งจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ผ่าตัดกว่า 2 เท่า จึงแนะนำสำหรับผู้ที่ผ่าไส้ติ่งไปแล้วให้รับการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปีพร้อมทั้งตรวจเลือดเจือปนในอุจจาระ (Fecal occult blood test) ทุกปี เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้เบื้องต้น โดยเฉพาะในช่วง 4 ปีหลังผ่าตัด (จะตรวจทุกปีไปตลอดเลยก็ยิ่งดีครับ)

นอกจากนี้ก็ควรหันมาเน้นทานผักผลไม้เป็นหลัก โดยเสริมอาหารกลุ่มโปรไบโอติกส์และผักที่มีไฟเบอร์ละลายน้ำให้มากขึ้น จะส่งผลช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ เพื่อสุขภาพของลำไส้และร่างกายของเรานะครับ

 

____________________

 

 
 
 
 

ขอขอบคุณ

ข้อมูล : เฟซบุ๊ค Dr.Aki – หมออาคิ

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : จริงหรือไม่? ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยง “ไส้ติ่งอักเสบ”?